มหาวิทยาลัย CMKL จัดงานสัมมนา CMKL Innovation Summit 2021 "Into the Metaverse" ต่อยอดเทคโนโลยี AI และการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ไม่รู้จบ มุ่งสร้างสังคมแห่งอนาคตที่ยั่งยืน - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2564

มหาวิทยาลัย CMKL จัดงานสัมมนา CMKL Innovation Summit 2021 "Into the Metaverse" ต่อยอดเทคโนโลยี AI และการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ไม่รู้จบ มุ่งสร้างสังคมแห่งอนาคตที่ยั่งยืน

มหาวิทยาลัย CMKL จัดงานสัมมนา CMKL Innovation Summit 2021 "Into the Metaverse"
ต่อยอดเทคโนโลยี AI และการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ไม่รู้จบ มุ่งสร้างสังคมแห่งอนาคตที่ยั่งยืน

กรุงเทพ, ประเทศไทย - มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล จัดงานสัมมนาใหญ่นำเสนอผลงานของนักศึกษาระดับปริญญาโท CMKL Innovation Summit 2021 ในโปรเจ็กต์การวิจัยและพัฒนาท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก ภายใต้ธีม "Into the Metaverse" ในวันที่ 17 ธันวาคม 2564 ระหว่างเวลา 13.00-22.00 . ที่ลิโด้ คอนเน็คท์ สยาม สแควร์ โรง 2 และลานกิจกรรม โดยมี ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เป็นประธานเปิดงาน กิจกรรมครั้งนี้จะนำเสนอโครงการนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล ไฮไลต์ของงานอยู่ที่การนำเสนอไอเดียในโปรเจ็กต์นวัตกรรมต่างๆ ของนักศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรปริญญาโท นวัตกรรมบันเทิง (อีไอซี)  ทั้งบนเวทีและนิทรรศการโชว์เคสอย่างครบถ้วน ทั้งการนำเสนอนวัตกรรมที่ได้รับรางวัล รวมทั้งโปรเจ็กต์การวิจัยระดับชาติ APEX - The Next Generation of Cloud HPC+AI Infrastructure ระบบเก็บข้อมูลศักยภาพสูงสำหรับการวิจัย AI ในอนาคต ในส่วนของนิทรรศการจัดในรูปแบบการนำเสนอที่ล้ำสมัย ร่วมกับศิลปะการจัดวาง การแสดงดนตรีของนักศึกษาจากหลักสูตรนวัตกรรมบันเทิง

 

CMKL Innovation Summit 2021 เปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหลากหลายมิติ ทั้งการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) และทางเลือกใหม่ต่างๆ ที่มีความเป็นไปได้ในการสร้างความแตกต่างให้กับโลก พร้อมนำเสนอผลงานการวิจัยและพัฒนาให้ผู้ร่วมงานได้เข้าใจถึงสิ่งที่มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอลได้เน้นในหลักสูตร เช่น การแสดงศักยภาพของ "APEX Supercomputer" และระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่องานวิจัย AI ของประเทศร่วมกับกระทรวงอว.และบพข. (หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ) หรือ "Porjai" เทคโนโลยีที่จะช่วยให้คนในท้องถิ่นสามารถขายสินค้าบนตลาดออนไลน์ได้ง่ายขึ้น โดยใช้ระบบ AI Voice Recognition และสร้างคลังข้อมูลภาษา เพื่อเป็นต้นแบบโมเดล AIเข้าใจเสียงภาษาไทยและภาษาถิ่น พร้อมทั้งการนำเสนอเทคโนโลยีเพื่อรองรับการพัฒนาธุรกิจดิจิทัลร่วมกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

 

Capstone Projects Pitching by EIC Class of 2022 นับเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจมากที่สุดของของการสัมมนาครั้งนี้ เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้นำเสนอไอเดียใหม่ๆ กับนักลงทุนเพื่อหาแหล่งเงินทุนในการพัฒนาให้เกิดขึ้นจริงได้ มีทั้งหมด 6 โปรเจ็กต์ที่น่าสนใจให้ได้ทำความรู้จัก

 

1) Project V: การสร้างอินฟลูเอนเซอร์เสมือนจริง

2) ADEN: การสร้างแพลตฟอร์มเพื่อสุขภาพ

3) Parabox: การใช้ฟอร์แมต 360 องศา ช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดื่มด่ำมากขึ้นของผู้ฟัง

4) OneGrown: การใช้ AI ในการจับคู่ความต้องการของสตาร์ทอัพกับผู้ให้คำปรึกษาด้านธุกิจ

5) Ocarina: แพลตฟอร์ม NFT Metaverse ในโทรศัพท์มือถือแพลตฟอร์มแรกของโลก

6) REx: AI ที่สร้างเสียงศิลปินจากข้อมูลในอดีต

 

นอกจากการนำเสนอโปรเจ็กต์เพื่อตามหาแหล่งเงินทุนในการเดินหน้าทำให้เกิดขึ้นจริงในอนาคตแล้ว ก็ยังมีโปรเจ็กต์ที่ประสบความสำเร็จแล้ว มาโชว์ของเช่นกัน โดยโปรเจ็กต์ทั้งสองส่วนมีเป้าหมายในการระดมไอเดียจากผู้ร่วมงานเพื่อรับมือกับความท้าทายต่างๆ ของโลกในอนาคต



1) CMKL TV: ใช้เทคโนโลยี VR/AR ในการนำเสนอโปรเจ็กต์ย่อยอีก 3 โปรเจ็กต์

2) Mush House: เทคโนโลยีการทำฟาร์มเห็ดอัจฉริยะ

3) GamiLearn: การนำเอากลไกของเกมมาสร้างความน่าสนใจในการเรียนรู้ และพัฒนาเกม

4) AI Music: การใช้ AI ช่วยในการเขียนเพลงให้ได้รับความนิยม ด้วยการใช้ข้อมูลจาก Spotify

5) T-Pop Innovation: ปั้นนักร้องไอดอลเพลงป๊อปชาวไทย จากแนวคิดที่ออกแบบไว้

6) Nowhereland: ละครเวทีที่มอบประสบการณ์ดื่มด่ำที่เหนือกว่าให้กับผู้ชม

 

พลังและความคิดสร้างสรรค์ของเทคโนโลยีเป็นแรงขับเคลื่อนในการยกระดับให้ผู้คนในโลกนี้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เช่นเดียวกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล ที่ต้องการเชื่อมต่อความคิดสร้างสรรค์กับนวัตกรรมเข้าด้วยกัน

การมีแนวทางตรงกับพาร์ทเนอร์ผู้บุกเบิกเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์อย่างมหาวิทยาลัยคาร์นกี้ เมลลอน รวมไปถึงความร่วมมือด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยของมหาวิทยาลัยคาร์นกี้ เมลลอน ทำให้มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอลยังคงมุ่งมั่นที่จะช่วยผลักดันโลกธุรกิจและเทคโนโลยีให้เดินไปข้างหน้า และมีส่วนในการสนับสนุนให้ใช้ปัญญาประดิษฐ์ที่ปลอดภัยมากขึ้นสำหรับทุกคน

 

ABOUT CMKL University

 

มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล (CMKL University) เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ แบบสถาบันร่วม (Joint Institute) จากการร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon University)ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2560 โดยมุ่งหวังพัฒนาบุคลากรในวิชาวิศวคอมพิวเตอร์ ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก และงานวิจัยเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยให้ก้าวสู่สังคมดิจิตัลอย่างเต็มรูปแบบ

 

มหาวิทยาลัย คาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon University) เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์อันดับ 1 ของโลก ตั้งอยู่ที่เมืองพิตซ์เบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีผลงานโดดเด่นระดับโลก ทั้งในเรื่องการผลิตรถยนต์ไร้คนขับ (Autonomous Vehicle) การคิดค้นโปรแกรม Java และการพัฒนา AI ชิ้นแรกของโลกที่เป็นจุดเริ่มต้นให้คอมพิวเตอร์คิดและแก้ไขปัญหาได้คล้ายมนุษย์จนเกิดประโยชน์ในวงการต่างๆมากมาย ทั้งในแวดวงธุรกิจ การแพทย์ และการพัฒนาสังคมของโลก

 

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) เป็นสถาบันอุดมศึกษามีชื่อเสียงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และสถาปัตยกรรมอันดับต้นๆของไทย ผู้สร้างผลงานโดดเด่นมากมายทั้ง รถไฟฟ้าใต้ดินแห่งแรกของประเทศไทย บุคลากรคนไทยคนแรกที่ได้เดินทางไปสำรวจอวกาศ ออกแบบชิ้นส่วนรถไฟฟ้าที่เร็วที่สุดในโลกให้ญี่ปุ่น และผลงานอื่นๆอีกนับพันโครงการ ที่แสดงให้เห็นถึงความพร้อมที่จะเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

 

มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอลปัจจุบันเปิดการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาโท สาขานวัตกรรมบันเทิง (Entertainment Innovation) ซึ่งครอบคลุมทั้งเรื่องAR/VR, Immersive Technology, Interactive Entertainment, ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ (Electrical and Computer Engineering) ซึ่งครอบคลุมทั้งเรื่อง AI, Blockchain, Data Analytics, Cyber Security, และระดับปริญญาตรี ด้านวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และคอมพิวเตอร์ (Artificial Intelligence and Computer Engineering) โดยใช้หลักสูตรและแนวทางการจัดการศึกษาจากมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน มีเป้าหมายในการช่วยสร้างเครือข่ายและเพิ่มความสามารถทางเทคโนโลยีให้แก่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านงานวิจัยและนวัตกรรม

 

เพิ่มเติม: www.cmkl.ac.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad