สถาบัน Tech For Good เผยไทยพร้อมรับเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม ดึงรัฐและเอกชนแนะแนวทาง สร้างความมั่นคงให้อนาคตดิจิทัลไทย - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2564

สถาบัน Tech For Good เผยไทยพร้อมรับเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม ดึงรัฐและเอกชนแนะแนวทาง สร้างความมั่นคงให้อนาคตดิจิทัลไทย


สถาบัน Tech For Good เผยไทยพร้อมรับเศรษฐกิจแพลตฟอร์ 

ดึงรัฐและเอกชนแนะแนวทาง สร้างความมั่นคงให้อนาคตดิจิทัลไทย  


สถาบัน Tech For Good (หรือ TFGI) องค์กรอิสระไม่แสวงหากำไรเพื่อวิจัยนโยบายสาธารณะซึ่งก่อตั้งขึ้นโดย แกร็บ ผู้นำซูเปอร์แอปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้จัดงานประชุมเชิงนโยบายครั้งแรกในประเทศไทย พร้อมจัดการเสวนาในหัวข้อ สร้างความมั่นคงให้อนาคตทางดิจิทัลของไทย เพื่อหาแนวทางในการร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยก้าวสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างมั่นคงสอดรับกับยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0”

 

งานดังกล่าวจัดขึ้น ณ โรงแรมวอลดอร์ฟ แอสทอเรีย กรุงเทพฯ โดยมีตัวแทนทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนนักวิชาการเข้าร่วมเสวนา อาทิ นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ดร. ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาและรักษาการรองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA), ดร.กฤษฎ์เลิศ สัมพันธารักษ์ ศาสตราจารย์ที่ University of California San Diego (UCSD) และผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย, ดร. หมิง แทน กรรมการบริหาร สถาบัน TFGI และ นายอาเดอรส์ ไบจาล พาร์ทเนอร์และผู้อำนวยการด้านฝ่ายปฏิบัติการดิจิทัล เอเซียตะวันออกเชียงใต้จาก Bain & Company  

 

งานเสวนาครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร. วิรไท สันติประภพ ประธานกรรมการบริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงและสมาชิกคณะที่ปรึกษาของสถาบัน TFGI ขึ้นกล่าวปาฐกถาพิเศษเกี่ยวกับทิศทางการนำประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัล โดย ดร. วิรไท กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีถือเป็นหนึ่งความท้าทายสำคัญในยุคปัจจุบัน แต่ขณะเดียวกันก็นำมาซึ่งโอกาสต่างๆ มากมาย เพื่อให้มั่นใจว่าประเทศไทยจะพร้อมขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี หรือเข้าสู่เศรษฐกิจสังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคประชาสังคมควรจะต้องเรียนรู้และทำงานร่วมกันเพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสร้างสรรค์ให้เกิดสิ่งดีๆ ต่อสังคมอย่างที่เรียกว่า Tech For Good ที่สำคัญคือ การนำเทคโนโลยีมาใช้ต้องให้ความสำคัญกับ 3คุณลักษณะ คือ ต้องทำให้เกิดผลิตภาพที่สูงขึ้น (Productivity) ต้องสร้างประโยชน์ครอบคลุมกับผู้คนในวงกว้างโดยเฉพาะคนตัวเล็กในสังคม (Inclusivity) และสุดท้ายต้องช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสังคม (Immunity) ด้วย

 

“Tech for Good จะเกิดขึ้นได้ต้องคำนึงถึงระบบธรรมาภิบาลและการกำกับดูแลที่เหมาะสม โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจแพลตฟอร์ม หน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องต้องสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการกำกับดูแลธุรกิจแพลตฟอร์มมีหลายมิติ ต้องเกิดการแข่งขันทางการค้าอย่างเป็นธรรม ต้องคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจนต้องดูแลเรื่องความปลอดภัยในการทำธุรกรรมและข้อมูลส่วนบุคคล การเข้ามาของสถาบัน Tech For Good ถือเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่จะเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันศึกษา วิจัย และนำองค์ความรู้มาต่อยอดเพื่อวางรากฐานรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจและสังคมในอนาคตที่ต้องอยู่บนฐานของเทคโนโลยี

 

ภายในงานยังได้มีการเปิดเผยผลวิจัย เศรษฐกิจแพลตฟอร์ม: พลังขับเคลื่อนการเติบโตทางดิจิทัลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้ทำการสำรวจทัศนคติและพฤติกรรมของทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการไทยที่มีต่อการใช้แพลตฟอร์มแบบ O2O หรือแพลตฟอร์มที่มีการผสมผสานระหว่าง ออฟไลน์" และ ออนไลน์ โดยมีประเด็นหลักๆ ดังนี้

 

  • ผู้บริโภคให้การยอมรับและใช้บริการแพลตฟอร์ม O2Oเพิ่มขึ้น: ผู้บริโภค 8 ใน 10 คนใช้จ่ายบนแพลตฟอร์มO2O เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ 1-2 ปีที่แล้ว และมากถึง 81%เห็นว่าแพลตฟอร์มเหล่านี้มีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิต เช่น ความสะดวกสบายที่เพิ่มขึ้น การเปรียบเทียบราคาได้อย่างโปร่งใส และการมีตัวเลือกที่หลากหลายกว่าเมื่อเทียบกับประสบการณ์การซื้อสินค้าแบบออฟไลน์
  • แพลตฟอร์ม O2O มีส่วนสำคัญในการยกระดับการดำเนินธุรกิจของ MSMEs และโอกาสในการสร้างรายได้: 71% ของผู้ประกอบการรายย่อยระบุว่า ยอดขายจะลดลงอย่างมากหากไม่ได้ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ในการทำธุรกิจในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในขณะที่74% ของพาร์ทเนอร์คนขับแกร็บ มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากเริ่มให้บริการโดยใช้แพลตฟอร์ม
  • ประเทศไทยมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล แต่ยังคงต้องพัฒนาการเชื่อมต่อกับบริการออฟไลน์: อัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือของไทยอยู่ในระดับค่อนข้างสูงที่ 63% แต่ยอดขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซและฟู้ดเดลิเวอรี่ยังคงคิดเป็นเพียง 7% ของยอดขายสินค้าทั้งหมด ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการใช้งานแพลตฟอร์ม O2O ยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก

ด้าน นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการบริหาร แกร็บ ประเทศไทย ในฐานะตัวแทนผู้ร่วมก่อตั้งสถาบัน TFGI เสริมว่า เพื่อปลดล็อกศักยภาพของเศรษฐกิจดิจิทัลไทย ทุกภาคส่วนจําเป็นที่จะต้องร่วมสร้างระบบนิเวศดิจิทัลที่ยั่งยืน เพื่อยกระดับประสบการณ์การใช้งานโดยมอบตัวเลือกที่หลากหลายและความคุ้มค่าให้กับผู้บริโภค รวมทั้งขยายโอกาสให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างเท่าเทียม สนับสนุนให้เกิดการจ้างงานรูปแบบใหม่ๆ ที่มีความยืดหยุ่น เปิดกว้าง และส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ในฐานะผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม แกร็บยังคงมุ่งมั่นที่จะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและผู้ประกอบการไทยในทุกมิติ โดยมุ่งหวังที่จะใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้ผู้คนในทุกๆวัน และพร้อมที่จะร่วมมือกับทั้งรัฐบาลและพันธมิตรในภาคอุตสาหกรรมเดียวกัน เพื่อร่วมกันพัฒนาโซลูชั่นที่สามารถสร้างสมดุลความต้องการให้ทุกภาคส่วนและปลดล็อกศักยภาพเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย"

สถาบัน TFGI จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นเวทีในการแสดงออกทางความคิด ซึ่งเปิดให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้ทำงานร่วมกันในการพัฒนาการวิจัย ศึกษา และแบ่งปันความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคมที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ทั้งในประเทศไทย และในระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถาบัน Tech For Goodและดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่https://techforgoodinstitute.org/the-platform-economy-southeast-asias-digital-growth-catalyst/ 

 

###

 

เกี่ยวกับสถาบัน Tech for Good Institute (TFGI)

สถาบัน Tech for Good Institute ศูนย์รวมความคิดที่มุ่งมั่นสนับสนุนให้เกิดผลกระทบเชิงบวกทางเทคโนโลยี เพื่อยกระดับชีวิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเต็มศักยภาพ โดยจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ก่อตั้งโดยGrab ซึ่งเป็น superapp ชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (https://techforgoodinstitute.org/)

 

สถาบัน Tech For Good Institute (TFGI) ได้รับความร่วมมือจากที่ปรึกษาอิสระด้านเทคโนโลยี รัฐบาล และนักวิชาการ ดังนี้

·       ดร. บัมบัง ซูซานโต ธนาคารพัฒนาเอเชีย

·       ดร. วิรไท สันติประภพ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง

·       นาย ทิโมธี เมอร์ฟี บริษัท มาสเตอร์การ์ด (ประเทศไทย) จำกัด

·       ศาสตราจารย์ ลิม เซียง กวาน สถาบัน Lee Kuan Yew School of Public Policy (NUS)

·       ดร. วูเทียน ล็อค หอการค้าเวียดนามและอุตสาหกรรม 

·       นายปานดู ซจารี Sea Indonesia

·       ดร. ไค-ฟู ลี บริษัท ซินโนเวต เวนเจอร์ จำกัด

·       นาง/นางสาว สาตี ระซวนโต VIDA


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad