เคลย์ เดอ โป โบเต้ ประกาศชื่อผู้คว้ารางวัลพาวเวอร์ ออฟ เรเดียนซ์ ประจำปี 2565 - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2565

เคลย์ เดอ โป โบเต้ ประกาศชื่อผู้คว้ารางวัลพาวเวอร์ ออฟ เรเดียนซ์ ประจำปี 2565

               

เคลย์ เดอ โป โบเต้ ประกาศชื่อผู้คว้ารางวัล

พาวเวอร์ ออฟ เรเดียนซ์ ประจำปี 2565


รางวัลนี้มอบแด่ผู้ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเด็กผู้หญิงและสตรีให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นผ่านสะเต็มศึกษา ( STEM education)

เคลย์ เดอ โป โบเต้ (Clé de Peau Beauté) แบรนด์ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวและเครื่องสำอางสุดหรูระดับโลก มีความยินดีอย่างยิ่งที่จะประกาศชื่อผู้คว้ารางวัลพาวเวอร์ ออฟ เรเดียนซ์ (Power of Radiance) ประจำปีนี้ ซึ่งได้แก่คุณอแมนดา ซีมันด์จุนตัก (Amanda Simandjuntak) จากกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย สตรีมากความสามารถที่อุทิศตนเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับเหล่าเด็กหญิงในชุมชนด้วยการมอบการฝึกอบรมในสาขาสะเต็มศึกษา (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์) รางวัลพาวเวอร์ ออฟ เรเดียนซ์ ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของภารกิจการกุศลระยะยาวของแบรนด์เคลย์ เดอ โป โบเต้ ซึ่งรวมถึงการเป็นพันธมิตรกับองค์การยูนิเซฟ[1] ซึ่งเปิดตัวเป็นครั้งแรกในปี 2562 เพื่อสนับสนุนความเสมอภาคทางเพศ เคลย์ เดอ โป โบเต้ มุ่งมั่นที่จะปลดล็อกศักยภาพที่แท้จริงให้กับเด็กผู้หญิงและสร้างโลกที่ดีกว่าเดิมต่อไป โดยอาศัยพลังของสะเต็มศึกษา ตลอดจนโปรแกรมที่ช่วยผลักดันความสามารถให้กับพวกเธอ

ในขณะที่ทั่วโลกยังคงเดินหน้าใช้โซลูชันทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสร้างโลกยุคหลังโควิด ศักยภาพอันไร้ขีดจำกัดจากประชากรกว่าครึ่งซึ่งรวมถึงเด็กผู้หญิงและสตรีนั้นจึงมิอาจมองข้ามได้ เหล่าเด็กผู้หญิงโดยเฉพาะผู้ที่มาจากพื้นที่ห่างไกลนั้นไม่สามารถเข้าถึงสะเต็มศึกษาได้ ในปัจจุบัน องค์กรธุรกิจต่าง ๆ ต่างต้องการแรงงานที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์กันมากขึ้น ส่งผลให้ปัญหาความไม่เสมอภาคทางเพศทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากผู้หญิงที่ทำงานในอุตสาหกรรมเหล่านี้มีน้อยมาก สำหรับในอินโดนีเซีย ปัญหาการแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย การตั้งครรภ์ และแรงกดดันจากครอบครัวทำให้เด็กผู้หญิงไม่ได้รับการส่งเสริมให้เข้าถึงการศึกษาได้ตามที่ควรจะเป็น ขณะเดียวกัน ผู้หญิงที่ถูกแบ่งแยกทางการศึกษามานั้นมักถูกกีดกันไม่ให้ทำงาน ซึ่งในจุดนี้ คุณซีมันด์จุนตักมีความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงปัญหาที่เกิดขึ้น ด้วยการมอบการเรียนในสาขาสะเต็มศึกษาให้กับเด็กผู้หญิงและสตรีที่ด้อยโอกาสในอินโดนีเซีย เพื่อที่พวกเธอจะได้มีโอกาสเข้าร่วมในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญนี้

ข้อมูลจากองค์การยูนิเซฟ ระบุว่า โควิด-19 ได้ทำให้วิกฤตการศึกษาในอินโดนีเซียที่ย่ำแย่อยู่แล้วนั้นทรุดหนักลงไปกว่าเดิม อัตราว่างงานในกลุ่มผู้หญิงวัยรุ่นในอินโดนีเซียอยู่ที่ 15.62%[2] คุณซีมันด์จุนตัก ซึ่งเป็นซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งของมาร์โคดิง (MARKODING) ได้เปิดฝึกอบรมด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีแก่เด็กผู้หญิงและสตรีกว่า 10,000 คน ทั้งการเขียนโปรแกรม (Coding) การออกแบบ UI/UX และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ส่งผลให้อัตราของเด็กผู้หญิงที่ได้รับการฝึกอบรมด้านดิจิทัลเพิ่มขึ้นแตะ 55% ในเวลาเพียงแค่ปีเดียว นอกจากนี้ เธอยังได้จัดตั้งโครงการทุนการศึกษา “เกิร์ลส์ แคน โค้ด สกอลาร์ชิป โปรแกรม” (Girls Can Code Scholarship Program) รวมถึงโครงการ “เกิร์ลส์ แคน โค้ด เว็บบินาร์ ซีรีส์” (Girls Can Code Webinar Series) เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กผู้หญิงอยากเข้าทำงานในสายนี้กันมากขึ้น โดยคุณมิซูกิ ฮาชิโมโตะ (Mizuki Hashimoto) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายแบรนด์ของเคลย์ เดอ โป โบเต้ กล่าวว่า “เข้าสู่ปีที่ 4 ของรางวัลพาวเวอร์ ออฟ เรเดียนซ์ พวกเราทีมงานเคลย์ เดอ โป โบเต้ รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกโดยอาศัยพลังของการศึกษาและการเสริมความแข็งแกร่งผ่านการสนับสนุนคุณซีมันด์จุนตัก ซึ่งงานของเธอนั้นได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับพวกเราทุกคนอย่างมาก พลังและความสำเร็จของเธอนั้นเปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณของเราที่หวังจะเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ผ่านการมุ่งมั่นลงมือทำสิ่งดี ๆ”

ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 เป็นต้นมา มาร์โคดิงได้จับมือกับองค์การยูนิเซฟ อินโดนีเซีย เพื่ิอจัดทำโครงการ “ดิจิทัล อินโนเวชัน ชาลเลนจ์” (Digital Innovation Challenge) สำหรับให้ความช่วยเหลือเด็กผู้หญิงได้พัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 รวมถึงทักษะด้านดิจิทัล และทักษะการเป็นผู้ประกอบการ โดยโครงการดังกล่าวได้อบรมทักษะให้เยาวชนไปแล้ว 5,256 คน จาก 126 โรงเรียน

คุณซีมันด์จุนตัก กล่าวว่า “ภารกิจของดิฉันคือ การเสริมสร้างพลังให้กับเด็กสาวและผู้หญิงในอินโดนีเซีย เพื่อให้เป็นนักแก้ปัญหาโดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี เรามอบอาวุธอันทรงพลังให้พวกเขาโดยเสริมทักษะแห่งศตวรรษ 21 เช่น การคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ การสื่อสาร การร่วมมือ และการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น เรามอบพลังวิเศษเพื่อปลดปล่อยศักยภาพและพยายามไปด้วยกันเพื่อสร้างโลกที่ดีกว่า เท่าเทียมกัน และปลอดภัยยิ่งขึ้น”

ในฐานะผู้ได้รับรางวัลพาวเวอร์ ออฟ เรเดียนซ์ ปี 2565 พร้อมเงินรางวัล คุณซีมันด์จุนตักจะนำเงินรางวัลดังกล่าวไปบริจาคให้กับโครงการดิจิทัล อินโนเวชัน ชาลเลนจ์ เพื่อให้ความช่วยเหลือเด็กผู้หญิงได้เข้ารับการศึกษาด้านสะเต็มศึกษา รวมถึงสร้างโอกาสในการทำงาน โดยแผนการสนับสนุนด้านการศึกษาของเคลย์ เดอ โป โบเต้ เริ่มต้นขึ้นจากความฝันที่อยากเห็นโลกที่ดีขึ้นกว่าเดิม พลังแห่งการเผยความงามที่เปล่งประกายจากภายในซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกได้อย่างแท้จริงนั้น มีอยู่ในตัวเราทุกคน และเคลย์ เดอ โป โบเต้ จะยังคงยืนหยัดเคียงข้างเด็กผู้หญิงและผู้หญิงทั่วโลก ผ่านการมอบรางวัลพาวเวอร์ ออฟ เรเดียนซ์ ในขณะที่พวกเธอเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ เพื่อตัวเอง ครอบครัว และชุมชน

[1] ยูนิเซฟไม่ได้ให้การรับรองบริษัท แบรนด์ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการใด ๆ

[2] ที่มา: ผลวิจัยทักษะสำหรับอนาคตในอินโดนีเซีย

เกี่ยวกับอแมนด้า ซีมันด์จุนตัก

คุณอแมนด้า ซีมันด์จุนตัก เป็นซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งมาร์โคดิง ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร โดยมีพันธกิจในการให้ความช่วยเหลือเยาวชนที่ด้อยโอกาสในอินโดนีเซียผ่านทางนวัตกรรมและเทคโนโลยี องค์กรดังกล่าวได้รับเลือกให้เข้าสู่รอบสุดท้ายในโครงการเอ็มไอที โซลฟ์ ชาลเลนจ์: เยาวชน ทักษะ และแรงงานแห่งอนาคต (MIT Solve Challenge: Youth, Skills and the Workforce of the Future) และได้เป็นตัวแทนอินโดนีเซียในการเข้าร่วมประชุมอาเซียน-ยูนิเซฟว่าด้วยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และคนรุ่นใหม่ซึ่งจัดขึ้นที่สิงคโปร์ คุณอแมนด้ายังได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในผู้ที่ได้เข้าร่วมโครงการผู้นำรุ่นเยาว์ด้านการขับเคลื่อนสังคม (Young Societal Leaders) ในการประชุมสุดยอดผู้นำสิงคโปร์ (Singapore Summit) ในปี 2562 หลังจากปีนั้น มาร์โคดิงได้จับมือเป็นพันธมิตรกับยูนิเซฟ อินโดนีเซีย และเปิดตัวโครงการดิจิทัล อินโนเวชัน ชาลเลนจ์ ขึ้นเพื่อช่วยให้วัยรุ่นทั้งหญิงและชายได้พัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ทักษะด้านดิจิทัล และด้านการเป็นผู้ประกอบการ เพื่อให้กลุ่มเหล่านี้ได้ค้นพบทางออกในการแก้ปัญหาที่ตัวเองได้รับผลกระทบ ในระยะแรกนั้นมาร์โคดิงได้เพิ่มพูนทักษะให้กับวัยรุ่นที่ด้อยโอกาสไปแล้ว 482 ราย จากโรงเรียนและศูนย์การศึกษาตามชุนชนรวมกัน 21 แห่งในกรุงจาการ์ตา หลังจากนั้นโครงการได้ขยายไปยังเซอมารังและมีวัยรุ่นที่ผ่านการอบรมแล้ว 5,256 ราย (55% เป็นเด็กผู้หญิง) จาก 126 โรงเรียนในอินโดนีเซีย

เกี่ยวกับเคลย์ เดอ โป โบเต้ 

เคลย์ เดอ โป โบเต้ แบรนด์หรูระดับโลกจากชิเซโด้ ก่อตั้งขึ้นในปี 2525 โดยแสดงถึงความสง่างามและวิทยาศาสตร์อันเหนือชั้น เคลย์ เดอ โป โบเต้ แปลว่ากุญแจสู่ผิวสวย ปรัชญาของแบรนด์คือการปลดล็อกพลังความเปล่งประกายของผู้หญิงด้วยเทคโนโลยีเครื่องสำอางและสกินแคร์คุณภาพจากทั่วโลก ผลิตภัณฑ์ของเคลย์ เดอ โป โบเต้ ยึดมั่นในสัมผัสแห่งสุนทรียศาสตร์และอัจฉริยภาพเป็นสำคัญ จึงอัดแน่นไปด้วยความทันสมัย เสน่ห์เย้ายวน และแรงผลักดันที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำอุตสาหกรรมในการมอบความสว่างกระจ่างใสจากภายใน ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ของ เคลย์ เดอ โป โบเต้วางจำหน่ายใน 23 ประเทศและดินแดนทั่วโลก

เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ: https://www.cledepeau-beaute.com/int/powerofradiance-2022.html  
อินสตาแกรม: https://www.instagram.com/cledepeaubeaute/

รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/1740221/CPB_2022_PoR_Amanda_Portrait1_CMYK.jpg
คำบรรยายภาพ – คุณอแมนด้า ซีมันด์จุนตัก ผู้คว้ารางวัล ‘พาวเวอร์ ออฟ เรเดียนซ์ อวอร์ดส์’ ประจำปี 2565

รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/1740222/CDP_POR_LOGO_BLACK_hires__square___1.jpg
คำบรรยายภาพ – รางวัล ‘พาวเวอร์ ออฟ เรเดียนซ์ อวอร์ดส์’ จากเคลย์ เดอ โป โบเต้ 

ที่มา: พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad