คริปโตและอุปกรณ์มือถือในปี 2022 ตอนที่ 2: บล็อกเชน คริปโต และผลกระ ทบต่ออุปกรณ์มือถือ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2565

คริปโตและอุปกรณ์มือถือในปี 2022 ตอนที่ 2: บล็อกเชน คริปโต และผลกระ ทบต่ออุปกรณ์มือถือ

  

                                                                                                                         


คริปโตและอุปกรณ์มือถือในปี 2022 ตอนที่ 2: บล็อกเชน คริปโต และผลกระ

ทบต่ออุปกรณ์มือถือ

บทนำ

ในซีรีส์ตอนที่ 1 เกี่ยวกับคริปโตและอุปกรณ์มือถือในปี 2022 เราได้พูดถึงการพัฒนาที่สำคัญที่ผลักดันให้ผู้ใช้หันไปหาแอปคริปโต หัวข้อนี้อาจเป็นเรื่องที่ยากเล็กน้อย เพราะผู้คนกำลังตื่นเต้นกับกระแสคริปโตและบล็อกเชน บล็อกเชน คริปโตเคอร์เรนซี และ Web3: คำพวกนี้หมายถึงอะไร และเทคโนโลยีเหล่านี้จะส่งผลอะไรต่อแอปในอุปกรณ์มือถือและนักพัฒนาแอป

ในโพสต์นี้ เราจะมาดูแนวคิดหลักๆ ดูว่าอุปกรณ์มือถือเป็นประตูสู่ระบบนิเวศของคริปโตได้อย่างไร ดูว่าแอปสำหรับนักเทรดคริปโตจะต้องพบกับความท้าทายและโอกาสอะไรบ้าง และอธิบายว่าทำไม MMP เช่น Adjust จึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้แอปคริปโตและแอปฟินเทคกลายเป็นแพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ใครๆ ก็อยากใช้

ส่วนที่ 1

บล็อกเชนคืออะไร

นอกจากคำศัพท์เทคนิค กระแสตื่นตลาด และการเก็งกำไรทางการเงินแล้ว สิ่งที่ซ่อนอยู่ใต้คริปโตและ Web3 ก็คือโครงสร้างข้อมูล Back-end รูปแบบใหม่ บางทีคำที่เกี่ยวข้องกับด้านเทคนิคของคริปโตมากที่สุดก็คือคำว่า "บล็อกเชน" บล็อกเชนเป็นบัญชีแยกประเภทแบบดิจิทัลประเภทหนึ่งที่มีการกระจายศูนย์ไปทั่ว (มักเป็นของสาธารณะ) ถ้าจะให้เปรียบ บล็อกเชนก็เป็นเหมือนฐานข้อมูลที่มีการเปิดเผยและกระจายออกไปทั่ว บล็อกเชนจะใช้ชุดระเบียน ("บล็อก") ที่ลิงก์เข้าด้วยกัน ("โซ่" หรือ "เชน") โดยใช้การเข้ารหัส สถาปัตยกรรมบล็อคเชนได้รับความนิยมจากสมุดปกขาวของ Bitcoin ในปี 2008 บางครั้งก็มีการใช้เทคโนโลยีบัญชีแยกประเภทแบบกระจาย (DLT) เพื่อใส่โมเดลข้อมูลอื่นที่ไม่ใช่บล็อกเชน คำเหล่านี้หมายถึงวิธีการจัดเก็บและจัดโครงสร้างข้อมูล

บล็อกเชนได้รับการดูแลโดยเครือข่ายของผู้มีส่วนร่วมที่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสถานะของเครือข่ายโดยใช้กลไกฉันทามติ กลไกเหล่านี้เป็นวิธีที่เครือข่ายมีความปลอดภัยจากการโจมตี และวิธีที่ผู้มีส่วนร่วมยอมรับสถานะความจริงของเครือข่ายนั้นๆ กลไกที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ Proof of Work (PoW) ซึ่งใช้โดยเครือข่าย Bitcoin และปัจจุบันก็มี Ethereum อีกกลไกก็คือ Proof of Stake (PoS) ซึ่งมักใช้โดยแพลตฟอร์มสัญญาอัจฉริยะ โทเค็นบนเครือข่ายเหล่านี้ถูกแจกออกไปให้กับผู้มีส่วนร่วมสำหรับบทบาทของตนในการรักษาความปลอดภัยเครือข่ายผ่านกลไกฉันทามติ

เริ่มจาก Ethereum บล็อกเชนบางตัวก็เป็นแพลตฟอร์มสัญญาอัจฉริยะเช่นกัน สิ่งที่ทำให้ Ethereum แตกต่างจากเครือข่าย Bitcoin (เครือข่ายที่ใช้สำหรับการทำธุรกรรมแบบ Peer-to-Peer ของ Bitcoin ซึ่งเป็นสินทรัพย์) คือบล็อกเชนนี้ทำหน้าที่ได้มากกว่าแค่บันทึกการทำธุรกรรมทางการเงิน แต่ยังสามารถจัดเก็บข้อมูลที่ซับซ้อนกว่าปกติและเรียกใช้สัญญาอัจฉริยะได้ ซึ่งก็สามารถทำธุรกรรมที่ซับซ้อนตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ บางครั้งเราก็เรียกแพลตฟอร์มเหล่านี้ว่า "เครือข่ายชั้น 1" หรือ Layer 1 และนอกเหนือจาก Ethereum แล้ว ก็ยังมีโปรเจ็กต์ต่างๆ อีก เช่น Cardano, Solana, Avalanche, Luna, Tezos และอื่นๆ อีกมากมาย แอปพลิเคชั่นที่สร้างบนเครือข่ายเหล่านี้เรียกว่าแอปพลิเคชั่นกระจายอำนาจ (dApp)

สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความสนใจในตลาดคริปโตอย่างมากก็คือกรณีการใช้งานหลัก 2 กรณีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นบนเครือข่ายเหล่านี้ ซึ่งก็คือการเงินแบบกระจายอำนาจ (DeFi) และโทเค็นที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้ (NFT) DeFi คือกลุ่มแอปพลิเคชั่นที่ให้บริการทางการเงินแบบกระจายศูนย์ เช่น การยืม การให้ยืม อนุพันธ์ และอื่นๆ แก่ผู้ใช้ที่ใช้สกุลเงินดิจิทัลบนบล็อกเชน เราจะพูดถึง NFT ให้ละเอียดกว่านี้ในซีรีส์ตอนถัดไป

ส่วนที่ 2

คริปโตเคอร์เรนซีและสินทรัพย์ดิจิทัลคืออะไร

ในความหมายกว้างๆ คริปโตเคอร์เรนซีและ NFT เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่ซื้อขายได้ ซึ่งสร้างขึ้นจากบัญชีแยกประเภทแบบดิจิทัล (เช่น บล็อกเชน) และรักษาความปลอดภัยด้วยการเข้ารหัส อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากคำจำกัดความง่ายๆ นี้แล้ว คริปโตเคอร์เรนซียังสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างกว้างขวาง และความเกี่ยวข้องระหว่างคริปโตกับสินทรัพย์ที่มีอยู่ เช่น สกุลเงิน หลักทรัพย์ และสินค้าโภคภัณฑ์นั้นก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ คริปโตเคอร์เรนซีบางตัว (เช่น Bitcoin และ Ether) เป็นสินทรัพย์ดั้งเดิมที่เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานของเครือข่ายกระจายอำนาจ ในขณะที่บางตัวก็สร้างขึ้นมาบนแพลตฟอร์มสัญญาอัจฉริยะที่มีอยู่ (ที่ดังสุดก็คือ Ethereum)

นอกเหนือจากการลงทุนใน Bitcoin เพื่อเป็นสินทรัพย์เก็งกำไร และการใช้แพลตฟอร์มสัญญาอัจฉริยะสำหรับแอปพลิเคชั่นที่กระจายอำนาจแล้ว มีคริปโตเคอร์เรนซีอีก 2 ประเภทที่ทำให้คนหันมาสนใจเทคโนโลยีนี้กันมากขึ้น ซึ่งก็คือ เหรียญที่มีเสถียรภาพ (Stablecoin) และเหรียญมีม (Memecoin) Stablecoin คือคริปโตเคอร์เรนซีที่เชื่อมโยงกับสินทรัพย์ทางการเงินในโลกจริงๆ ซึ่งที่รู้จักกันมากที่สุดก็คือสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ คริปโตประเภทนี้อาจมาจากและได้รับการสนับสนุนจากส่วนกลางจากสินทรัพย์ในบัญชีธนาคาร (เช่น Tether หรือ USD Coin) หรืออาจเป็นอัลกอริธึ่มและมีการกระจายอำนาจ (เช่น DAI) ผู้สร้าง USD Coin อย่าง Circle เพิ่งจะมีมูลค่ามากถึง $9,000 ล้าน ในขณะที่ USDC ได้รวมตัวเป็นตัวเลือกในการชำระเงินโดยอาศัยเครือข่ายการชำระเงินอย่าง Visa และ Mastercard

Memecoin เช่น Doge และ Shiba Inu เองก็ได้รับความนิยมและมีมูลค่าในตลาดสูงขึ้นเช่นกัน แม้ว่าเหรียญที่เกิดจากมุกตลกในอินเทอร์เน็ตทั้งสองนี้จะไม่ได้มีเทคโนโลยีและการใช้งานอะไรที่แปลกใหม่ แต่ก็เป็นเหรียญที่มีผู้ติดตามจำนวนมากและได้รับความสนใจจากสื่อ เป็นการดึงดูดผู้ใช้ใหม่ๆ ให้เข้าสู่วงการและการแพร่กระจายความนิยม

ความต้องการใช้แอปพลิเคชั่น DeFi และซื้อ NFT รวมถึงความต้องการที่จะลงทุนไปกับคริปโตเคอร์เรนซีเพื่อเป็นสินทรัพย์เก็งกำไรหรือใช้เป็นวิธีการชำระเงินและการออม (โดยเฉพาะในตลาดเกิดใหม่) ได้ผลักดันให้เกิดการยอมรับคริปโตในปี 2020-2021 โดยดัชนีการหันมาใช้คริปโตทั่วโลกของ Chainalysis ได้แสดงการเพิ่มขึ้นมากกว่า 881% ต่อปีในไตรมาสที่ 3 ของปี 2021 และมากกว่า 2300% นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2019 และแอปในอุปกรณ์มือถือก็เป็นหนึ่งในช่องทางหลัก และเป็นช่องทางเข้าสู่สินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

ส่วนที่ 3

แอปในอุปกรณ์มือถือเป็นช่องทางสำคัญสำหรับการเข้าสู่เศรษฐกิจคริปโต

แอปในอุปกรณ์มือถือได้รับความนิยมมากขึ้นในฐานะช่องทางหลักที่สามารถเข้าถึงคริปโตเคอร์เรนซีและเศรษฐกิจคริปโต แอปคริปโตส่วนใหญ่เป็นแอปสำหรับการเทรด ซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้ซื้อ ขาย โอน และถือคริปโตเคอร์เรนซี ในขณะที่หลายๆ แอปมุ่งมั่นที่จะเน้นแต่เรื่องคริปโต (เช่น Coinbase, CoinDCX, Binance, FTX และ crypto.comแต่แอปเหล่านี้ก็กำลังต้องแข่งกับแอปฟินเทคดั้งเดิมที่เพิ่มฟังก์ชันการซื้อคริปโต (เช่น Robinhood, Square และ PayPal) แอปอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับคริปโต ได้แก่ แอปติดตามพอร์ต เกมที่ใช้บล็อกเชน (ซึ่งเราจะพูดถึงในซีรีส์ตอนถัดไป) และกระเป๋าเงินมือถือซึ่งมีไว้เก็บคีย์ส่วนตัวเพื่อเข้าถึงสินทรัพย์ดิจิทัลและอนุญาตให้ผู้ใช้โต้ตอบกับ dApp ที่ใช้บล็อกเชนได้

นอกเหนือจากการเทรดแล้ว แอปอย่าง BlockFi และ Celsius Network ก็มีบริการทางการเงินโดยใช้สกุลเงินดิจิทัลอีกด้วย เช่น การให้ยืมและการยืมโดยใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ในขณะที่แอปต่างๆ ต้องแข่งขันเรื่องผู้ใช้และมูลค่ากันมากขึ้น เราก็เริ่มดูยากว่าอันไหนเป็นแอปแลกเปลี่ยนคริปโต อันไหนเป็นแอปให้บริการทางการเงิน และอันไหนเป็นแอปโบรกเกอร์ฟินเทคแบบดั้งเดิม ทั้งนี้ก็เพราะแอปขนาดใหญ่ต่างก็อยากขยายฐานของตัวเองในวงการนี้

อย่างไรก็ดี ในขณะที่คนหันมาสนใจสินทรัพย์คริปโตกันมากขึ้นเรื่อยๆ ความกังวลเรื่องข้อกำหนดกฎหมายก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน หน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินทั่วโลกพบกับความท้าทายในการจำแนกคริปโตเคอร์เรนซีและควบคุมการเข้าถึงคริปโตต่างๆ และการดำเนินการตามกฎหมายในสหรัฐอเมริกาได้บังคับให้แอปคริปโตสัญชาติอเมริกัน เช่น Coinbase และ BlockFiและ Celsius Network ก็มีบริการทางการเงินโดยใช้สกุลเงินดิจิทัลอีกด้วย เช่น การให้ยืมและการยืมโดยใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ในขณะที่แอปต่างๆ ต้องแข่งขันเรื่องผู้ใช้และมูลค่ากันมากขึ้น เราก็เริ่มดูยากว่าอันไหนเป็นแอปแลกเปลี่ยนคริปโต อันไหนเป็นแอปให้บริการทางการเงิน และอันไหนเป็นแอปโบรกเกอร์ฟินเทคแบบดั้งเดิม ทั้งนี้ก็เพราะแอปขนาดใหญ่ต่างก็อยากขยายฐานของตัวเองในวงการนี้

อย่างไรก็ดี ในขณะที่คนหันมาสนใจสินทรัพย์คริปโตกันมากขึ้นเรื่อยๆ ความกังวลเรื่องข้อกำหนดกฎหมายก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน หน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินทั่วโลกพบกับความท้าทายในการจำแนกคริปโตเคอร์เรนซีและควบคุมการเข้าถึงคริปโตต่างๆ และการดำเนินการตามกฎหมายในสหรัฐอเมริกาได้บังคับให้แอปคริปโตสัญชาติอเมริกัน เช่น Coinbase และ BlockFi ให้ยุติผลิตภัณฑ์อย่างผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับดอกเบี้ยที่ยังไม่ได้จดทะเบียนอย่างถูกต้องว่าเป็นหลักทรัพย์ ในทั่วโลก แนวการกำกับดูแลที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทำให้เราเห็นมิติการกำหนดคำนิยามที่สำคัญสำหรับการดำเนินงานและการนำเสนอผลิตภัณฑ์ของแอปคริปโต

 

ส่วนที่ 4

ความท้าทายและโอกาสสำหรับแอปเทรนคริปโต

นอกเหนือจากความไม่แน่นอนด้านกฎระเบียบของผลิตภัณฑ์ทางการเงินบางอย่างแล้ว แอปสำหรับนักเทรดคริปโตยังอาจต้องเจอกับความท้าทายจากการโฆษณาบนอุปกรณ์มือถือ หลังจากช่วงตลาดกระทิงในปี 2017-2018 แพลตฟอร์มโฆษณาสำคัญๆ เช่น Google, Facebook, Twitter และ LinkedIn ได้ปราบปรามและแบนโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับคริปโตเคอร์เรนซีทั้งหมด เพราะมีการหลอกลวงเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในวงการนี้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอุตสาหกรรมคริปโตเองก็เติบโตขึ้นมาก ข้อจำกัดเหล่านี้จึงผ่อนลง และโฆษณาเกี่ยวกับคริปโตที่ถูกต้องตามข้อกำหนดก็กลับมาใช้งานได้อีกครั้งหากปฏิบัติตามนโยบายของแพลตฟอร์มนั้นๆ

แม้ว่าแอปคริปโตจะเผชิญกับความท้าทายมากมาย แต่ก็มีโอกาสอีกสารพัด เพราะในปี 2021 การรับรู้ของสาธารณชนเกี่ยวกับคริปโตและความต้องการที่จะลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก เมื่อแอปต่างๆ หันมาแข่งขันกันมากขึ้นเพื่อให้ตัวเองกลายเป็นช่องทางสู่สินทรัพย์ดิจิทัลที่ผู้ใช้ชื่นชอบ แอปคริปโตและฟินเทคก็จะต้องทุ่มแรงไปกับการสร้างลูกค้าใหม่ (UA: User Acquisition) ให้มากที่สุด เพิ่มประสิทธิภาพของต้นทุน และวัดประสิทธิภาพในทุกขั้นตอนการเดินทางของผู้ใช้อย่างแม่นยำ ตั้งแต่ก่อนการติดตั้งไปจนถึงหลังการติดตั้ง และอีกสารพัดอย่าง Adjust เป็นแพลตฟอร์มเดียวสำหรับการระบุแหล่งที่มาของอุปกรณ์มือถือ แคมเปญอัตโนมัติ และความเป็นส่วนตัวและการปกป้องข้อมูล ทำให้นักการตลาดแอปคริปโตมีเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาแอปของตนในทุกขั้นตอน ขอดูตัวอย่างได้ที่นี่

หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม โปรดดาวน์โหลด "Fintech Deep Dive: Digital Currencies 2022 Playbook" ที่กำลังจะมีขึ้นเพื่อเรียนรู้ว่าแอปคริปโตเป็นอย่างไรกันบ้างในปี 2021 การมีส่วนร่วมของผู้ใช้ในแอปคริปโตเมื่อเทียบกับแอปซื้อขายหุ้น และแอปคริปโตจะทำยังไงเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจาก UA: User Acquisition เพื่อดึงดูดและรักษาผู้ใช้ LTV สูงไว้ให้ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad