“ไวรัสตับอักเสบ” ตัวการร้ายก่อมะเร็งตับ
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เปิดเผยว่าปัจจุบันคนไทยป่วยเป็ นมะเร็งตับมากอันดับ 1 แต่ละปีมีผู้ป่วยมะเร็งตับและท่ อน้ำดีรายใหม่ปีละ 22,200 คน ในจำนวนนี้เสียชีวิตกว่า 16,288 คน ซึ่งมะเร็งตับที่ พบมากในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ มะเร็งของเซลล์ตับและมะเร็งท่ อน้ำดีตับ
ที่น่าสังเกตคือ ผู้ป่วยมะเร็งตับในระยะแรกมั กไม่ค่อยแสดงอาการ จะทราบก็ต่อเมื่อตรวจร่ างกายและพบค่าตับผิดปกติ หรือตรวจพบการติดเชื้อ กระทั่งโรคดำเนินมาถึงระยะตั บแข็งและส่งผลให้เกิดมะเร็งตั บในที่สุด โดยร้อยละ 90 ของมะเร็งตับเกิดจากการติดเชื้ อไวรัสตับอักเสบบีและซี !
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นร่วมด้ วย อาทิ การดื่มสุรา การได้รับสารก่ อมะเร็ง โดยเฉพาะ สารอะฟลาท็อกซินซึ่ งปนเปื้อนในถั่วลิสง ข้าวโพด พริกแห้ง ฯลฯ โรคทางพันธุกรรมและเมตาบอลิกต่ างๆ เช่น โรคเบาหวาน ซึ่งทำให้เกิดไขมันเกาะตั บนำไปสู่การเป็นตับแข็ง และการได้รับยาหรือสารเคมี บางชนิด เช่น การได้รับฮอร์โมนเพศชายเป็ นเวลานาน เป็นต้น
แพทย์หญิงอุไรวรรณ สิมะพิเชฐ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ Internal Medicine-Gastroenterology ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง กล่าวว่า ไวรัสตับอักเสบมีทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี ดีและอี ( A – E) ชนิดที่พบในประเทศไทยมากคือ ชนิดบีและซี ซึ่งไวรัสทั้งสองชนิดนี้ มีโอกาสสูงที่ทำให้เกิดตับอั กเสบเรื้อรัง ไปจนถึงตับแข็งและมะเร็งตั บตามมา และเป็นสาเหตุสำคัญให้ผู้ป่ วยเสียชีวิตได้
“โรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัสจะมี อาการคล้ายๆ กัน คือ ดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ไม่มีแรง บวม มีน้ำในช่องท้อง ปวดชายโครงขวา ปวดกล้ามเนื้อและปวดข้อ ตับม้ามโต การที่จะแยกว่าเกิดจากเชื้อไวรั สชนิดใดนั้น ต้องใช้วิธีการตรวจทางห้องปฏิบั ติการจึงจะทราบ แต่ที่น่าสังเกตคือโรคตับอั กเสบจากไวรัสชนิดอื่นๆ มักจะเป็นแบบเฉียบพลัน และจะหายได้ภายในเวลา 6 เดือน ถ้าหากมีอาการของโรคตับอั กเสบเรื้อรังก็มักจะเกิดจากไวรั สตับอักเสบชนิดบีหรือซี”
ไวรัสตับอักเสบบีและซี สามารถติดต่อผ่านทางเลือด น้ำเชื้อและน้ำหลั่งอย่างอื่น เช่น น้ำเหลือง โดยสามารถรับเชื้อได้หลายวิธี ตั้งแต่การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ มีเชื้อโดยไม่ได้สวมถุงยางอนามั ย การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การใช้เข็มสักตามตัวหรือสีที่ ใช้สักตามตัวร่วมกัน การเจาะหู การใช้แปรงสีฟัน มีดโกน กรรไกรตัดเล็บร่วมกัน การติดเชื้อขณะคลอดจากแม่ที่มี เชื้อ ซึ่งกรณีนี้ถ้าแม่มีเชื้อลูกมี โอกาสได้รับเชื้อมากถึง 90% การถูกเข็มตำจากการทำงาน การสัมผัสกับเลือด น้ำเลือด น้ำคัดหลั่ง โดยผ่านเข้าทางบาดแผล
อย่างไรก็ดี เชื้อนี้จะไม่ติดต่อกั นทางลมหายใจ การรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำด้ วยกัน การให้นม และการจูบกัน (ถ้าปากไม่มีแผล)
อาการของโรค “ไวรัสตับอักเสบบี” แบ่งได้เป็น 2 ระยะ ระยะเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภายใน 1-4 เดือนหลังติดเชื้อ กล่าวคือเป็นไข้ ตัวเหลืองตาเหลือง ปวดท้องใต้ชายโครงขวา อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ผื่น ปวดข้อ บางรายอาจมีอาการรุนแรง เนื่องจากเซลล์ตับถูกทำลายเป็ นจำนวนมาก ในกรณีนี้อาจทำให้เกิด ภาวะตั บวายได้
อย่างไรก็ตาม อาการตับอักเสบระยะเฉียบพลั นจะดีขึ้นใน 1-4 สัปดาห์ และจะหายเป็นปกติเมื่อร่ างกายสามารถกำจัดและควบคุมเชื้ อไวรัสตับอักเสบได้ กรณีที่ร่างกายไม่สามารถกำจั ดเชื้อออกจากร่างกายได้หมด การดำเนินของโรคจะก้าวเข้าสู่ระ ยะเรื้อรัง ซึ่งในผู้ป่วยบางรายแม้ไม่มี อาการ ค่าการทำงานของตับอยู่ในเกณฑ์ ปกติ แต่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่ นได้ ดังนั้นก่อนแต่งงานหรือมีเพศสั มพันธ์ควรตรวจหาไวรัสตับอั กเสบบีก่อน
การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตั บอับเสบบี แพทย์หญิงอุไรวรรณ กล่าวว่า สามารถ ทำได้ด้วยการฉีดวัคซีน โดยผู้ที่ควรฉีดวัคซีนมากที่สุ ดคือ เด็กแรกเกิด และผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่เป็ นพาหะ ควรตรวจเลือดเพื่อทราบถึ งภาวะของการติดเชื้อก่อนการฉี ดวัคซีน และการฉีดวัคซีนจะต้องฉีดให้ ครบชุดจำนวน 3 เข็ม
ขณะที่ “ไวรัสตับอักเสบ ซี” นั้นเมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่ างกายจะ แบ่งตัวและอาศัยอยู่ในตั บ ระยะแรกทำให้เกิดตับอักเสบเฉี ยบพลัน ซึ่งมักมีอาการไม่มาก โดยประมาณเกือบ 8% ของผู้ที่ได้รับเชื้อจะมีการติ ดเชื้อเรื้อรังและตามมาด้วยตั บอักเสบแบบเรื้อรังแบบค่อยเป็ นค่อยไป ทำให้ผู้รับเชื้อไม่ทราบว่ามีตั บอักเสบ กระทั่ง 30 ปีผ่านไป ตับที่ถูกทำลายมากขึ้นเริ่มมี อาการของตับแข็งปรากฏให้เห็น
ทั้งนี้ ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ประมาณ 15-20% อาจหายจากโรคได้เอง แต่ส่วนใหญ่ 75-85% จะเป็นเรื้อรัง ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาก็ จะกลายเป็นโรคตับแข็ง มะเร็งตับ และเสียชีวิตในที่สุด
มะเร็งตับเป็นโรคที่พบได้บ่ อยในประชากรทั่วโลกและเป็ นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิ ตได้มากที่สุดโรคหนึ่ง เมื่อเป็นแล้วจะลุกลามเป็น 2 เท่าภายในระยะเวลา 3-6 เดือน แพทย์หญิงอุไรวรรณ แนะนำว่า การรักษาที่ดีที่สุดคือ การป้องกันและตรวจคั ดกรองหามะเร็งตับ เนื่องจาก 90% ของมะเร็งตับเกิดจากการติดเชื้ อไวรัสตับอักเสบบีและซี ผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอั กเสบบีและซี จึงควรต้องเข้ารั บการตรวจการทำงานของตั บและตรวจคัดกรองมะเร็งตั บโดยการเจาะเลือดหาสารบ่งชี้ มะเร็งตับ ( alpha-fetoprotein) และตรวจอัลตร้าซาวนด์ตับทุก 3-6 เดือน
สำหรับผู้ที่เป็นพาหะหรือติดเชื้ อไวรัสตับอักเสบซีจากการตรวจเลื อดนั้น แม้ว่าร่างกายยังแข็งแรง แต่ควรให้ความสำคัญกับการปฏิบั ติตัวเพื่อไม่ให้ร่างกายเกิ ดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง เพราะหากปล่อยไปถึงขั้นนั้ นจะเสี่ยงกับอันตรายมากขึ้น และการรักษาจะยุ่งยากมากขึ้นด้ วยเช่นกัน.
“Thonburi Bamrungmuang Hospital Disruptive Technology Live Healthier … Live Longer ”
โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง (Thonburi Bamrungmuang Hospital ) โทร. 02-220-7999 Facebook : โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง Thonburi Bamrungmuang Hospital Line : @thbhospital และ เว็บไซต์ : https://www. thonburibamrungmuang.com/th/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น