ผู้เชี่ยวชาญเผยนวัตกรรมคาร์บอนต่ำเพื่อเมือง NET ZERO - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ผู้เชี่ยวชาญเผยนวัตกรรมคาร์บอนต่ำเพื่อเมือง NET ZERO

ผู้เชี่ยวชาญเผยนวัตกรรมคาร์บอนต่ำเพื่อเมือง NET ZERO

            สภาอาคารสีเขียว (World Green Building Council) ชี้ว่า 39% ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศมาจากอุตสาหกรรมก่อสร้าง จากตัวเลขนี้ 28 % มาจากการใช้พลังงานในการควบคุมอุณหภูมิในอาคาร ส่วนอีก 11 มาจากวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง แนะต้องเร่งเดินหน้าสู่ Green Building โดยนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาสร้างความยั่งยืน  ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญจากอุตสาหกรรมยานยนต์ แนะว่านอกจากพลังงานสะอาดแล้ว ยังต้องใช้วัสดุที่ต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

               ในโอกาสครบรอบ 125 ปี กลุ่มบริษัทดาว (Dow) ซึ่งเป็นบริษัทวัสดุศาสตร์ (Materials Science) ชั้นนำด้านนวัตกรรมและความยั่งยืนได้จัดงานสัมมนา FAST TRACK to the NET ZERO เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมที่สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยในช่วงของ Decarbonizing Development เพื่อมุ่งสู่เมืองและการขนส่งคาร์บอนต่ำ ได้มีผู้เชี่ยวชาญชั้นนำระดับประเทศมาเล่าถึงทิศทาง และนวัตกรรมใหม่ๆ ที่น่าสนใจมากมายเริ่มจากมุมมองของ รศ.ดร. สิงห์ อินทรชูโต  หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และหัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) กล่าวถึงการสร้างเมืองในอนาคตต้องสามารถรองรับกับสภาวะโลกรวน (Climate Change) ด้วย โดยแนะนำกรอบ RESILIENCE FRAMEWORK สำหรับการพัฒนาเมืองในอนาคต ให้สอดรับการเปลี่ยนแปลง  3 ประการคือ 1 .ธรรมชาติ-สิ่งแวดล้อม 2.โครงสร้างพื้นฐาน 3.สังคมและเศรษฐกิจ  ซึ่งผู้บริหารเมืองและผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์จะต้องเตรียมพร้อมในการลดการปล่อยคาร์บอนและพัฒนาเมืองให้มีความยืดหยุ่นในการรับมือกับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยในขณะเดียวกันภัยคุกคามก็นำมาสู่โอกาสใหม่ๆ ซึ่งเรากำลังต้องการนวัตกรรมที่จะมาตอบโจทย์


               เริ่มจากมุมมองของ รศ.ดรสิงห์ อินทรชูโต  หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และหัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) กล่าวถึงการสร้างเมืองในอนาคตต้องสามารถรองรับกับสภาวะโลกรวน (Climate Change) ด้วย โดยแนะนำกรอบ RESILIENCE FRAMEWORK สำหรับการพัฒนาเมืองในอนาคต ให้สอดรับการเปลี่ยนแปลง  3 ประการคือ 1 .ธรรมชาติ-สิ่งแวดล้อม 2.โครงสร้างพื้นฐาน 3.สังคมและเศรษฐกิจ  ซึ่งผู้บริหารเมืองและผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์จะต้องเตรียมพร้อมในการลดการปล่อยคาร์บอนและพัฒนาเมืองให้มีความยืดหยุ่นในการรับมือกับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยในขณะเดียวกันภัยคุกคามก็นำมาสู่โอกาสใหม่ๆ ซึ่งเรากำลังต้องการนวัตกรรมที่จะมาตอบโจทย์

               “ตอนนี้มีนวัตกรรมที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับอาคารมากมาย แต่หลายอย่างยังไม่เป็นที่รับรู้ในวงกว้าง หากมีการนำใช้มากขึ้นก็จะช่วยลดคาร์บอนได้มาก”  รัฐเชษฐ์ ธีระธนาวัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายขาย กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าว “ตัวอย่าง เช่น ปูนฉาบสำเร็จรูปซึ่งเมื่อใช้แทนปูนฉาบที่มีการผสมหน้างานจะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนที่เกิดจากการผลิตปูน เพราะมีการผสม “ทิคเคนเนอร์” ซึ่งสามารถลดปริมาณการใช้ปูนซิเมนต์ และยังช่วยเรื่องประหยัดเวลา ลดฝุ่นและลดของเหลือจากกระบวนการผสมปูนที่ไซต์ก่อสร้าง นอกจากนี้ เทคโนโลยีใหม่ อย่าง Ecoground™ ที่ใช้ปูพื้นสนามกีฬาให้คงทนกว่าเดิม ลดการซ่อมแซมและยังสามารถนำยางเก่าที่ไม่ใช้แล้ว เช่น พื้นรองเท้า ยางรถยนต์เก่ามาผสมเป็นวัสดุปูพื้นได้ หรือแม้แต่ ซิลิโคนยาแนวประสิทธิภาพสูงที่เป็นกลางทางคาร์บอน นอกจากไม่เพิ่มคาร์บอนฟุตพริ้นท์ให้อาคารยังช่วยประหยัดพลังงานในการควบคุมอุณหภูมิในอาคารได้ดีเยี่ยม เป็นต้น”

            ขณะที่พูดถึงเมืองแห่งอนาคตย่อมขาดการคมนาคมขนส่งไปไม่ได้ ด้าน“ยานยนต์” ก็ถูกจัดอันดับเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่สร้างคาร์บอนไดออกไซด์ที่ทำให้โลกร้อนทั้งยังสร้างมลพิษทางอากาศและฝุ่นYouTube

ดร. นุวงศ์ ชลคุป กรรมการสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยให้ข้อมูลว่า “ในปี 2015 ทั่วโลกมีการใช้รถยนต์ประมาณ 1 พันล้านคัน  ในจำนวนนี้มีรถยนต์ไฟฟ้าคิดเป็นเพียง 1 % เท่านั้น แต่ปัจจุบันจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าที่วิ่งอยู่บนท้องถนนมีประมาณ 10 ล้านคันทั่วโลก แสดงให้เห็นถึงกระแสของโลกที่กำลังสอดรับกับความหวังของรถ EV ที่จะมาแทนที่รถยนต์สันดาปภายในเพื่อลดมลพิษก้าวไปสู่ Net Zero ได้ทันปี 2050 สำหรับตัวเลขยานยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบันพบว่า รถมอเตอร์ไซต์มีอัตราการเติบโตสูงถึง 44 % หรือคิดเป็น 260 ล้านคัน ส่วนรถยนต์นั่งไฟฟ้ามี 4 % หรือจำนวน 10 ล้านคัน และรถบรรทุก 1 หรือ 4 แสนคัน”

โลแกนนาธาน เรวิแซงเกอร์ - Associate Technology and Business Development Director, Dow Southeast Asia กล่าวว่า “ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดถึงกระแสของยานยนต์ไฟฟ้าที่เริ่มจะมาแรงคือปัจจุบันมีสนามแข่งรถพลังงานไฟฟ้า Formula E ที่กำลังได้รับความนิยมไม่แพ้สนามแข่งรถดั้งเดิมแบบ Formula 1 แต่การเปลี่ยนผ่านจากรถยนต์สันดาปภายในไปสู่รถยนต์ไฟฟ้านั้น นอกจากเปลี่ยนพลังงาน ยังต้องอาศัยนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เน้นความยั่งยืน การใช้วัสดุก็ควรเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เน้นเรื่อง 4 คือ Recycle Reuse Reduce และ R ที่ 4 ที่เพิ่มขึ้นคือ Retain หมายถึงความทนทาน ไม่ต้องเปลี่ยนอะไหล่บ่อย ๆ  เป็นการช่วยประหยัดพลังงานมากขึ้น ทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับวัสดุศาสตร์ทั้งสิ้น”

ทั้งนี้ โลแกนนาธาน ได้ยกตัวอย่างวัสดุศาสตร์ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุด อาทิ ซิลิโคน Gap Filler ซึ่งเป็นวัสดุที่ใส่ระหว่างช่องว่างของแบตเตอรี่ช่วยถ่ายเทความร้อนและป้องกันไม่ให้เกิดไฟไหม้จึงช่วยเพิ่มความปลอดภัย การทำโครงสร้างรถให้มีน้ำหนักเบาแต่แข็งแรง ด้วยการอัดโฟมโพลียูริเทนที่ขยายตัวได้ถึง 4,700% เข้าไปในโครงสร้างของรถ การใช้น้ำยางชนิดพิเศษพ่นเคลือบพื้นห้องโดยสารทดแทนการปูยางแผ่น ช่วยกันเสียงรบกวนได้ดีขึ้นโดยใช้วัสดุน้อยกว่าเพราะไม่มีรอยต่อ รถจึงมีน้ำหนักเบาลง ประหยัดพลังงานในการขับเคลื่อน อีกทั้งยังลดของเสียในโรงงานเพราะไม่ต้องตัดยางแผ่นตามขนาดรถแต่ละรุ่นอีกต่อไป

ผู้ที่สนใจสามารถรับชมบันทึกการบรรยายในหัวข้อ “Decarbonizing Development” จากงานสัมมนา FAST TRACK to the NET ZERO  โดยกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ได้ที่ Live : FAST TRACK to the NET ZERO - YouTube

 

###



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad