SAS ควบรวม Kamakura ขับเคลื่อนนวัตกรรมเทคโนโลยีจัดการความเสี่ยงในภาคการเงิน - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

SAS ควบรวม Kamakura ขับเคลื่อนนวัตกรรมเทคโนโลยีจัดการความเสี่ยงในภาคการเงิน

 SAS ควบรวม Kamakura ขับเคลื่อนนวัตกรรมเทคโนโลยีจัดการความเสี่ยงในภาคการเงิน

เตรียมพร้อมรับมือกับความผันผวน

การเข้าซื้อกิจการแสดงให้เห็นถึงการเติบโตของ SAS ในอุตสาหกรรมโซลูชั่นแบบ Domain Specific ซึ่ง SAS จะสามารถเพิ่มกลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านโซลูชั่นจัดการความเสี่ยงได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น

 

กรุงเทพฯ ประเทศไทย (กรกฎาคม 2565) – SAS ผู้นำด้าน AI และระบบวิเคราะห์ระดับโลก เข้าซื้อกิจการ Kamakura Corporation ซึ่งมีสำนักงาน ณ เมืองโฮโนลูลู โดย Kamakura เป็นบริษัทเอกชนที่ให้บริการซอฟต์แวร์ ข้อมูล และคำปรึกษาเฉพาะทางที่ช่วยดูแลองค์กรทางการเงินในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร บริษัทประกันภัย ผู้จัดการสินทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญ และอื่นๆ รวมถึงจัดการความเสี่ยงทางการเงิน

 

SAS ได้ตัดสินใจลงทุนโดยมองว่าสถานการณ์หลังการเกิดโรคระบาดจะดีขึ้น แต่หลังจากนั้นก็ได้เกิดสงครามขึ้นซึ่งส่งผลให้เกิดการชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานอย่างต่อเนื่อง รวมถึงโครงข่ายความคุ้มครองด้านการเงินและความปลอดภัยในสังคมจำนวนมากที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ก็ได้ปิดตัวลง อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นและภาวะถดถอยที่พุ่งสูงขึ้นได้กลายเป็นดั่งเมฆดำในเศรษฐกิจโลก ซึ่งกำลังส่งสัญญาณถึงความปั่นป่วนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ ดังนั้น ตอนนี้จึงเป็นช่วงเวลาสำหรับองค์กรที่ให้บริการทางการเงินทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กที่จะต้องตรวจสอบความเสี่ยงด้านสภาพคล่องและจับตามองความเสี่ยงด้านอื่นๆ ในพอร์ตการลงทุนอย่างใกล้ชิด

 

คุณ Jim Goodnight ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ SAS กล่าวว่า “การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้เป็นการต่อยอดการลงทุนมหาศาลในแพลตฟอร์มจัดการความเสี่ยงที่พร้อมใช้งานบนคลาวด์ของ SAS และโซลูชั่นแบบผสานรวม ทั้งยังเป็นการแสดงถึงความตั้งใจที่จะพัฒนาโซลูชั่นจัดการความเสี่ยงที่จะกลายเป็นตัวเปลี่ยนตลาด โดยจะช่วยแก้ปัญหาของลูกค้าซึ่งให้บริการทางการเงินกำลังเผชิญอยู่ได้อย่างเร่งด่วน เราคาดการณ์ว่าการผนึกกำลังระหว่างเทคโนโลยี SAS อันแข็งแกร่งกับระบบวิเคราะห์ความเสี่ยงและแบบจำลองสินเชื่อของ Kamakura จะช่วยให้ธุรกิจพัฒนารุดหน้าได้ดีกว่าแยกกันทำธุรกิจเสียอีก”

 

สำหรับการเข้าซื้อกิจการของ Kamakura นั้น SAS มีเป้าหมายที่จะสร้างชุดโซลูชั่นจัดการความเสี่ยงแบบผสานรวมที่ไม่มีใครเทียบได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการบริหารทรัพย์สินและหนี้สิน (ALM: Asset Liability Managementและการให้บริการด้านอื่นๆ ของอุตสาหกรรมบริการทางการเงิน

 

คุณ Sidhartha Dash ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยแห่ง Chartis กล่าวว่า “การควบรวมกันครั้งนี้จะสร้างคุณค่าจากการผสานรวมกลุ่มผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีจัดการความเสี่ยงที่ช่วยส่งเสริมกันและกันได้อย่างลงตัวซึ่งกลุ่มลูกค้าที่เคยใช้บริการ SAS และ Kamakura ก็จะทราบเรื่องนี้เป็นอย่างดีอยู่แล้ว เปรียบเสมือนการต่อจิ๊กซอว์ได้ลงตัว การผสานรวมจุดแข็งของ Kamakura ที่มีความสามารถด้านการบริหารทรัพย์สินและหนี้สิน และความสามารถอันแข็งแกร่งในการจัดการความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย โมเดลสินเชื่อที่เป็นกรรมสิทธิ์เฉพาะและมีความละเอียดซับซ้อน และข้อมูลด้านความเสี่ยงเข้ากับความสามารถของ SAS ซึ่งได้รับการการันตีจากรางวัลต่างๆ ในด้านการจัดการความเสี่ยงด้านเครดิตและการผสานรวมความเสี่ยงและการเงินบนแพลตฟอร์ม SAS® Viya® ซึ่งเป็นโซลูชั่นที่ผสมผสานอันทรงพลังที่ใช้ได้ทั่วทั้งงบดุล”

 

วิสัยทัศน์อันเป็นเอกลักษณ์

Kamakura เป็นที่รู้จักจากวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกลและความเข้มงวดในด้านปริมาณ เป็นเวลากว่าสามทศวรรษแล้วที่บริษัทมีความเชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์และข้อมูลด้านการจัดการความเสี่ยงสำหรับภาคการธนาคารและการประกันภัย ซึ่งปัจจุบันบริษัทได้ให้บริการสองประเภทดังนี้:

  • Kamakura Risk Manager (KRM) KRM เป็นหนึ่งในระบบการจัดการความเสี่ยงแบบครบวงจรที่ทันสมัยที่สุดสำหรับการบริหารทรัพย์สินและหนี้สินในตลาดตอนนี้ ซอฟต์แวร์สามารถประเมินงานธุรกรรม การจำลอง การทำ Stress Test และการวิเคราะห์กระแสเงินสด
  • Kamakura Risk Information Services (KRIS) การให้บริการซอฟต์แวร์บนคลาวด์ (SaaS) เป็นการให้บริการข้อมูลแบบ Subscription ที่ให้ข้อมูลความเสี่ยงด้านเครดิตและมีระบบวิเคราะห์ที่ช่วยให้บริษัทและประเทศสามารถคาดการณ์การกระจายสินเชื่อและคำนวณความน่าจะเป็นที่ลูกหนี้จะผิดนัดชําระหนี้โดยอิงตามแบบจำลองที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท

 

การควบรวมกิจการจะนำความสามารถของโซลูชั่นที่ได้กล่าวมานี้มาสู่ระบบของ SAS พร้อมด้วยกลุ่มผู้บริหาร หัวหน้าทีม พนักงาน และผู้รับเหมาของ Kamakura ทั้งหมด ซึ่งเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านความเสี่ยงเชิงปริมาณที่คร่ำหวอดในวงการมาอย่างยาวนาน ซึ่งในตลาดปัจจุบันอาจต้องใช้ระยะเวลานานหลายปีกว่าที่จะสร้างคุณสมบัติเช่นนี้ขึ้นมาได้

 

แตกต่างแต่ลงตัว

Kamakura เลือก SAS ทั้งๆ ที่มีคู่แข่งที่มีศักยภาพสูงรอเข้าซื้อกิจการหลายแห่ง โดยพิจารณาจากความสอดคล้องกันในด้านวัฒนธรรมเรื่องการวิจัยและการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล กับความเป็นเลิศด้านการสร้างแบบจำลองและระบบวิเคราะห์ที่เหมือนกัน ตามคำกล่าวของคุณ Don van Deventer ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Kamakura ผู้ก่อตั้งบริษัทในปี 2533

 

คุณ Don ได้กล่าวว่า SAS และ Kamakura มีปรัชญาร่วมกัน นั่นคือ การจัดการความเสี่ยงทางการเงินที่ประสบความสำเร็จในขณะที่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุด และให้เป็นไปตามข้อกำหนดด้านกฎระเบียบนั้นยังต้องการการวิจัยระดับแนวหน้าในอุตสาหกรรม ระบบวิเคราะห์เสียง แอปพลิเคชั่นที่ผสานรวมอย่างสมบูรณ์แบบ การดำเนินการที่ไร้ที่ติ และผลลัพธ์เชิงปริมาณอีกด้วย

 

คุณ Don กล่าวว่า “การเป็นสมาชิกใหม่ในครอบครัว SAS ถือเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นเรื่องหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ 32 ปีของ Kamakura เมื่อทั้งสองบริษัทที่มีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกันจะช่วยส่งเสริมลูกค้าและขับเคลื่อนนวัตกรรมสำหรับตลาด (Marketplace) หากจะพูดให้ชัดเจนยิ่งขึ้นนั้นก็คือ การรวมเทคโนโลยี Viya บนคลาวด์ของ SAS รวมถึงความสามารถของโดเมนในการจัดการความเสี่ยงและอินเทอร์เฟซที่ใช้งานและเข้าใจง่ายไว้ใน IP ของ Kamakura นั้นจะสร้างการบริหารทรัพย์สินและหนี้สิน ระดับ Top-Tier ที่สามารถเปลี่ยนโฉมหน้าตลาดได้เลย”

 

นอกจากที่คุณ Don จะเป็นผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับความเสี่ยงถึงสี่เล่มที่ได้รับการยกย่องแล้ว ทีมผู้บริหารระดับสูงของ Kamakura ที่ประกอบไปด้วยคุณ Robert Jarrow ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านความเสี่ยงเชิงปริมาณโดยร่วมสร้างกรอบแบบจำลองความเสี่ยงที่โดดเด่นถึงสองแบบนั่นคือ แบบจำลองอัตราดอกเบี้ยของ Heath-Jarrow-Morton และแบบจำลองความเสี่ยงด้านเครดิตแบบลดรูปของ Jarrow-Turnbull ทั้งคุณ Don และคุณ Robert พร้อมด้วยคุณ Martin Zorn ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Kamakura จะร่วมงานกับ SAS เพื่อช่วยประสานงานในช่วงการเปลี่ยนผ่านและเป็นผู้นำในการพัฒนาการบริหารทรัพย์สินและหนี้สินในอนาคต และการทำงบดุลแบบผสานรวมและความก้าวหน้าของโซลูชั่นด้านความเสี่ยงรูปแบบอื่นๆ อีกด้วย

 

คุณ Troy Haines รองประธานอาวุโสและหัวหน้าฝ่ายวิจัยความเสี่ยงและโซลูชั่นเชิงปริมาณของ SAS กล่าวว่า "การดำเนินงานแบบไซโลที่อยู่แยกกันคนละส่วนซึ่งองค์กรด้านการเงินต้องดำเนินการตามธรรมเนียมปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดของสินทรัพย์และการจัดการงบดุลนั้นต้องใช้ต้นทุนมหาศาลและถือเป็นความไม่ยั่งยืน ดังนั้นการยกระดับและการผสานรวมความเชี่ยวชาญด้านการบริหารความเสี่ยงและการเงินที่มีมายาวนานหลายทศวรรษของ SAS เข้ากับความสามารถขั้นสูงของ Kamakura ในด้านการบริหารทรัพย์สินและหนี้สิน จะช่วยบรรเทาภาระงานอันหนักหน่วงด้านความเสี่ยงของกฎระเบียบทางคอมพิวเตอร์ในอุตสาหกรรม และส่งเสริมการตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล”

 

เกี่ยวกับ SAS

SAS ผู้นำด้านระบบวิเคราะห์ SAS สร้างพลังขับเคลื่อนและเป็นแรงบันดาลใจให้ลูกค้าทั่วโลกด้วยนวัตกรรมซอฟต์แวร์และบริการต่างๆ เพื่อเปลี่ยนโฉมข้อมูลให้เป็นความเป็นอัจฉริยะ SAS จึงพร้อมมอบอำนาจในการหยั่งรู้ (THE POWER TO KNOW®) ให้แก่คุณ

SAS และชื่อผลิตภัณฑ์หรือบริการอื่นๆ ของ SAS Institute Inc. เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนหรือเครื่องหมายการค้าของ SAS Institute Inc. ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ® หมายถึงการจดทะเบียนในสหรัฐอเมริกา ชื่อแบรนด์และชื่อผลิตภัณฑ์อื่นๆ เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทที่เกี่ยวข้อง ลิขสิทธิ์ © 2022 SAS Institute Inc. สงวนลิขสิทธิ์

Editorial Contact:

Danielle M. Bates

danielle.bates@sas.com

919-531-1959

sas.com/news

SAS Institute Inc.     World Headquarters          SAS Campus Drive          Cary, NC          27513

TEL: 1 919 677 8000         FAX: 919 677 4444          U.S. SALES: 800 727 0025        www.sas.com


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad