Yili เปิดตัว “ซิลิคอนแวลลีย์แห่งอุตสาหกรรมนม” - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

Yili เปิดตัว “ซิลิคอนแวลลีย์แห่งอุตสาหกรรมนม”

Yili เปิดตัว “ซิลิคอนแวลลีย์แห่งอุตสาหกรรมนม”

 

ฮูฮอต, จีน--15 กรกฎาคม 2565--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

 

เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมา Yili บริษัทนมยักษ์ใหญ่ระดับโลก ได้ทำพิธีเปิดนิคมอุตสาหกรรมการผลิตอัจฉริยะระดับโลก (Global Smart Manufacturing Industrial Park) ภายในโครงการฟิวเจอร์ อินเทลลิเจนซ์ แอนด์ เฮลท์ แวลลีย์ (Yili Future Intelligence and Health Valley) ที่เมืองฮูฮอต ประเทศจีน พร้อมกับเปิดดำเนินการ โปรเจกต์สำคัญ ได้แก่ ฐานการผลิตนมเหลว ฐานการผลิตนมผง ฟาร์มเลี้ยงวัวอัจฉริยะเป็นมิตรต่อระบบนิเวศชีเล่อฉวน (Chilechuan Ecological Intelligent Pasture) และศูนย์ประสบการณ์การผลิตอัจฉริยะ (Yili Intelligent Manufacturing Experience Center)

 

มุ่งมั่นตั้งใจสร้าง “ซิลิคอนแวลลีย์แห่งอุตสาหกรรมนม”

 

Yili ตั้งใจสร้าง “ซิลิคอนแวลลีย์แห่งอุตสาหกรรมนม” (Dairy Silicon Valley) โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างศูนย์กลางระดับโลกสำหรับอุตสาหกรรมนมและสุขภาพ

 

นิคมอุตสาหกรรมการผลิตอัจฉริยะระดับโลกแห่งนี้มีการประยุกต์ใช้อุปกรณ์อัจฉริยะระดับโลกและคว้าประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีชั้นนำมากมาย เช่น อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) และปัญญาประดิษฐ์ (AI)

 

ฐานการผลิตนมเหลว นมผงสำหรับทารก และชีส ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าว ถือว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด รวมถึงมีการใช้ระบบอัตโนมัติและระบบดิจิทัลมากที่สุด ขณะเดียวกัน โครงการนี้ยังเป็นที่ตั้งของสถาบันระดับชาติถึง แห่ง เช่น ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีนมแห่งชาติ รวมถึงศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยาแห่งชาติสำหรับผลิตภัณฑ์นม เป็นต้น


นำความรุ่งเรืองมาสู่อุตสาหกรรมและภูมิภาค

 

โครงการนี้เป็นการพัฒนาการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมนม โดยคาดว่าจะช่วยกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาค และเร่งการเติบโตของอุตสาหกรรมสุขภาพในระดับโลก

 

ฐานการผลิตนมเหลวใช้เงินลงทุนสูงถึง พันล้านหยวน ครอบคลุมพื้นที่ 950 หมู่ (mu) (เทียบเท่ากับสนามฟุตบอลฟีฟ่าเวิลด์คัพ 89 สนาม) และเพียบพร้อมด้วยอุปกรณ์ดิจิทัลชั้นนำระดับโลก ซึ่งสามารถดำเนินการผลิตได้โดยไม่ต้องใช้แรงงานคน มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และตรวจสอบย้อนกลับได้ โดยสามารถแปรรูปนมสดได้ 6,500 ตันต่อวัน เพียงพอต่อความต้องการบริโภคนมต่อวันของเมืองใหญ่หนึ่งเมือง

 

ฐานการผลิตนมผงใช้เงินลงทุน พันล้านหยวน และมีกำลังการผลิตต่อปี 60,000 ตัน ซึ่งสามารถเลี้ยงทารกได้ 1.28 ล้านคนต่อปี โดยเป็นฐานการผลิตนมผงสำหรับทารกขนาดใหญ่ที่สุดในโลกและมีความเป็นดิจิทัลมากที่สุด อีกทั้งยังเป็นผู้นำอุตสาหกรรมในการใช้ระบบการจัดการอาคารอัจฉริยะ (Intelligent Building Management System หรือ IBMS) และระบบควบคุมและจัดการอาคารสถานที่ (Facility Management and Control System หรือ FMCS) ตลอดจนประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์แอคทีฟสุดล้ำอีกมากมาย

 

ฟาร์มเลี้ยงวัวอัจฉริยะเป็นมิตรต่อระบบนิเวศชีเล่อฉวน ใช้เงินลงทุน 700 ล้านหยวน และครอบคลุมพื้นที่ 11,250 หมู่ (mu) เพียบพร้อมด้วยระบบการจัดการอัตโนมัติและระบบการจัดการคาร์บอนต่ำอัจฉริยะระดับโลก โดยมีเป้าหมายในการสร้างและแบ่งปันความเจริญรุ่งเรืองร่วมกับเกษตรกร ผู้เลี้ยงสัตว์ และพันธมิตรในอุตสาหกรรมที่ทำงานในพื้นที่   

 

ศูนย์ประสบการณ์การผลิตอัจฉริยะมีโรงภาพยนตร์ มิติแห่งแรกของโลกสำหรับการนำชมอุตสาหกรรม โดยผู้มาเยือนจะได้ชมวิดีโอที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีแสงและเสียงขั้นสูง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงกระบวนการผลิตอัจฉริยะสำหรับผลิตนมเหลวและนมผง ช่วยให้สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปแบบการผลิตนมที่ทันสมัยและวงจรการผลิตนมทั้งหมด

 

ทั้งนี้ ฟิวเจอร์ อินเทลลิเจนซ์ แอนด์ เฮลท์ แวลลีย์ บูรณาการอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และเมืองเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน ซึ่งจะสร้างประโยชน์ทางระบบนิเวศ สังคม และเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นภายในปี 2578 นอกจากนั้นยังมีการคาดการณ์ว่าจะสร้างโอกาสในการจ้างงานทั้งทางตรงและทางอ้อมกว่า 350,000 ตำแหน่ง และดึงดูดประชาชนราว ล้านคนให้มาอาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งนี้

 

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1859384/On_July_12_launch_ceremony_Global_Smart_Manufacturing_Industrial_Park.jpg

คำบรรยายภาพ - เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พิธีเปิดนิคมอุตสาหกรรมการผลิตอัจฉริยะระดับโลกของโครงการฟิวเจอร์ อินเทลลิเจนซ์ แอนด์ เฮลท์ แวลลีย์ ได้จัดขึ้นที่เมืองฮูฮอต ประเทศจีน


รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1859385/Photo_2.jpg
คำบรรยายภาพ - นิคมอุตสาหกรรมการผลิตอัจฉริยะระดับโลกมีการประยุกต์ใช้อุปกรณ์อัจฉริยะระดับโลกและคว้าประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีชั้นนำมากมาย เช่น อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) และปัญญาประดิษฐ์ (AI)

 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad