การเลือกปฏิบัติทางสายพันธุ์ รู้หรือไม่ คืออะไร - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2565

การเลือกปฏิบัติทางสายพันธุ์ รู้หรือไม่ คืออะไร


 การเลือกปฏิบัติทางสายพันธุ์ รู้หรือไม่ คืออะไร

 เคยสงสัยไหมคะว่าทำไมเราจึงรักและเอ็นดูสัตว์บางชนิด แต่กลับมองสัตว์บางสายพันธุ์เป็นอาหาร วันที่ 27 สิงหาคม ซึ่งตรงกับวันยุติการเลือกปฏิบัติทางสายพันธุ์ได้เป็นโอกาสที่ดีที่จะจุดประกายประเด็นสำคัญนี้ขึ้น และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับผลกระทบของความสัมพันธ์ระหว่างเราและสัตว์ องค์กรและกลุ่มนักรณรงค์เพื่อสิทธิสัตว์จากทั่วทุกมุมโลกจึงต่างเชิญชวนให้ผู้คนทบทวนความเมตตาที่เรามีต่อสัตว์แต่ละสายพันธุ์

 

คำว่า “การเลือกปฏิบัติทางสายพันธุ์” ถูกคิดค้นโดยนักจิตวิทยาชาวอังกฤษ Richard D. Ryder ในยุค 70 และเป็นที่นิยมมากขึ้นจากหนังสื “Animal Liberation” ซึ่งเขียนโดยนักปรัชญาชาวออสเตรีย Peter Singer และได้รับการตีพิมพ์เมื่อปี 1975 หนังสือเล่มนี้สืบสวนและท้าทายถึงเหตุผลว่าทำไมมนุษย์จึงจัดลำดับค่าของสัตว์แต่ละชนิด และตัดสินว่าสายพันธุ์ใดสมควรได้รับความเห็นอกเห็นใจมากกว่า

 

เมื่อพูดถึงความสามารถในการรับรู้ความเจ็บปวด สัตว์แต่ละชนิดไม่แตกต่างกันขนาดนั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว สัตว์ในฟาร์มปศุสัตว์กลับต้องทุกข์ทรมานมากกว่าสัตว์เลี้ยง สัตว์ในฟาร์ม เช่น วัว หมู และไก่ ถูกปฏิบัติด้วยวิธีที่ถือว่าผิดหลักศีลธรรมของหลายๆ ประเทศ และถือว่าเป็นการกระทำที่น่าตกใจหากสัตว์ที่ว่านั้นเป็น         สัตว์เลี้ยง เช่น การใช้ทั้งชีวิตในกรงขังแคบๆ การโดนตัดอวัยวะโดยไม่ใช้ยาชา วันที่ 27 สิงหาคมนี้จึงเป็นวันสำคัญที่เราจะใช้เวลาไตร่ตรองประเด็นดังกล่าว ชิสากัญญ์ อารีพิพัฒน์ ผู้จัดการโครงการท้าลอง 22 วัน จากองค์กรพิทักษ์สัตว์สากลซิเนอร์เจีย แอนิมอลกล่าว

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad