องค์กรคลังสมองอินเดียเผย บรรทัดฐานใหม่เกี่ยวกับการใช้สารกำจัดศัตรูพืชส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของประเทศกำลังพัฒนา - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

องค์กรคลังสมองอินเดียเผย บรรทัดฐานใหม่เกี่ยวกับการใช้สารกำจัดศัตรูพืชส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของประเทศกำลังพัฒนา

องค์กรคลังสมองอินเดียเผย บรรทัดฐานใหม่เกี่ยวกับการใช้สารกำจัดศัตรูพืชส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของประเทศกำลังพัฒนา


มุมไบ, อินเดีย, 2 พฤศจิกายน 2565 /พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์


ขณะนี้กำลังมีการดำเนินการขอเพิกถอนมาตรการทางการค้าที่องค์การการค้าโลก (WTO) ได้บังคับใช้ เนื่องจากพบความไม่สอดคล้องกัน โดยจะมีขึ้นในการประชุมครั้งต่ไปของคณะกรรมการสุขอนามัยและสุอนามัยพืชขององค์การการค้าโลก วันที่ 7-11 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งมีประเด็นอยู่ที่ความชอบธรรมของเกณฑ์การนำเข้าของสหภาพยุโรป ที่กำหนดเพดานระดับสารตกค้างสูสุด (MRL) ไว้ที่ 0.01 ppm (ส่วนในล้านส่วน) สำหรับสารกำจัดศัตรูพืชส่วนใหญ่ หรือเท่ากับสารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง 1 กรัม ต่อสินค้าอาหารทุก 100 ตัน ซึ่งเป็นระดับสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างที่จะไม่มีผลในทางชีวภาพ พิษวิทยา หรือสิ่งแวดล้อม แต่มาตรการทางการค้าเหล่านี้อาจส่งผลเสียต่อการส่งออกสินค้าเกษตรจากอินเดีย และประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ไปยังสหภาพยุโรป

ความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures หรือ SPS Agreement) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่จัดตั้งองค์การการค้าโลก ได้นำมาซึ่งกฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ที่เข้มงวดในการกำหนดเพดานปริมาณสารตกค้างสูงสุดสำหรับสารกำจัดศัตรูพืช โดย MRL คือระดับสูงสุดของสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างที่ยอมรับได้ตามกฎหมายในสินค้าเกษตรเมื่อซื้อขาย ขณะที่สินค้าโภคภัณฑ์อาจเป็นอาหารประเภทธัญพืช ผักผลไม้ เนื้อสัตว์ เป็นต้น โดยในภาษาของ WTO แล้ว การกำหนด MRL ถือเป็นการใช้มาตรการ SPS ในทางหนึ่ง และตามกฎของ WTO นั้น มาตรการ SPS ควรเป็นมาตรการที่ปฏิบัติต่อสมาชิก WTO ทุกชาติอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อให้ทุกประเทศสมาชิกมีโอกาสยกระดับการค้าระหว่างประเทศ

เอส คเณศน์ ( S Ganesan) ที่ปรึกษาของเซ็นเทโกร (CENTEGRO) ซึ่งเป็นหน่วยงานคลังสมองที่ไม่หวังผลกำไรที่มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร ยืนยันว่า "ตามระเบียบ (EC) ที่ 396/2005 ของสหภาพยุโรปในประเด็นเกี่ยวกับระดับสารตกค้างสูงสุดของสารกำจัดศัตรูพืชนั้น เมื่อสารกำจัดศัตรูพืชไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในสหภาพยุโรป และ/หรือถูกถอดออกจากตลาดสหภาพยุโรปแล้ว จะมีการกำหนดค่าเริ่มต้นของ MRL ไว้ที่ 0.01 ppm เป็นเพดานนำเข้า ซึ่งจากข้อมูลของหน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารแห่งยุโรป (EFSA - 2021) ระบุว่า มีการกำหนดเพดาน MRL กับสารกำจัดศัตรูพืชมากกว่า 1,300 รายการ โดยในจำนวนนี้มีการกำหนด MRL เริ่มต้นที่ 0.01 ppm กับยาฆ่าแมลงมากถึง 690 รายการ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ สหภาพยุโรปใช้เกณฑ์ 0.01 ppm เป็นค่า MRL กับสารกำจัดศัตรูพืชกว่า 50% ซึ่งก็พอ ๆ กับไม่ยอมให้มีเลย"

"อย่างไรก็ตาม การปฏิเสธสินค้าส่งออกโดยใช้เกณฑ์ MRL ที่ 0.01 ppm ซึ่งขัดกับ WTO มีผลกระทบร้ายแรงต่อผลผลิตทางการเกษตร ราคา และรายได้ของเกษตรกร ไม่เพียงแต่ในอินเดียเท่านั้น แต่ยังรวมถึงในประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ด้วย เพราะการใช้สารกำจัดศัตรูพืชในแต่ละประเทศจะต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ พืชผลที่ปลูก และความชุกของศัตรูพืชและโรค" คุณเอส คเณศน์ กล่าวเสริม

ข้อตกลง SPS ของ WTO กำหนดว่าสมาชิก WTO ควรลดผลกระทบด้านลบทางการค้าให้น้อยที่สุด แต่เกณฑ์ MRL ของสหภาพยุโรปในปัจจุบันที่ 0.01 ppm นั้น ขัดกับข้อกำหนดของข้อตกลง SPS ของ WTO และขัดกับข้อตกลง GATT (ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีและการค้า) อย่างไรก็ตามมาตรการเหล่านี้อาจเป็นการจำกัดการค้าระหว่างประเทศแบบแฝง เนื่องจากจะไม่อยู่ภายใต้การพิจารณาของ WTO โดยตรง ดังนั้นทุกประเทศที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรปและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ จึงต้องทำงานร่วมกันเพื่อเกลี้ยกล่อมให้สหภาพยุโรปพิจารณาใหม่เรื่องการใช้เกณฑ์ MRL ที่ 0.01 ppm ด้วยการยื่นเรื่องต่อ WTO โดยอิงบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องของข้อตกลง SPS และ GATT ทั้งนี้ การถอดมาตรการ SPS ที่กำหนดเกณฑ์ MRL ที่ 0.01 ppm โดยสหภาพยุโรป ซึ่งไม่สอดคล้องกับ WTO จะช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศโลกที่สาม ส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของตนได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ:
คุณเอส คเณศน์ (S Ganesan)
ที่ปรึกษา (ข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการค้า) ศูนย์สิ่งแวดล้อมและการเกษตร (CENTEGRO มุมไบ ประเทศอินเดีย)  
โทร: + 919959552725
อีเมล: ganesanicc@gmail.cominfo@centegro.org

รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/1933420/S_Ganesan_Advisor_CENTEGRO.jpg


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad