วิศวะมหิดล เตือนภัย...ท่องเที่ยวเทศกาลและปีใหม่ 2566 ให้ปลอดภัยจากไฟรั่วไฟดูด - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2565

วิศวะมหิดล เตือนภัย...ท่องเที่ยวเทศกาลและปีใหม่ 2566 ให้ปลอดภัยจากไฟรั่วไฟดูด

วิศวะมหิดล เตือนภัย...ท่องเที่ยวเทศกาลและปีใหม่ 2566 ให้ปลอดภัยจากไฟรั่วไฟดูด

 

           ในย่างก้าวสู่ปีใหม่ 2566 เทศกาลแห่งความสุขและการพักผ่อนเดินทางท่องเที่ยว ตามสถานที่ท่องเที่ยว โรงแรมรีสอร์ท ศูนย์การค้า ต่างประดับประดาด้วยดีไซน์สิ่งตกแต่งและระบบแสงเสียง เครื่องเล่น สวนสนุก สวนน้ำ ลานกีฬากลางแจ้งหนาแน่นด้วยผู้คนทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ นักวิชาการคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล เตือนภัยจากไฟรั่วไฟดูดอันตรายถึงชีวิตซึ่งเกิดขึ้นบ่อยมาก พร้อมเสนอแนะภาครัฐ ผู้ประกอบการ และประชาชน เพื่อให้เทศกาลปีใหม่นี้นำความสุขสันต์สู่ประชาชนอย่างปลอดภัย

           ล่าสุดข่าวสลดใจเกิดในบ้านเราเมื่อ 16 ธ.ค. 2565 กรณีหนุ่มนักบาสเกตบอลชาวรัสเซียวัย 19 ปี แตะเสาไฟสปอตไลท์ส่องสนาม ถูกไฟดูดเสียชีวิตที่ลานกีฬาชุมชนเมืองพัทยา เป็นอีกอุทาหรณ์ที่ไม่ควรเกิดแต่ก็เกิดซ้ำๆ คล้ายกับเหตุการณ์เมื่อ 13 ก.ค. 2562  ไฟดูดนักศึกษาเสียชีวิตที่สนามบาสเกตบอลจังหวัดภูเก็ตคาดว่าไฟรั่วจากเสาไฟส่องสว่าง  23 ธ.ค.2564 ในพื้นที่อบต.ราชาเทวะ มีผู้ถูกไฟฟ้าช๊อตตกน้ำเสียชีวิต 2 รายจากไฟรั่วลงมาที่โคนเสา หรือข่าวดังเมื่อ 16 ก.ย.2565 เด็กนักเรียน 5 คน ถูกกระแสไฟฟ้ารั่วจากเสาไฟส่องสว่างดูดหลังฝนตกน้ำท่วมที่โรงเรียนจังหวัดอุดรธานี   ชีวิตคนไทยทุกคนมีค่าและไม่สมควรจะแขวนอยู่กับความประหยัด ขาดความรับผิดชอบ หรือความประมาทในมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากลที่คนไทยพึงได้รับ เพื่อป้องกันอันตรายต่อชีวิตของประชาชน

           ดร.สุพรรณ ทิพย์ทิพากร หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่า ในหลายประเทศ กฎหมายลงโทษผู้รับผิดชอบมีความเข้มงวด มีโทษปรับที่หนัก ดังเช่นกรณีของบริษัท Con Edison ให้บริการส่งจ่ายไฟฟ้าในนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ต้องชดใช้เงินสูงถึง 6.2 ล้านเหรียญแก่ครอบครัวของ Jodie Lane ที่เสียชีวิตจากการถูกไฟรั่วดูด หลังจากนั้นทางบริษัทได้จัดเจ้าหน้าที่นำรถซึ่งใช้เทคโนโลยีอุปกรณ์วัดไฟรั่วออกตระเวนตรวจตราไปทั่วบริเวณพื้นที่ให้บริการอย่างสม่ำเสมอ ในประเทศไทยมีผู้คาดคะเนว่าจำนวนเสาไฟฟ้าตามถนน มีกว่า 17 ล้านต้น ซึ่งบางส่วนท้องถิ่นเทศบาลรับผิดชอบและบางส่วนอยู่ในความดูแลของ 3 องค์กรรัฐวิสาหกิจชั้นนำของประเทศ คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวง โดยมีรายได้รวมกันปีละกว่า 6 แสนล้านบาท และมีผลกำไรกว่า 5.6 หมื่นล้านบาทนั้น ควรยกระดับความปลอดภัยของเสาไฟฟ้าจากปัญหาไฟรั่วไฟดูด และวิธีบริหารจัดการให้มีการตรวจสอบไฟรั่วเพื่อให้เกิดความปลอดภัยของประชาชนและนักท่องเที่ยวผู้สัญจร หรือผู้อยู่อาศัยใกล้ถนนหนทางที่มีเสาไฟฟ้าตั้งอยู่

            เสาไฟที่ได้มาตรฐานต้องมี ระบบสายดิน (Grounding System) โดยกระแสไฟที่รั่วจะเลือกไหลลงดินโดยไม่ไหลเข้าคน เพราะความต้านทานไฟฟ้าของดินจะน้อยกว่าความต้านทานไฟฟ้าของคนหลายเท่า ภายในเสาไฟหรืออุปกรณ์เครื่องเล่นไฟน้ำพุใต้น้ำ อันตรายมักมาจากคุณภาพการเดินสายและเชื่อมต่อสาย ซึ่งอาจจะเป็นเทปพันสายไฟที่เสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา อากาศ และความร้อน หรือมีการต่อสายไม่แน่น ทำให้ตัวนำทองแดงภายในสายไฟสัมผัสกับเสาโลหะ จึงเกิดไฟรั่ว  (Stray Voltage) หากฝนตกหนักน้ำท่วมจะยิ่งช่วยเป็นสื่อให้ไปยังตัวเสาไฟเสมือนเป็นมฤตยูที่รอให้ผู้เคราะห์ร้ายมาแตะ นอกจากนี้ความต้านทานกระแสไฟฟ้าของคนจะลดลงมากถ้าร่างกายเราเปียกเหงื่อหรือน้ำ จะยิ่งทำให้กระแสไฟรั่วเข้าร่างกายได้ง่ายขึ้นอีก

             ในกิจกรรมช่วงเทศกาลและปีใหม่ ผู้ประกอบการและภาคเอกชนต้องตระหนักว่าไฟรั่วไฟดูดเป็นภัยที่มองไม่เห็น หากเกิดเหตุก็จะทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงของธุรกิจที่สร้างสมมาได้  เจ้าของสถานที่หรือท้องถิ่นที่ดูแลพื้นที่อาจถูกดำเนินคดีได้ ดังเช่น สวนน้ำระดับโลกอย่าง Universal Orlando สหรัฐอเมริกาก็ยังเคยเกิดเหตุไฟรั่วดูดในปี 2562 ซึ่งทำให้ผู้ใช้บริการบาดเจ็บจนถูกสั่งปิด หรือเหตุร้ายจากน้ำพุตกแต่งในรีสอร์ทที่ South Carolina ผู้พักเข้าไปเดินถูกไฟดูดและคนเข้าไปช่วยเหลือก็เสียชีวิตรวม คน ดังนั้นการจัดกิจกรรมใดๆต้องควบคู่ไปกับการเตรียมความพร้อมและมาตรการด้านความปลอดภัยเสมอ  การตกแต่งด้วยระบบไฟ แสงเสียง และสิ่งประดับ เช่น อุโมงค์ไฟ อุโมงค์น้ำ ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพและดำเนินการตามมาตรฐานวิศวกรรมและความปลอดภัยโดยช่างที่มีใบอนุญาต  ทั้งมีระบบป้องกันและแจ้งเตือน รวมทั้งมีเจ้าหน้าที่ซึ่งมีความรู้ตรวจสอบและสแตนด์บายระหว่างจัดงานหากเกิดเหตุฉุกเฉิน ผู้ประกอบการควรปฏิบัติตามข้อกฎหมายและระเบียบบังคับที่เกี่ยวข้องเช่น กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2558  กฎกระทรวงว่าด้วยการควบคุมเครื่องเล่น พ.ศ. 2564  วางระบบสายดินให้ถูกต้องตามมาตรฐานทางวิศวกรรม หรือติดตั้งอุปกรณ์ตัดไฟรั่ว Ground Fault 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad