"อาร์ชเวย์" กลุ่มวิศวกรรมวัสดุที่ยั่งยืน เปิดสำนักงานใหญ่ระดับโลกในสิงคโปร์ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2565

"อาร์ชเวย์" กลุ่มวิศวกรรมวัสดุที่ยั่งยืน เปิดสำนักงานใหญ่ระดับโลกในสิงคโปร์

"อาร์ชเวย์" กลุ่มวิศวกรรมวัสดุที่ยั่งยืน

เปิดสำนักงานใหญ่ระดับโลกในสิงคโปร์

 

  • อาร์ชเวย์ กลุ่มโฮลดิงซึ่งมีบริษัทในการดูแลสามแห่ง เปลี่ยนขยะพลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์แฟชั่น ค้าปลีก การบริการ และการดูแลสุขภาพ
  • อาร์ชเวย์ผลักดันโลกสู่การกำจัดเม็ดพลาสติกใหม่
  • โซลูชันพลาสติก BLUEWAVE® ที่ได้รับการรับรองจาก GRS มีจำหน่ายทั่วโลกผ่านบริษัทในเครืออย่างพลาสติกบีน

สิงคโปร์--25 ก.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

อาร์ชเวย์ (Archwey) กลุ่มโฮลดิงที่มีบริษัทในการดูแล 3 แห่ง ได้แก่ อาร์ช แอนด์ ฮุค (Arch & Hook), ชีลด์เลอร์ (Shieldler) และพลาสติกบีน (PlasticBean) ซึ่งล้วนแล้วแต่มีบทบาทพลิกเกมในแง่ของการใช้นวัตกรรมล้ำสมัยเพื่อลดและนำขยะพลาสติกไปใช้ใหม่ ได้เปิดสำนักงานใหญ่ระดับโลกในสิงคโปร์

ภารกิจของอาร์ชเวย์คือการกำจัดเม็ดพลาสติกใหม่ ๆ ให้หมดจากโลก โดยเปลี่ยนหน่วยสร้างโลกเสียใหม่ อาร์ชเวย์จะบรรลุเป้าหมายนี้ด้วยโซลูชันพลาสติกที่ได้รับการรับรองจาก GRS[1] อย่างบลูเวฟ (BLUEWAVE®) ซึ่งเป็นวัสดุเทอร์โมพลาสติกจากพลาสติกรีไซเคิลที่ถูกทิ้งลงในมหาสมุทร พลาสติกในแหล่งน้ำ และพลาสติกที่ผ่านการใช้งานมาแล้วทั้ง 100% ซึ่งรวบรวมมาจากแม่น้ำสี่สายที่มีมลพิษมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก บริษัททั้งสามแห่งของอาร์ชเวย์ใช้ BLUEWAVE® เพื่อจัดหาโซลูชันที่ยั่งยืนสำหรับการผลิต การจัดแสดง และการขนส่งผลิตภัณฑ์ในแวดวงแฟชั่น การค้าปลีก การบริการ และการดูแลสุขภาพ

กรุยทางสู่การพลิกโลกจากสิงคโปร์

สิงคโปร์ซึ่งมีที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ในใจกลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเชื่อมต่อกับส่วนอื่น ๆ ของโลก ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่จะช่วยส่งอาร์ชเวย์ให้ก้าวกระโดดเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกด้วยวัสดุที่ยั่งยืน

คุณสเจิร์ด เฟาเซอร์ (Sjoerd Fauser) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของอาร์ชเวย์ กล่าวว่า "นอกเหนือจากโครงสร้างพื้นฐานเชิงพาณิชย์ที่ยอดเยี่ยมแล้ว ความพยายามของสิงคโปร์ในการสร้างสภาพแวดล้อมที่มีความยั่งยืนในระดับสากล เป็นปัจจัยที่น่าสนใจในการตัดสินใจของเราที่จะย้ายสำนักงานใหญ่ของเราไปที่สิงคโปร์ แผนกรีน แพลน พ.ศ. 2573 (Green Plan 2030) และแผนขยะเป็นศูนย์ (Zero Waste Masterplan) ของสิงคโปร์นั้น ก็สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของอาร์ชเวย์ในการกำจัดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ทั้งยังสอดรับกับจุดมุ่งหมายเรื่องสภาพอากาศที่สะท้อนถึงแนวทางแก้ไขของเรา ในการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมและเร่งด่วนเพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ"

คุณอีเลน ทิโอ (Elaine Teo) รองประธานอาวุโส ฝ่ายอำนวยความสะดวกการลงทุน คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจสิงคโปร์ กล่าวว่า "การตัดสินใจของอาร์ชเวย์ในการตั้งสำนักงานใหญ่ระดับโลกที่นี่ สะท้อนให้เห็นความเชื่อมั่นที่มีต่อสิงคโปร์ในฐานะศูนย์กลางธุรกิจที่ยั่งยืน ความพยายามของบริษัทในการกำจัดเม็ดพลาสติกใหม่ ๆ นั้นสอดคล้องกับเป้าหมายด้านสภาพอากาศของสิงคโปร์ ในขณะที่เรามุ่งสร้างเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เราหวังว่าจะได้เห็นอาร์ชเวย์ใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศที่ยั่งยืนและก้าวหน้าของเรา เพื่อพัฒนาโซลูชันหมุนเวียนสำหรับธุรกิจและผู้บริโภคในสิงคโปร์และทั่วโลก"

ขับเคลื่อนการศึกษา วิจัย การแลกเปลี่ยนความรู้ และวิศวกรรมผลิตภัณฑ์ระดับโลก

อาร์ชเวย์จะขับเคลื่อนการศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และวิศวกรรมผลิตภัณฑ์ ซึ่งมุ่งเน้นที่วิศวกรรมวัสดุและการกำจัดพลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง โดยมีสิงคโปร์ที่พร้อมจะเป็นหนึ่งในเมืองที่ยั่งยืนที่สุดในโลก

อาร์ชเวย์จะใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศสนับสนุนของสิงคโปร์ ซึ่งประกอบด้วยแรงงาน สถาบันชั้นนำระดับโลก และบริษัทข้ามชาติที่ล้วนแล้วแต่มองการณ์ไกล เพื่อสำรวจแนวทางแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกที่ก้าวล้ำยิ่งขึ้น ความร่วมมือในอนาคตกับสถาบัน มหาวิทยาลัย และองค์กรการกุศลกำลังดำเนินการอยู่ โดยอาร์ชเวย์มีแผนจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมวิจัยและพัฒนาระดับโลกของตนเอง มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างและนำวัสดุรีไซเคิลและอัพไซเคิลที่เป็นนวัตกรรมใหม่ นำไปใช้ได้จริงในเชิงพาณิชย์ และยั่งยืนออกสู่ตลาด เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่หมุนเวียนและสมดุลอย่างแท้จริง

คุณเฟาเซอร์ เสริมว่า "วัตถุดิบตั้งต้นที่อุตสาหกรรมต้องการนั้นมีอยู่แล้ว โดยการใช้และสนับสนุนโซลูชันทางวิศวกรรมอัจฉริยะและนำผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนออกสู่ตลาดสำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ นั้น ทำให้การสร้างพลาสติกใหม่ไม่ได้เป็นเรื่องจำเป็นอีกต่อไป เรายืนอยู่ในจุด ๆ นี้เพื่อแสดงให้โลกเห็นว่า การรีไซเคิลเป็นกุญแจสำคัญในการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และได้พัฒนาวิธีการที่จะนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง เรามุ่งมั่นที่จะสร้างโลกที่ปราศจากพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง และโลกที่มั่นคงยั่งยืนขึ้นสำหรับคนรุ่นหลัง"

เกี่ยวกับอาร์ชเวย์

อาร์ชเวย์ (Archwey) เป็นกลุ่มองค์กรวิศวกรรมวัสดุที่ยั่งยืนระดับโลก ซึ่งอุทิศตนเพื่อพัฒนานวัตกรรมวัสดุที่นำไปรีไซเคิลได้ เป็นทางเลือกแทนพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ขับเคลื่อนโดยวิสัยทัศน์ในการสร้างโลกที่ปราศจากมลภาวะจากพลาสติก โลกที่ทุกสรรพชีวิตได้รับการคุ้มครอง และโลกที่การสร้างสรรค์และหมุนเวียนได้คืออนาคต

จนถึงปัจจุบัน อาร์ชเวย์ได้รีไซเคิลและทำความสะอาดพลาสติกจำนวนรวมกัน 32,500 ตันในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นนวัตกรรมและสวยงามจากขยะ[1]

วัตถุประสงค์ของอาร์ชเวย์ ได้แก่

  • เพิ่มปริมาณขยะพลาสติกที่รีไซเคิลและทำความสะอาดเป็นเท่าตัว จาก 32,500 เป็น 65,000 ตันภายในสิ้นปี 2566
  • ลงทุนและร่วมวิจัยเกี่ยวกับไมโครพลาสติกและผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

อาร์ชเวย์ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในชื่ออาร์ช แอนด์ ฮุค (Arch & Hook) ในปี 2558 ที่อัมสเตอร์ดัม ในฐานะแบรนด์ไม้แขวนเสื้อที่ยั่งยืนรายแรกของโลก ต่อมาบริษัทก็ได้ขยายผลิตภัณฑ์และโซลูชันการออกแบบ โดยนำความสำเร็จจากความสามารถด้านวิศวกรรมวัสดุไปต่อยอด รวมถึงโซลูชันพลาสติกที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก GRS อันเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทอย่างบลูเวฟ (BLUEWAVE®) ปัจจุบัน อาร์เวย์ประกอบด้วย

  • Arch & Hook ® บริษัทวิศวกรรมวัสดุที่ยั่งยืนและแบรนด์ไม้แขวนเสื้อที่ยั่งยืนชั้นนำระดับโลก อาร์ช แอนด์ ฮุค สร้างสรรค์โซลูชันสำหรับแฟชั่นและการค้าปลีก โดยมุ่งเน้นไปที่สินค้าแบบไม่ขายต่อ (Goods Not For Resale หรือ GNFR) รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานและการออกแบบร้านค้า ตลอดจนกล่องขนส่ง ด้วยความร่วมมือกับผู้เล่นรายใหญ่ ๆ ในแวดวงอุตสาหกรรมแฟชั่น เช่น โรแลนด์ มูเรต์ (Roland Mouret), ลีวายส์ (Levi's), อันเดอร์ อาร์เมอร์ (Under Armour) และเซลฟริดจ์ (Selfridges)
  • Shieldler ® ซึ่งทำหน้าที่ปรับโครงสร้างวัสดุใหม่เพื่อสร้างอุปกรณ์เพื่อสุขภาพที่มีความยั่งยืน โดยมอบวัสดุที่รีไซเคิลแล้วและรีไซเคิลได้ไปใช้แทนผลิตภัณฑ์ที่สร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ขวดยา บรรจุภัณฑ์และอุปกรณ์จัดการอาหารเสริม แผงยา ชุดปฐมพยาบาล และอื่น ๆ และ
  • PlasticBean ® ซึ่งผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลสำหรับการผลิต โดยเป็นหนทางที่อาร์ชเวย์นำไปใช้เพื่อทำให้วัสดุของตนมีอยู่ทั่วโลก เพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่าสำหรับภาคอุตสาหกรรมและโลกใบนี้ ผู้ผลิตทุกรายสามารถใช้เม็ดพลาสติกนี้ได้ตามวิธีผลิตของตัวเอง ซึ่งจะช่วยยุติการผลิตเม็ดพลาสติกบริสุทธิ์ใหม่ทั้งหมด

[1] คาดว่าจะมีขยะพลาสติกลงสู่มหาสมุทรในแต่ละวันมากถึง 8 ล้านชิ้น การผลิตพลาสติกเพียง 1 ตันจะสร้างคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 2.5 ตัน ส่วนพลาสติกที่ถูกผลิตตั้งแต่ปี 2493 จำนวนกว่า 9 พันล้านตันนั้น ถูกรีไซเคิลเพียง 9% [(1) https://www.sas.org.uk/our-work/plastic-pollution/plastic-pollution-facts-figures/; (2) https://www.unep.org/resources/report/state-plastics-world-environment-day-outlook-2018]


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad