เมตาโพลิส เปิดตัวโปรเจกต์ “ โลกเสมือนจริง Metapolis ” พร้อมพันธมิตรกว่า 20 แบรนด์ชั้นนำ ทั้งภาครัฐ และเอกชน - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2565

เมตาโพลิส เปิดตัวโปรเจกต์ “ โลกเสมือนจริง Metapolis ” พร้อมพันธมิตรกว่า 20 แบรนด์ชั้นนำ ทั้งภาครัฐ และเอกชน

   

“เมตาโพลิส” เปิดตัวโปรเจกต์ “โลกเสมือนจริง Metapolis”

ผนึกพันธมิตรภาครัฐ-เอกชน สร้างเมืองจำลอง ตอบโจทย์เทรนด์เมตาเวิร์ส

“เมตาโพลิส” บริษัทผู้พัฒนาธุรกิจโลกเสมือนจริง เมตาเวิร์ส (Metaverse) ที่มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี และรายแรกของเมืองไทย ตอกย้ำความสำเร็จเปิดตัวโปรเจกต์“Metapolis” ยิ่งใหญ่ จับมือหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน สถาบันการเงิน สถาบันการศึกษา ฯ ร่วมเนรมิตเมืองจำลองเสมือนจริง ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ลั่นจะพัฒนาให้เป็นเมตาเวิร์ส สมบูรณ์ที่สุดของเมืองไทยในอนาคต



นายสุกิจ ตั้งเต็มจิตร  ประธานกรรมการ บริษัท เมตาโพลิส จำกัด กล่าวว่า  “เมตาโพลิส” เป็นบริษัทที่เริ่มเข้ามาพัฒนาธุรกิจโลกเสมือนจริง หรือเมตาเวิร์ส (Metaverse) มาตั้งแต่ปี 2552 โดยมีประสบการณ์พัฒนาโลกเสมือนจริงและเกมสามมิติยาวนานกว่า 15 ปี เริ่มทำ Virtual 3D ให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และพัฒนาโครงการ Ubermall หรือ ห้างสรรพสินค้าเสมือนจริง โลกเสมือนจริงเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทยเมื่อปี 2554 นับเป็นความภาคภูมิใจ และความสำเร็จในโปรเจกต์เมตาเวิร์ส (Metaverse) ที่ได้รับรางวัล 10 สุดยอดซอฟต์แวร์ไทย  เป็นนวัตกรรมระดับประเทศ ในการนำเทคโนโลยี Virtual 3D เข้ามาใช้ จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ทั้งนี้ จากกระแสเมตาเวิร์ส (Metaverse) ในปัจจุบัน เราจึงมีแนวคิดจะต่อยอดนำความรู้และประสบการณ์ที่ผ่านมา พัฒนาโปรเจกต์ให้ก้าวหน้าไปอีกขั้น โดยล่าสุดบริษัทฯ ได้ต่อยอดพัฒนาสร้างเมืองจำลองขึ้น โปรเจกต์โลกเสมือนจริง “Metapolis” ได้จับมือร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน สถาบันการเงิน สถาบันการศึกษา ฯลฯ มาร่วมโปรเจกต์ Metapolis ไม่ว่าจะเป็น การท่าเรือแห่งประเทศไทย

 สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮล ดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท บาเซโลนา มอเตอร์ จํากัด บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด เป็นต้น มาร่วมออกแบบเมือง เพื่อให้ผู้เล่น (User) ได้มาใช้ชีวิตดิจิทัลบนโลกเสมือนจริง 

“เราได้พัฒนาสร้างเมืองจำลองขึ้นอย่างครบวงจรบนโลกเสมือนจริง Metapolis เช่น การซื้อขายครอบครองที่ดิน การช้อปปิ้งในศูนย์การค้า ฯ ผู้เล่นสามารถใช้ร่างอวตาร (Avatar) โต้ตอบ หรือมีปฏิสัมพันธ์กับเกมที่เห็นอยู่ตรงหน้า มีแผนผังโครงสร้างของกรุงเทพมหานคร สู่เมืองจำลองมี Landmark เป็นเอกลักษณ์ของกรุงเทพมหานครฯ เช่น เสาชิงช้า ถนนราชดำเนินคลุมไปถึงเยาวราช รวมถึงสถานที่สำคัญต่าง ๆ ภายในเมือง สามารถเข้าจับจองเป็นเจ้าของเพื่อสร้างสิ่งปลูกสร้างที่เป็นตัวคุณเอง และเก็บเกี่ยวทรัพยากรต่าง ๆ พัฒนาไปสู่ผลงาน NFT (สินทรัพย์ดิจิทัล) ที่เกิดจากการสร้างด้วยตัวเอง มีการสร้างที่ดิน สร้างอาคาร และองค์ประกอบอื่น ๆ สร้างสังคม ชุมชนขึ้นมาเป็นโลกคู่ขนานกับสังคมที่เราอยู่จริง ๆ ทั้งกิจวัตรประจำวัน การทำงาน การใช้ชีวิตไปจำลองให้ได้มากที่สุด เช่น สถานศึกษา โรงพยาบาล ศูนย์การค้า การทำธุรกรรมต่าง ๆ อย่างครบวงจร” 

นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตามนโยบายของรัฐบาลในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนาประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และที่สำคัญ คือการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาขับเคลื่อนองค์กรภาครัฐฯ ให้มีความทันสมัย ทันโลก พัฒนาการทำงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และ Metaverse ก็เป็นหนึ่งในโครงการที่การท่าเรือ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ต้นปี 2565 จะนำมาใช้พัฒนาการทำงานขององค์กร ซึ่งเราได้แบ่งการทำงานออกเป็น 3 เฟส 

“เฟสแรก เราได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเรียบร้อยไปแล้ว เริ่มต้นจำลองตึกอาคารที่ทำการการท่าเรือ เข้ามาในโลกของ Metaverse จำลองอาคารเสมือนจริง และมีสำนักงานเสมือนจริง ซึ่งถือเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจแห่งแรกของไทยบน Metaverse ซึ่งวัตถุประสงค์ในเฟสแรกนี้ เพื่อให้บุคลกรการท่าเรือได้ทำความรู้จักกับ Metaverse สร้างสังคมของบุคลากรการท่าเรือให้เรียนรู้ Metaverse จากการทดลองใช้งานจริง เข้ามาสร้าง Avatar และร่วมพูดคุยสื่อสารกับพนักงานการท่าเรือด้วยกันก่อน เป็น internal communication หรือช่องทางสื่อสารภายในองค์กรก่อนเป็นลำดับแรก” 

สำหรับ เฟสที่สอง จะเป็นการสร้างช่องทางการเรียนรู้เสมือนจริงเป็นหลัก ยังจะเพิ่มเติมรายละเอียดอื่น ๆ ของโลกเสมือนจริงให้มีความสมบูรณ์และหลากหลายมากยิ่งขึ้น เพิ่มอัตลักษณ์ของการท่าเรือเข้าไป เพื่อใช้เป็นเครื่องมืออบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องภายในองค์กร ผู้ใช้บริการ และผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์  เกี่ยวกับการขนส่งทางน้ำ และโลจิสติกส์  ด้านกฎหมาย ด้านกฎกระทรวง มีการจำลองรูปแบบของท่าเรือกรุงเทพ อันประกอบไปด้วย โกดังสินค้า ตู้คอนเทนเนอร์ เครนยกตู้คอนเทนเนอร์ เรือสินค้า รถขนส่ง และจำลองพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง เพื่อแสดงประวัติศาสตร์การท่าเรือไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจะทำงานได้เสมือนพิพิธภัณฑ์จริงทุกประการ  สุดท้ายใน เฟสที่สาม จะเน้นการพัฒนาระบบเพื่อรองรับการทำโครงการฯ ร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น  การทำหลักสูตรการศึกษาด้านโลจิสติกส์เสมือนจริง ร่วมกับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ  หรือการขยายไปยังท่าเรืออื่น ๆ เช่น แหลมฉบัง เป็นต้น”




   

 นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ที่ปรึกษาโครงการเมตาโพลิส กล่าวเสริมว่า ได้นำความรู้และประสบการณ์ด้านการเงินการธนาคาร มาเป็นแนวคิดหลักในการออกแบบระบบเศรษฐศาสตร์ของโลกเสมือนจริงแห่งนี้ ทำให้ปัจจุบันเรามีพาร์ทเนอร์หรือองค์กร ร่วมโปรเจกต์ Metapolis มากกว่า 50 ราย และได้ตั้งเป้าผู้ใช้งานไว้เบื้องต้นประมาณ 1 ล้านราย  เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ เรามีจุดแข็งทั้งในเรื่องประสบการณ์ และทีมงานผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้โดยเฉพาะ สามารถให้คำปรึกษาธุรกิจไหนบ้างที่จะเหมาะสมกับเมตาเวิร์สหรือไม่อย่างไร รวมทั้งมีพันธมิตรทางการค้าที่แข็งแรง และพร้อมจับมือไปด้วยกันในระยะยาว อาทิเช่น “การท่าเรือแห่งประเทศไทย” นอกจากนี้ ยังมีพันธมิตรจาก สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ตามนโยบายภาครัฐ ที่มีแนวคิดในการนำเทคโนโลยีดิจิตอลมาใช้สร้างโลกเสมือนจริง ด้วยการสร้างสำนักงานกองสลากฯ ให้คนสามารถมาใช้บริการติดต่อ สอบถาม รับเรื่องร้องเรียน หรือหวยออกสามารถดูสดได้ Vir  tual reality เป็นเทคโนโลยีการจำลองภาพเสมือนของสถานที่ หรือสภาพแวดล้อมแบบเหมือนเราเข้าไปนั่งในห้องส่ง นั่งดูได้เสมือนจริง เพิ่มอรรถรสในการลุ้นรางวัล เหล่านี้เป็นองค์กรภาครัฐที่มาพัฒนาร่วมกับเรา รวมถึงภาคเอกชนจากหลาย ๆ องค์กร มาร่วมในโปรเจกต์ โดยคาดว่าเราจะพัฒนา Metapolis ให้เป็นเมตาเวิร์ส ที่สมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทยต่อไปในอนาคต



ผู้สนใจร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ของประสบการณ์โลกเสมือนจริง ที่สร้างบนแผนที่จริง เพิ่มโอกาสธุรกิจของคุณในรูปแบบใหม่ในโลกเสมือนจริง Metapolis  สามารถติดตามรายละเอียด และลงทะเบียนได้ที่ https://www.metapolis.in.th/  หรือ https://web.facebook.com/BkkMetapolis/




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad