วช. เดินหน้าบ่มเพาะเยาวชนระดับอุดมศึกษาด้วยวิจัยและนวัตกรรม เพิ่มศักยภาพ สมรรถนะ สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ ในงาน”วันนักประดิษฐ์ 2566” - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

วช. เดินหน้าบ่มเพาะเยาวชนระดับอุดมศึกษาด้วยวิจัยและนวัตกรรม เพิ่มศักยภาพ สมรรถนะ สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ ในงาน”วันนักประดิษฐ์ 2566”

     

วช. เดินหน้าบ่มเพาะเยาวชนระดับอุดมศึกษาด้วยวิจัยและนวัตกรรม เพิ่มศักยภาพ สมรรถนะ สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ ในงาน”วันนักประดิษฐ์ 2566”

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดกิจกรรมการเพิ่มศักยภาพและมาตรฐานบุคลากรอุดมศึกษา : บ่มเพาะและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ระหว่างวันที่ 4-6 กุมภาพันธ์ 2566  ระหว่างงานวัน”นักประดิษฐ์ ประจำปี 2566” มุ่งเน้นการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายอุดมศึกษาให้ได้รับการบ่มเพาะและพัฒนาด้วยววน. โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิดฯ พร้อมปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “การพัฒนาขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนด้วยการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร

ดร.วิภารัตน์  ดีอ่อง  ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า การจัดงานวันนักประดิษฐ์ในปีนี้ กลับมาจัดงานเต็มรูปแบบ มีกิจกรรมที่หลากหลายในภาคนิทรรศการ ภาคการเสวนา การอบรมบ่มเพาะ โดยในช่วง 2 วันที่ผ่านมา มีผู้เข้าเยี่ยมชมหลายหมื่นคนจากทุกภูมิภาค ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี สำหรับ”กิจกรรมการเพิ่มศักยภาพและมาตรฐานบุคลากรอุดมศึกษา : บ่มเพาะและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2566” ได้รับความสนใจจาก นิสิต นักศึกษาสถาบันอุดมศึกษา ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในอนาคต ในส่วนงานวันนักประดิษฐ์ วช. ได้ให้ความสำคัญกับเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่จะเกิดเป็นนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานให้มีคุณค่ากับประเทศ 






กิจกรรมฯ ตลอด 3 วันนี้ ได้รับการตอบรับเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนกว่า 300 คน ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ วช. ได้กำหนดกลุ่มเรื่องผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมให้มีความสอดคล้องกับกลุ่มเรื่องของ Thailand 4.0 และ BCG โมเดล 4 กลุ่ม ได้แก่ การเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร, การสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์, การพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์อัจฉริยะ พลังงานและสิ่งแวดล้อม, และการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งการจัดกิจกรรมบ่มเพาะเพิ่มศักยภาพในเยาวชนสายอุดมศึกษา จะมีผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรอบรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการพัฒนาผลงานในการพัฒนาผลงานนวัตกรรมในเวทีระดับชาติและระดับนานาชาติ มาให้ความรู้ ความเข้าใจ กับทีมสายอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาผลงานนวัตกรรม ซึ่งจะเป็นกลไกหนึ่งในการพัฒนากำลังคน ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม ในการขับเคลื่อนการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมในอนาคต







โดยกิจกรรมการเพิ่มศักยภาพและมาตรฐานบุคลากรอุดมศึกษา : บ่มเพาะและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ได้วางเป้าหมายให้กิจกรรมดังกล่าวเป็นกลไกสำคัญ ที่จะพัฒนาสมรรถนะและเทคนิคด้านการประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรมของคณาจารย์และนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ให้สามารถพัฒนาผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ที่ตอบโจทย์และความต้องการของประเทศ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad