สรัล-กัลยรักษ์ หยิบแชมป์ โอเพ่น คลาส จูเนียร์ เอเชียน ทัวร์ คว้าตั๋วลุย ไทยแลนด์ มิกซ์ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2566

สรัล-กัลยรักษ์ หยิบแชมป์ โอเพ่น คลาส จูเนียร์ เอเชียน ทัวร์ คว้าตั๋วลุย ไทยแลนด์ มิกซ์

สรัล-กัลยรักษ์ หยิบแชมป์ โอเพ่น คลาส

จูเนียร์ เอเชียน ทัวร์ คว้าตั๋วลุย ไทยแลนด์ มิกซ์

น้องเพชร สรัล จันทราทิตย์ สวิงเยาวชนวัย 16 ปีจากเชียงใหม่ เก็บเบอร์ดี้ 2 หลุมสุดท้ายทำสกอร์รวม 9 อันเดอร์พาร์ 207 คว้าแชมป์รุ่น โอเพ่น คลาส ประเภทชายและยังรับแชมป์ คลาส เอ ประเภทชาย ขณะที่ น้องเจลลี่ กัลยรักษ์ พงศ์พิธานนท์ นักกอล์ฟสาววัย 13 ปีจากกรุงเทพฯ ทำ 2 อันเดอร์พาร์ 70 สกอร์รวมสามวัน 6 อันเดอร์พาร์ 210 รับแชมป์รุ่น โอเพ่น คลาส ประเภทหญิง และแชมป์ คลาส บี ประเภทหญิง ไปครอง ขณะที่ น้องปาแปง อลิศา อินทร์ประสิทธิ์ สวิงดาวรุ่งโครงการทีมชาติจากนครราชสีมา จบ 5 อันเดอร์พาร์ 211 รับแชมป์ คลาส เอ ประเภทหญิง จากการแข่งขันกอล์ฟเยาวชนนานาชาติ จูเนียร์ เอเชียน ทัวร์ สนามที่ 3 ที่สนาม กบินทร์บุรี สปอร์ตส คลับ แบบพาร์ 72 จ.ปราจีนบุรี เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 เมษายน 2566

ทรัสต์กอล์ฟ ศูนย์ฝึกซ้อม และพัฒนาศักยภาพด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยระดับโลก เก็บคะแนนสะสม จูเนียร์ เอเชียน ทัวร์ เปิดโอกาสนักกอล์ฟเยาวชนมีแมตช์แข่งขันแบบมีมาตรฐาน ทุกรายการมีการนับคะแนนสะสมอันดับนักกอล์ฟสมัครเล่นโลก( WAGR ) และ Junior Golf Scoreboard แบ่งออกเป็น 3 รุ่นอายุ ประเภทชายและหญิง คลาส ซี 10-12 ปี, คลาส บี 13-14 ปี และ คลาส เอ 15-18 ปี เก็บคะแนนสะสมลุ้นสิทธิ์ไปแข่งขันรายการเยาวชนระดับนานาชาติ นอกจากนี้ยังได้รับสิทธิ์เข้าร่วมหาประสบการณ์การแข่งขันระดับอาชีพ แอลพีจีเอ ทัวร์, เลดี้ส์ ยูโรเปี้ยน ทัวร์, เอเชียน ทัวร์, ทรัสต์กอล์ฟ ทัวร์ รวมถึงอีกหลายทัวร์นาเม้นท์ระดับอาชีพจัดขึ้นในเมืองไทย

รายการนี้เป็นรายการที่ 3 จาก 6 รายการของทัวร์จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-9 เมษายน 2566 ณ สนามกบินทร์บุรี สปอร์ต คลับ แบบพาร์ 72 เล่นสโตรคเพลย์ คลาส เอ-บี แข่ง 3 วัน 54 หลุม และคลาส ซี แข่ง 2 วัน 36 หลุม

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 เมษายน 2566 เป็นวันสุดท้ายของการแข่งขัน และเป็นรอบตัดสินแชมป์ในคลาส เอ, บี และ โอเพ่น คลาส โดยใน โอเพ่น คลาส ชาย สรัล จันทราทิตย์ นักกอล์ฟวัย 16 ปีจากเชียงใหม่ที่ออกนำตั้งแต่วันแรกปิดเกมได้เฉียบขาดด้วยการทำเพิ่ม 3 อันเดอร์พาร์ 69 จาก 4 เบอร์ดี้ เสีย 1 โบกี้ ทำสกอร์รวม 9 อันเดอร์พาร์ 207 รับแชมป์ไปครอง โดยมี อิงตะวัน หวังรุ่งเรืองวิชัยศรี รั้งอันดับ 2 ด้วยสกอร์รวม 5 อันเดอร์พาร์ 211 และ พลกฤต ผาวิชัย รับอันดับ 3 สกอร์รวม อีเวนพาร์ 216 ด้านประเภทหญิง กัลยรักษ์ พงศ์พิธานนท์ นักกอล์ฟสาววัย 13 ปี จากกรุงเทพฯ เก็บเพิ่มอีก 2 อันเดอร์พาร์  70 รวมสามวัน 6 อันเดอร์พาร์ 210 รับแชมป์สำเร็จ โดยมี อลิศา อินทร์ประสิทธิ์ นักกอล์ฟโครงการทีมชาติ จากนครราชสีมา คว้าอันดับ 2 ด้วยสกอร์รวม 5 อันเดอร์พาร์ 211 และ ปัณฑิตา ผาวิชัย คว้าอันดับ 3 ด้วยสกอร์รวม 4 อันเดอร์พาร์ 212


แชมป์ คลาส เอ ประเภทชาย เป็นของ สรัล จันทราทิตย์ จากผลงาน 9 อันเดอร์พาร์ 207 โดยมี อิงตะวัน หวังรุ่งเรืองวิชัยศรี คว้าอันดับ 2 ด้วยสกอร์รวม 5 อันเดอร์พาร์ 211 และอันดับ 3 เป็นของ พลกฤต ผาวิชัย จากสกอร์รวมอีเวนพาร์ 216 ด้านประเภทหญิงแชมป์เป็นของ อลิศา อินทร์ประสิทธิ์ จากผลงานรวม 5 อันเดอร์พาร์ 211 โดยมี ปัณฑิตา ผาวิชัย คว้าอันดับ 2 สกอร์รวม 4 อันเดอร์พาร์ 212 และ ณพจิรา ลือศรัทธา รับอันดับ 3 สกอร์รวม 3 อันเดอร์พาร์ 213

คลาส บี ประเภทชาย พสิษฐ์ ราตะกั่ว เก็บอีเวนพาร์ 72 รวมสามวัน 8 โอเวอร์พาร์ 224 คว้าแชมป์ในรุ่นนี้ โดยมี อจลวิชญ์ อนันตะเศรษฐกุล รับอันดับ 2 สกอร์รวม 11 โอเวอร์พาร์ 227 และอันดับ 3 เป็นของ ณัฏฐ์ภพ เหลืองเจริญวัฒนา ที่สกอร์รวม 28 โอเวอร์พาร์ 244 ประเภทหญิงแชมป์เป็นของ กัลยรักษ์ พงศ์พิธานนท์ ที่ทำสกอร์รวม 6 อันเดอร์พาร์ 210 โดยมี ลูซี่ หลิน จากแคนาดา รับอันดับ 2 สกอร์รวม 2 อันเดอร์พาร์ 214 และ ณิชกมล พนาพิศาล รับอันดับ 3 สกอร์รวม 3 โอเวอร์พาร์ 219

สำหรับการแข่งขัน จูเนียร์ เอเชียน ทัวร์ สนามที่ 4 จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 29 กันยายน - 1 ตุลาคม 2566

สรุปผลการแข่งขัน จูเนียร์ เอเชียน ทัวร์ สนามที่ 3

โอเพ่น คลาส ชาย

1.สรัล จันทราทิตย์ (-9) 207 (71-67-69)

2.อิงตะวัน หวังรุ่งเรืองวิชัยศรี (-5) 211 (74-68-69)

3.พลกฤต ผาวิชัย (-) 216 (73-70-73)

โอเพ่น คลาส หญิง

1.กัลยรักษ์ พงศ์พิธานนท์ (-6) 210 (70-70-70)

2.อลิศา อินทร์ประสิทธิ์ (-5) 211 (70-70-71)

3.ปัณฑิตา ผาวิชัย (-4) 212 (71-73-68)

คลาส เอ ชาย

1.สรัล จันทราทิตย์ (-9) 207 (71-67-69)

2.อิงตะวัน หวังรุ่งเรืองวิชัยศรี (-5) 211 (74-68-69)

3.พลกฤต ผาวิชัย (-) 216 (73-70-73)

คลาส เอ หญิง

1.อลิสา อินทร์ประสิทธิ์ (-5) 211 (70-70-71)

2.ปัณฑิตา ผาวิชัย (-4) 212 (71-73-68)

3.ณพจิรา ลือศรัทธา (-3) 213 (70-70-73)

คลาส บี ชาย

1.พสิษฐ์ ราตะกั่ว (+8) 224 (79-73-72)

2.อจลวิชญ์ อนันตะเศรษฐกุล (+11) 227 (79-73-75)

3.ณัฏฐ์ภพ เหลืองเจริญวัฒนา (+28) 244 (80-83-81)

คลาส บี หญิง

1.กัลยรักษ์ พงศ์พิธานนท์ (-6) 210 (70-70-70)

2.ลูซี่ หลิน (แคนาดา) (-2) 214 (73-70-71)

3.ณิชกมล พนาพิศาล (+3) 219 (71-73-75)

-------------------------------------------------------

ใต้ภาพ

นาวาโทหญิง พรพรรณ โปษยะนันทน์ (กลาง) ผู้จัดการทั่วไป ทีซีที คอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมแสดงความยินดีกับ กัลยรักษ์ พงศ์พิธานนท์ (ซ้าย) และ สรัล จันทราทิตย์ ผู้ชนะในรุ่น โอเพ่น คลาส จากการแข่งขัน กอล์ฟเยาวชนนานาชาติ จูเนียร์ เอเชียน ทัวร์ สนามที่ 3 ที่สนามกบินทร์บุรี สปอร์ตส คลับ แบบพาร์ 72 จ.ปราจีนบุรี เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 เมษายน 2566

-------------------------------------------------

เกี่ยวกับทรัสต์กอล์ฟ

ทรัสต์กอล์ฟ นอกจากจะมีศูนย์ฝึกซ้อม และพัฒนาศักยภาพด้วยเทคโนโลยีระดับโลกที่ทันสมัยแล้ว ยังได้เดินหน้าสนับสนุนการแข่งขันระดับนานาชาติอย่างในศึก เลดี้ส์ ยูโรเปี้ยน ทัวร์ และ แอลพีจีเอ ทัวร์ ในรายการ "ทรัสต์กอล์ฟ วีเมนส์ สก๊อตติช โอเพ่น" เป็นเวลา 5 ปีตั้งแต่ปี 2021-2025 ซึ่งได้รับเสียงตอบรับจากนักกอล์ฟชั้นนำระดับโลกมากมายเข้าร่วมการแข่งขัน และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง นอกจากนั้นแล้วยังเป็นเวทีให้นักกอล์ฟสาวไทยที่ผ่านการคัดเลือกจากการสนับสนุนจากทางทรัสต์กอล์ฟได้เข้าร่วมการแข่งขันอีกด้วย

สำหรับในปี 2023 นอกเหนือจาก Thailand Mixed Hosted by TrustGolf ทั้ง 5 รายการ(เงินรางวัลรวม 17 ล้านบาท) ยังมี TrustGolf Asian Mixed ที่เป็น Tri-Sanction ระหว่าง Asian Tour, Ladies European Tour และ TrustGolf Tour (เงินรางวัลรวม 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) อีกทั้งยังมี TrustGolf Link Series จะเป็น Access Series for Ladies European Tour ก่อนที่จะเป็นรายการใหญ่อย่าง TrustGolf Women Scottish Open (เงินรางวัลรวม 2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad