ภายใต้โครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐาน
อนาคต ประเทศไทย
ดีป้า จัดกิจกรรม Coding Bootcamp & Roadshow และ Coding War พื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ภายใต้โครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย หลังกิจกรรมในภูมิภาคต่าง ๆ ได้รับกระแสตอบรับอย่างดีเยี่ยม รุกติวเข้มทักษะโค้ดดิ้งนักเรียน – ครู สร้างความตระหนักรู้ประชาชน เรียนรู้ทักษะโค้ดดิ้ง อัปเดตเทรนด์เทคโนโลยีและนวัตกรรม AI ต่อยอดอาชีพด้านโค้ดดิ้ง พร้อมเปิดพื้นที่ให้เด็กไทยแข่งขันทักษะด้านโค้ดดิ้ง
เพื่อชิงพื้นที่เข้าร่วมแข่งขัน Coding War รอบ Final ที่กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 13 - 15 กันยายน ชี้โครงการดังกล่าวช่วยยกระดับทักษะด้านโค้ดดิ้งและเทคโนโลยีแก่กำลังกำลังคนดิจิทัลให้พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงเท่าทันโลก
ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และแก้ไขปัญหาการขาดแคลนกำลังคนดิจิทัลของประเทศอย่างยั่งยืน
ดร.จักกนิตต์ คณานุรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการพัฒนากำลังคนดิจิทัล หรือ ดีป้า เป็นประธานเปิดกิจกรรม Coding Bootcamp & Roadshow และ Coding War พื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง กิจกรรมภายใต้โครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย โดยได้รับเกียรติจาก นายอภิชาติ สาราบรรณ์ รองผู้ว่าราชการ
จังหวัดสงขลา ร่วมในพิธีเปิดกิจกรรม พร้อมกันนี้ยังมี นายรพีพัฒน์ นำนาผล ผู้จัดการสาขาภาคใต้ตอนล่าง ดีป้า ผู้บริหารจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา คณะครู นักเรียน ผู้ปกครอง ประชาชนทั่วไปที่สนใจร่วมในกิจกรรม
ดร.จักกนิตต์ กล่าวว่า ดีป้า มุ่งมั่นพัฒนาและส่งเสริมกำลังคนดิจิทัล ให้มีทักษะด้านโค้ดดิ้งและเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งดำเนินการมาแล้วกว่า 7 ปี ทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดย โครงการ Coding for Better Life
สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย ส่งเสริมการสร้างระบบนิเวศดิจิทัลที่พร้อมรองรับการพัฒนาทักษะด้านโค้ดดิ้ง ดำเนินงานใน 4 ด้าน ประกอบด้วยInfrastructure การยกระดับห้องเรียนโค้ดดิ้ง จำนวน 1,500 โรงเรียนทั่วประเทศ Incubation การจัดทำหลักสูตรโค้ดดิ้ง พร้อมเสริมทักษะการสอนแก่คุณครูที่จะมาเป็น Coding Coach จำนวน 3,000 คน เพื่อสอนเด็ก 300,000 รายต่อปี Accelerator การเสริมทักษะโค้ดดิ้งเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลแก่ครูผู้สอนและนักเรียนผ่านกิจกรรม Coding Bootcamp และ Coding War และ Awareness การสร้างความตระหนักรู้ด้านโค้ดดิ้งและการประยุกต์ใช้จริงแก่ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไปผ่าน Coding Roadshow และการพัฒนาหลักสูตร
การเรียนโค้ดดิ้ง เผยแพร่ผ่านระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Coding DLTV)
ดร.จักกนิตต์ กล่าวต่อว่า กิจกรรม Coding Bootcamp & Roadshow และ Coding War พื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
ที่จัดขึ้นที่จังหวัดสงขลาในวันนี้นับเป็นพื้นที่ที่ 8 ถัดจากพื้นที่ภาคอีสานตอนกลาง จังหวัดขอนแก่น พื้นที่ภาคกลาง กรุงเทพมหานคร พื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง จังหวัดอุบลราชธานี พื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง จังหวัดพิษณุโลก พื้นที่ภาคเหนือตอนบน จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ภาคใต้ตอนบน จังหวัดภูเก็ต และพื้นที่ภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี มีผู้เข้าชมงานตลอด
การดำเนินกิจกรรมมากกว่า 12,300 คน โดยในส่วนของกิจกรรม Coding Bootcamp จัดขึ้นสำหรับครูและนักเรียน
จากโรงเรียนในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 400 คน 100 ทีม เพื่อเรียนรู้ทักษะโค้ดดิ้งเข้มข้น ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติจากผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลแถวหน้าของประเทศในหัวข้อต่าง ๆ ก่อนคัดเลือก 10 ผลงานเด่นสู่การเป็น 1 ใน 100 ทีมเข้าร่วมการแข่งขัน Coding War รอบ Final ที่ MCC Hall เดอะมอลล์ ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ ระหว่างวันที่ 13 - 15 กันยายน ก่อนเฟ้นหาสุดยอดผลงาน ชิงเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 1 ล้านบาท และลุ้นรับสิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันโค้ดดิ้งเวทีระดับนานาชาติอย่าง Seoul International Invention Fair 2024 (SIIF 2024) ณ สาธารณรัฐเกาหลี
ขณะที่กิจกรรม Coding Roadshow จัดขึ้นสำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไปที่สนใจ ซึ่งภายในกิจกรรมมีทั้งนิทรรศการและกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโค้ดดิ้ง รวมถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลจากกูรูที่จะมามอบความรู้ แลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์ อัปเดตเทรนด์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนการพัฒนาต่อยอดอาชีพด้านโค้ดดิ้งผ่านเวทีเสวนาและการบรรยายพิเศษตลอด 2 วัน ส่วนกิจกรรม Coding War
เป็นการเปิดพื้นที่ให้ครูและนักเรียนจากโรงเรียนที่สนใจและส่งใบสมัครเข้าร่วมแข่งขันนำเสนอผลงานและคัดเลือก
สู่การเป็น 1 ใน 100 ทีมเข้าร่วมการแข่งขัน Coding War รอบ Final
ด้าน นายอภิชาติ กล่าวว่า ในนามของพี่น้องชาวสงขลา ผมมีความยินดีอย่างยิ่งที่ ดีป้า ได้เลือกจังหวัดสงขลา
ในการจัดกิจกรรม Coding Bootcamp และ Coding Roadshow ภายใต้โครงการ Coding for Better Life ในครั้งนี้ และต้องขอบคุณ ดีป้า ภายใต้การนำของ ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ ได้เล็งเห็นความสำคัญของ
การส่งเสริมสนับสนุน การวางรากฐานการพัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งครอบคลุมถึงการพัฒนาความรู้ ทักษะ องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่ที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ผ่านการเรียนรู้และพัฒนาทักษะในลักษณะของ สหวิทยากร (Interdisciplinary) พร้อมทั้งเล็งเห็นความสำคัญของการบ่มเพาะเด็ก และเยาวชนให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคสังคม เศรษฐกิจดิจิทัล ผ่านการส่งเสริมทักษะด้าน Coding ที่เป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 ซึ่งหลายประเทศกำหนดให้เป็นวิชาบังคับในหลักสูตรการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา การจัดกิจกรรมนี้จึงเป็นการขยายโอกาสในการเรียนรู้ทักษะด้าน Coding ให้กับครู นักเรียน ตลอดจนผู้ปกครอง ประชาชนผู้สนใจ ให้เข้าถึง และเข้าใจว่าการเรียน Coding ของบุตรหลานของท่านในวันนี้ จะสามารถสร้างโอกาสและต่อยอด พัฒนา นำไปสู่เส้นทางอาชีพใน
ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างไร นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ ประชาชนผู้สนใจได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาทักษะดิจิทัลที่จำเป็น
ต่อสายอาชีพในยุคอนาคตอันใกล้ไปพร้อม ๆ กัน
นายอภิชาติ กล่าวต่อว่า การจัดกิจกรรมนี้จึงเป็นการขยายโอกาสในการเรียนรู้ทักษะด้าน Coding ให้กับครู นักเรียน ตลอดจนผู้ปกครอง ประชาชนผู้สนใจ โดยเฉพาะคณาจารย์และเหล่านักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม Coding Bootcamp
จะได้ใช้โอกาสนี้ในการยกระดับความรู้ด้าน Coding ของตนเอง และค้นหาศักยภาพของตนเองที่จะชิงความเป็น 1 ใน 10 ทีม ตัวแทน เพื่อเข้าร่วมแข่งขัน Coding War ในระดับประเทศต่อไป และผมขอส่งกำลังใจให้คณาจารย์ น้องๆ นักเรียน ตลอดจน
ขออำนวยพรให้การดำเนินกิจกรรมครั้งนี้ บรรลุดังวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ต่อไป
สำหรับกิจกรรม ภายใต้โครงการ “Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย” ในครั้งถัดไป
เป็นกิจกรรมบ่มเพาะความรู้เข้มข้น ซึ่งจะจัดขึ้นวันที่ 30 สิงหาคม – 1 กันยายน 2567 นี้ ณ โรงแรมโฟร์วิงส์ สุขุมวิท 26 กรุงเทพฯ โดยสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือติดตามรายละเอียดและข่าวสารต่าง ๆ ของโครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย ได้ทางwww.depa.or.th, www.codingforbetterlife.com เฟซบุ๊กเพจ depa Thailand และCodingThailand by depa
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น