ซีพีเอฟ ปฏิรูปซัพพลายเชนสู่ดิจิทัลบิ๊กดาต้าในธุรกิจไก่เนื้อ เพิ่มศักยภาพการแข่งขันในเวทีโลก - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ซีพีเอฟ ปฏิรูปซัพพลายเชนสู่ดิจิทัลบิ๊กดาต้าในธุรกิจไก่เนื้อ เพิ่มศักยภาพการแข่งขันในเวทีโลก


กรุงเทพ (14 มิถุนายน 2561) – บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เดินหน้าปฏิรูประบบข้อมูลตลอดห่วงโซ่การผลิตไก่เนื้อ (supply chain) ด้วยระบบดิจิทัลบิ๊กดาต้า (Digital Big Data) เชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและขีดการแข่งขัน ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าและการแข่งขันในเวทีการค้าโลก

ซีพีเอฟ ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือกับบริษัท JDA ซอร์ฟแวร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทซอฟแวร์บริหารซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ระดับโลก เพื่อยกระดับการบริหารซัพพลายเชนของธุรกิจไก่เนื้อตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำของซีพีเอฟ ให้ดำเนินการในห่วงโซ่การผลิตไก่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลอย่างครบวงจร ตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ดียิ่งขึ้น และเป็นบริษัทแรกของกลุ่มธุรกิจอาหารในประเทศไทยที่นำระบบนี้มาใช้

นายสุขสันต์ เจียมใจสว่างฤกษ์ ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) กล่าวว่า การพัฒนาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลักของบริษัทฯ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ การผลิต และการให้บริการลูกค้าและคู่ค้ามาอย่างต่อเนื่อง จนเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและส่งออกไปทั้งประเทศต่างๆ มากกว่า 30 ประเทศทั่วโลก

“ซีพีเอฟ ไม่เคยหยุดนิ่งพัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจและการแข่งขันในเวทีโลก และการนำเทคโนโลยีในระบบดิจิทัล (Digital Supply Chain Transformation) เข้ามาปฏิรูประบบซัพพลายเชนธุรกิจไก่เนื้อ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและขั้นตอนการทำงาน สู่การผลิตอาหารมีคุณภาพและปลอดภัยสูงสุด ตลอดจนส่งมอบให้ลูกค้าถึงมือผู้บริโภคได้ตรงเวลา” นายสุขสันต์กล่าว

นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ สายธุรกิจไก่เนื้อและการค้าระหว่างประเทศ ซีพีเอฟ กล่าวว่า การปรับเปลี่ยนซัพพลายเชนครั้งนี้เพื่อบูรณาการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของธุรกิจไก่เนื้อตั้งแต่ฟาร์ม การวางแผนโรงงาน การตลาดและขาย จนถึงลูกค้า ให้เชื่อมโยงกันอย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันช่วยเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ โดยจัดเน้นการจัดระบบฐานข้อมูลและบริหารจัดการข้อมูลให้สอดคล้องกับแผนการบริหารงานส่วนกลาง ซึ่งจะช่วยให้การตัดสินใจและการวางแผนการขายและปฏิบัติการ (Sales and Operation Planning หรือ S&OP) ทำให้การบริหารซัพพลายเชนคล่องตัวและแม่นยำขึ้นจากระบบการเชื่อมโยงข้อมูลแบบครบวงจร

บริษัทฯ จะเริ่มดำเนินการปฏิรูประบบซัพพลายเชนสำหรับวางแผนธุรกิจไก่เนื้อในประเทศไทยให้เป็นระบบดิจิทัล บิ๊กดาต้า ในปี 2561 และขยายไปยังกิจการในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง“ในฐานะบริษัทผู้ผลิตอาหารชั้นนำระดับโลก ซีพีเอฟ ต้องเห็นข้อมูลชัพพลายเชนในระดับสูงที่สุด เพื่อสร้างจุดแข็งและวางแผนอุปสงค์และอุปทานอย่างถูกต้อง แม่นยำ การปรับใช้กระบวนการวางแผนการขายแบบครบวงจรด้วยระบบดิจิทัล จะทำให้การจัดลำดับงานในระบบได้ดีขึ้นจากการเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกันตลอดทั้งซัพพลายเชน รวมถึงการให้บริการและส่งมอบสินค้า ลดความเสี่ยง ยกระดับการให้บริการลูกค้า สามารถจัดการปัญหาได้ทันท่วงทีและลดการสูญเสีย” นายประสิทธิ์ กล่าว

นายประสิทธิ์ กล่าวย้ำว่า การเปลี่ยนแปลงระบบซัพพลายเชนสู่ระบบดิจิทัลครั้งนี้ของ ซีพีเอฟ จะช่วยยกระดับการให้บริการลูกค้า จัดสรรการจัดเก็บได้อย่างเหมาะสม ยังช่วยการลดความเสี่ยงจากการผลิตที่มีความซับซ้อน ตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างแม่นยำ ลดความสูญเสียของอาหารและเพิ่มปริมาณทรัพยากรที่สามารถนำไปใช้เพิ่มมูลค่าการขายได้มากขึ้น

นายอะมิท บักกา ประธานบริษัทเจดีเอ ประจำทวีปเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า ในสภาวะที่ผู้บริโภคมีความต้องการมากขึ้น ขณะที่กฎระเบียบต่างๆ ล้วนเข้มงวดมากขึ้น ซัพพลายเชนจึงมีความซับซ้อนมากขึ้นด้วยการประมวลผลที่ซับซ้อนกว่าเดิม หากองค์กรต้องการสร้างศักยภาพในการแข่งขันและมีความคล่องตัว องค์กรจำเป็นจะต้องนำเทคโนโลยีซัพพลายเชนที่ทันสมัยเข้ามาใช้และเร่งการเปลี่ยนแปลงระบบดิจิทัล ด้วยโซลูชันส์ของเจดีเอ ซีพีเอฟ จะสามารถกำกับดูแลและติดตามทุกจุดสัมผัสตลอดกระบวนการได้อย่างคล่องตัว มีประสิทธิภาพและสามารถควบคุมได้ ในขณะที่ยังดำรงความน่าเชื่อถือ พร้อมเป็นพันธมิตรที่มีความเสี่ยงต่ำสำหรับสำหรับลูกค้า การใช้ดิจิทัลซัพพลายเชนที่ทั้งคล่องตัวและโปร่งใสตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ไม่เพียงแต่ช่วยให้ ซีพีเอฟ สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ดีขึ้นเท่านั้น แต่จะสามารถนำเสนออาหารที่สดใหม่และปลอดภัยที่สุดไปสู่มือผู้บริโภคได้อีกด้วย./








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad