สำนักงานโครงการการค้าสีเขียวไต้หวัน จัดแสดงซุ้มผลิตภัณฑ์สีเขียว นำเสนอเทคโนโลยีเพื่อการสร้างเมืองอัจฉริยะตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ในงาน Taiwan Expo 2018 - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2561

สำนักงานโครงการการค้าสีเขียวไต้หวัน จัดแสดงซุ้มผลิตภัณฑ์สีเขียว นำเสนอเทคโนโลยีเพื่อการสร้างเมืองอัจฉริยะตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ในงาน Taiwan Expo 2018



กรุงเทพฯ 30 สิงหาคม 2561 - สำนักงานโครงการการค้าสีเขียว (Green Trade Project Office : GTPO) ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเศรษฐกิจไต้หวัน กำหนดจัดแสดง ซุ้มผลิตภัณฑ์สีเขียวไต้หวัน (Taiwan Green Products Pavilion) ในงาน Taiwan Expo 2018 ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม – 1 กันยายน 2561 ณ งานศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ ภายในซุ้มมีการจัดแสดงสินค้าและเทคโนโลยีพลังงานสีเขียวของไต้หวันซึ่งครอบคลุมเทคโนโลยีหลัก 3 ประเภท ได้แก่ 1) โซลูชั่นเมืองอัจฉริยะและอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) เพื่อตอบโจทย์นโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” 2) วัสดุก่อสร้างสีเขียวเพื่อการสร้างเมืองสีเขียว 3) เทคโนโลยีการประหยัดพลังงานและการป้องกันสิ่งแวดล้อม 

เนื่องด้วยประเทศไทยเป็นตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคอาเซียน และคาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโตที่ยั่งยืนในช่วงปี พ.ศ. 2561-2562 จากการขับเคลื่อนนโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” ของภาครัฐบาล รวมถึงการพัฒนาสิบอุตสาหกรรม S-Curve นอกจากนี้ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเขตร้อนที่มีแสงแดดตลอดปี จึงมีการส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานหมุนเวียนต้นทุนต่ำและเป็นพลังงานสะอาด ดังนั้น อุตสาหกรรมพลังงานสีเขียวจึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าประสงค์ที่ระบุไว้ในนโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0”


อุตสาหกรรมพลังงานสีเขียวของไต้หวันเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่รัฐบาลไต้หวันให้การสนับสนุน ในแผน “5+2 Industrial Innovation Plan” โดยแผนนี้เป็นการพัฒนาและการส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียวในไต้หวันที่มีรากฐานแข็งแกร่ง นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ของไต้หวันยังมีคุณภาพสูงและมีราคาที่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ เมื่อประเทศไทยบูรณาการบริการประสิทธิภาพสูงจากไต้หวัน ย่อมสามารถสร้างเมืองอัจฉริยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นได้


มร.เฟลิกซ์ เอช. แอล. ชิว ผู้อำนวยการบริหาร สำนักงานโครงการการค้าสีเขียว (GTPO) กระทรวงเศรษฐกิจไต้หวัน อธิบายว่า “บริษัทที่ดำเนินธุรกิจประเภทต่าง ๆ ในไต้หวัน นับตั้งแต่อุตสาหกรรมการผลิตไปจนถึงอุตสาหกรรมไฮเทค ต่างมีการลงทุนด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การประหยัดพลังงาน และการวิจัยเพื่อสิ่งแวดล้อมด้านอื่น ๆ อย่างมาก สำหรับด้านวัสดุสีเขียวและการรีไซเคิลนั้น ไต้หวันมีการรีไซเคิลสิ่งทอจาก โพลีเอสเตอร์มากเป็นอันดับ 1 ของโลก และถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการรีไซเคิลวัสดุสูงสุดของโลกที่ 55.2%* โดยในปี 2017 ไต้หวันยังเป็นผู้ผลิตรายใหญ่อันดับ 2 ของโลกในด้านเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์** และหลอดแอลอีดี*** ในขณะเดียวกัน ไต้หวันยังมีการผลิตจักรยานเป็นสินค้าส่งออกที่มีปริมาณสูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศ**** โดยไต้หวันมีบริษัทผู้ผลิตวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า 8,000 ราย ด้วยมูลค่าการส่งออกแต่ละปีราว 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยรัฐบาลไต้หวันยังคงมุ่งมั่นแสวงหาโซลูชั่นที่ยั่งยืน และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันให้แก่บริษัทผู้ผลิตนวัตกรรมระดับโลกในไต้หวัน วิสัยทัศน์ของเราคือการส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียวให้เป็นตัวขับเคลื่อนหลักเพื่อสร้างการเติบโตด้านการส่งออก และเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของเราเป็นที่ยอมรับในฐานะโซลูชั่นบุกเบิกชั้นนำของโลก เพื่อนำไปสู่การสร้างโลกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชีวิตของผู้คนที่มีความสุขมากยิ่งขึ้นในทุก ๆ ประเทศ”


ซุ้มผลิตภัณฑ์สีเขียวของไต้หวันจะจัดแสดงผลิตภัณฑ์จากบริษัทชั้นนำของไต้หวัน 12 บริษัทซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของประเทศไทย และเพื่อเพิ่มโอกาสการขยายธุรกิจสีเขียวตามนโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” ซึ่งครอบคลุมความต้องการหลักทั้ง 3 ข้อ ได้แก่

1) โซลูชั่นเมืองอัจฉริยะและอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) เพื่อตอบโจทย์นโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” โดยการจัดแสดงสินค้าหลอดไฟแอลอีดีและโคมไฟสำหรับใช้ในถนน โคมไฟสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม และการรวบรวมสถานีชาร์จไฟกับการบูรณาการ, เซ็นเซอร์ตรวจสอบสภาพอากาศของ TAIWAN A TEAM, หลังคาและแผงโซล่าเซลล์แสงอาทิตย์ประเภทพื้นผิวคริสตัลของบริษัท TSEC, โมดูลพลังงานแสงอาทิตย์แบบ CIGS ของบริษัท ETERBRIGHT, และระบบควบคุมแสงอัจฉริยะของบริษัท LINKCOM

2) วัสดุก่อสร้างสีเขียวสำหรับเมืองสีเขียว นำเสนอผลิตภัณฑ์น้ำยาเคลือบสูตรน้ำซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของบริษัท ABERDEEN, ไม้อัดคุณภาพสูงจากบริษัท Evergreen Timber, และสีสะท้อนพลังงานแสงอาทิตย์ N.POLE ของ Global international Energy Saving

3) เทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยการนำเสนอกระจกอัจฉริยะที่เปลี่ยนจากกระจกใสเป็นกระจกฝ้าและทึบแสงได้ซึ่งควบคุมโดยระบบไฟฟ้าของบริษัท SD OPTRONICS, กระจกประเภทฉนวนกันความร้อนแบบประหยัดพลังงานของบริษัท GENMOOR TECHNOLOGY, การบูรณาการบริการวิศวกรรมแบบประหยัดพลังงานของบริษัท CHENG LONG ENERGY, และการวางแผนเกี่ยวกับการก่อสร้างโรงเผาขยะและโรงบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่ การบริการด้านวิศวกรรมก่อสร้างแบบเหมารวมทั้งหมดและอื่น ๆ ของบริษัท ECOVE

โครงการส่งเสริมผลิตภัณฑ์สีเขียวประจำปีนี้ยังคงดำเนินการไปอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการเจาะตลาดในกลุ่มประเทศอาเซียน อินเดีย และอื่น ๆ โดยประเทศไทยนับเป็นการจัด “Taiwan Expo 2018” ครั้งที่ 4 ซึ่งงานแสดงสินค้าดังกล่าวจะจัดขึ้นที่มาเลเซียช่วงเดือนตุลาคมเป็นจุดหมายสุดท้ายของปีนี้ ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถติดต่อเข้าร่วม “Green Customer Exploration” กับทางสำนักงานโครงการการค้าสีเขียวเพื่อแสวงหาโอกาสทางธุรกิจเพื่อโลกที่ดีขึ้นร่วมกัน




หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.greentrade.org.tw หรือติดต่อผ่านทางหมายเลขโทรศัพท์ +662-651-4470, +8862-2725-5200(ไต้หวัน) และอีเมล info@greentrade.org.tw




หมายเหตุ

* แหล่งข้อมูล: eunomia

** แหล่งข้อมูล: IEK 2018

*** แหล่งข้อมูล: PIDA 2018

**** แหล่งข้อมูล: IDB 2017




###





เกี่ยวกับสำนักงานโครงการการค้าสีเขียว (Green Trade Project Office : GTPO) ของไต้หวัน

สำนักงานโครงการการค้าสีเขียว (Green Trade Project Office : GTPO) ของไต้หวัน ก่อตั้งขึ้นเป็น ครั้งแรกภายใต้การดูแลของกรมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงการเศรษฐกิจไต้หวัน เป็นแหล่งรวบรวมความคิดและจุดชนวน เพื่อช่วยร่างนโยบายต่างๆ ในการสนับสนุนการพัฒนาการค้าตลาดกรีนของไต้หวัน เราจะทำงานอย่างต่อเนื่องร่วมกับบริษัทต่างๆ ซึ่งจัดหา ผลิต และออกแบบสินค้า / เทคโนโลยีสีเขียว เพื่อช่วยพัฒนาการตลาดระหว่างประเทศ




แนวโน้มอุตสาหกรรมสีเขียว

ข้อตกลงด้านสภาพภูมิอากาศกรุงปารีสอย่างเป็นทางการ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 สนธิสัญญาระหว่างประเทศนี้ เป็นการขยายถึงพิธีสารเกียวโต ซึ่งออกพระราชบัญญัติในปี ค.ศ. 1992 มีหลายประเทศและบริษัทต่างๆทั่วโลกต่างให้คำมั่นสัญญาในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หลังจากนั้นเป็นต้นมา อุตสาหกรรมสีเขียวหลายแห่งตะหนักถึงความสำคัญของการทำเครื่องหมายสีเขียว และนโยบายเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน บริษัทต่างๆในหลากหลายสาขา ทั้งผู้ผลิตจนถึงอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีสูงได้ มีการลงทุนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน และการค้นคว้าวิจัยเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสีเขียว ตัวอย่างเช่น ผู้นำทางด้านเทคโนโลยีอย่างบริษัท Apple มีการใช้แพ็กเกจจิ้งที่ผลิตจากวัตถุดิบรีไซเคิล 100% และใช้พลังงานทดแทนในการผลิตสินค้า บริษัทอุปกรณ์กีฬาอย่าง Adidas มีการใช้ขยะจากท้องทะเลในการผลิตรองเท้าบางรุ่น และบริษัทอีเลคทรอนิคส์อย่าง ฟิลลิปส์ (Philips) มีการให้เช่าอุปกรณ์แสงสว่างแทนการซื้อขายโดยนำแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนไปปฏิบัติจริง โดยไต้หวันเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าทางด้านเทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศและการสื่อสาร เซลล์แสงอาทิตย์ หลอดไฟแอลอีดี และจักรยาน เรายังคงมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องในการคิดค้นวิธีการใหม่ๆ ซึ่งช่วยให้การดำเนินชีวิตง่ายขึ้น และทำให้ธุรกิจของเราแข่งขันกับผู้อื่นได้














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad