กระทรวงวิทย์ฯ บุกสยามสแควร์! จัดงานสุดยิ่งใหญ่อลังการ “ขับเคลื่อน THAILAND 4.0 ด้วย วทน.” ขนทัพนิทรรศการ โชว์ผล งานนำไทยสู่อนาคต - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

กระทรวงวิทย์ฯ บุกสยามสแควร์! จัดงานสุดยิ่งใหญ่อลังการ “ขับเคลื่อน THAILAND 4.0 ด้วย วทน.” ขนทัพนิทรรศการ โชว์ผล งานนำไทยสู่อนาคต

กระทรวงวิทย์ฯ บุกสยามสแควร์! จัดงานสุดยิ่งใหญ่อลังการ

ขับเคลื่อน THAILAND 4.0 ด้วย วทน.” ขนทัพนิทรรศการ โชว์ผล
งานนำไทยสู่อนาคต


“สมคิด” มั่นใจ ปี 61 สัดส่วนเงินลงทุนวิจัยและพัฒนาพุ่งโตทะลุ 1%
23 พฤศจิกายน 2561 สยามสแควร์ กรุงเทพฯ / เริ่มแล้ว!! งานสุดอลังการ ขับเคลื่อน THAILAND 4.0 ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม : THAILAND 4.0 IN THE MAKING” ระหว่างวันที่ 23-25 พฤศจิกายน 2561 เพื่อแสดงผลงานในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 อย่างเป็นรูปธรรมด้วยวิทยาศาสตร์ฯ ใน 4 ด้าน สร้างคน  แก้จน  เสริมแกร่ง  สู่ภูมิภาคหวังกระตุ้นและสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจระยะสั้นและระยะยาว พร้อมเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่  21 อย่างเต็มภาคภูมิ  ตอกย้ำจุดยืนรัฐบาลใช้นวัตกรรมพลิกโฉมประเทศ ตอบโจทย์ไทยแลนด์ 4.0


ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์  รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานพร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษ ได้กล่าวว่ารัฐบาลได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการนำเอาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาใช้เพื่อพัฒนาประเทศ พาชาติก้าวข้ามกับดักกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางสู่ประเทศรายได้สูง โดยใช้ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ เพื่อนำไทยสู่ประเทศพัฒนาแล้ว


หากสังเกตจะพบว่าในประเทศที่มีรายได้สูงนั้น ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีการพัฒนาในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ญี่ปุ่น อิสราเอล หรือแม้กระทั่งเกาหลีใต้ ที่เมื่อก่อนเคยอยู่ในระดับเดียวกับประเทศของเรา ก็พัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และล่าสุด ประเทศจีน ที่เคยถูกมองว่าเป็นประเทศที่ผลิตสินค้าราคาถูก ไม่มีคุณภาพ ปัจจุบันกลายเป็นประเทศผู้นำทางเทคโนโลยีไปแล้ว ประเทศไทยก็จะต้องก้าวไปในทิศทางเดียวกันกับประเทศเหล่านี้ ซึ่งเรากำลังเดินก้าวไปข้างหน้า เห็นได้จากตัวชี้วัดสำคัญ คือสัดส่วนการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาของไทยที่เติบโตมาอย่างต่อเนื่อง เปรียบเทียบให้เห็นภาพ คือช่วงระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปี 2544-2554 เพิ่มขึ้น เพียง 0.1% จาก 0.26% เป็น 0.37% แต่ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา คือ ปี 2556-2559 มีการเติบโต เพิ่มขึ้น 0.4% จาก 0.47% ในปี 2556 เป็น 0.78% ในปี 2559 คิดเป็นเม็ดเงินลงทุน 113,527 ล้านบาท และตั้งเป้าไว้ว่าจะทะลุ 1% ในปี 2561


รองนายกฯ กล่าวย้ำว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก และได้มอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นผู้ขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าว โดยต้องทำให้คนไทยทุกคนเข้าใจและเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ว่าจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเด็กไทยจะต้องรู้ว่าวิทยาศาสตร์สำคัญกับชีวิตพวกเค้า เห็นความจำเป็นในการเรียน STEM เพราะ STEM จะเป็นพื้นฐานของอาชีพในอนาคต คนรุ่นใหม่จะต้องเข้าใจว่าวิทยาศาสตร์เป็นหัวใจสำคัญในการทำธุรกิจ รวมทั้งจะต้องมีทักษะฝีมือในการลงมือทำ เพราะการทำธุรกิจในปัจจุบันนั้น แข่งขันกันที่ความคิดและการใช้ทักษะและเทคโนโลยีในการทำธุรกิจ เป็นต้น

นอกจากการสร้างความสามารถในการแข่งขันแล้ว วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้นจะต้องช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของคนในสังคมทุกระดับและทุกพื้นที่ในประเทศ ให้มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งกลุ่มพี่น้องเกษตรกรและคนทั่วไปในสังคม โดยจะต้องนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีลงไปช่วยเหลือคนในทุกระดับ และทำให้เห็นว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่ในชีวิตประจำวันของพวกเค้า และจะสร้างประโยชน์กับชีวิตพวกเค้าได้ เช่น เกษตรกรจะต้องนำเทคโนโลยีไปใช้ เพื่อเพิ่มผลผลิต คาดการณ์ราคาผลผลิตทางการเกษตรและลดต้นทุนการผลิตได้
 
จากโจทย์ทั้ง 2 เรื่องที่ผมได้กล่าวมานี้ รัฐบาลจึงได้ดำเนินการขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวผ่านกระทรวงวิทยาศาสตร์ใน 13 ภารกิจสำคัญ ด้วยการ
สร้างกลุ่มนักรับเศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่า Startup และนักประดิษฐ์ (Maker) ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยนโยบายสร้างประเทศสู่การเป็น Startup Nation และ Makers Nation
เตรียมคนไทยให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ด้วยการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เยาวชนเพื่อให้เห็นภาพของอาชีพในอนาคต (Career for the Future)
การพัฒนาเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) เพื่อเป็นโมเดลเศรษฐกิจใหม่ที่ประเทศไทยมีศักยภาพและคนทั้งประเทศได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึง
การพัฒนาเทคโนโลยีรองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย การสร้างระบบ Big Data และ AI การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ขนาดใหญ่ เช่น ดาวเทียม THEOS เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนชุดใหม่ เป็นต้น และการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียบเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) เพื่อเป็นรากฐานสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งจะช่วยยกระดับการพัฒนาของประเทศไทยในที่สุด
การยกระดับความเป็นอยู่ของคนในประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำ และการกระจาย ความเจริญสู่พื้นที่ต่างๆ ด้วยการนำวิทยาศาสตร์มาสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้และลดรายจ่ายให้กับชุมชนในพื้นที่ทั่วประเทศ การพัฒนา Smart Farmer ด้วยระบบ IoT การพัฒนาย่านนวัตกรรม (Innovation Districts) 16 แห่งทั่วประเทศไทย เช่น ย่าน CyberTech ที่ปุณณวิถี ย่านนวัตกรรมการแพทย์ที่โยธี เป็นต้น การพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค (Regional Science Park) และการพัฒนาเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis)


ในวันนี้ ทางกระทรวงวิทยาศาสตร์ได้นำผลงานมาแสดงให้ทุกคนเห็นว่าประเทศไทยจะเดินไปข้างหน้าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อย่างแน่นอน  ผมเชื่อว่าการจัดงานในครั้งนี้จะเป็นเวทีเผยแพร่นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในวงกว้าง เกิดการพัฒนาภูมิปัญญาโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อให้เกิดนวัตกรรมที่สามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างแท้จริง และเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมตรงกับความต้องการของผู้บริโภค สามารถสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สร้างเงิน สร้างงาน สร้างคุณภาพชีวิตของประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่สูงขึ้น

ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวเพิ่มเติมว่าการจัดงานในครั้งนี้เพื่อแสดงผลงานในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม โดยนำเสนอนิทรรศการเทิดพระเกียรติพระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร โดยการจัดแสดงผลงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบด้วย 4  โซนนิทรรศการหลัก ได้แก่ โซนวิทย์สร้างคน โซนวิทย์แก้จน โซนวิทย์เสริมแกร่ง และโซนวิทย์สู่ภูมิภาค ซึ่งพื้นที่ 4 โซนนี้ ได้นำเสนอผลงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 13 ด้านสำคัญ และไฮไลท์ที่ไม่ควรพลาด! ได้แก่ TREE of WISDOM ต้นไม้ interactive แห่งอนาคต ครั้งแรกกับการเชื่อมต่อความคิดและอารมณ์ให้กลายเป็นภาพและสีที่จับต้องได้ ซึ่งเชื่อม Neuro Sensing คลื่นสมองออกมาแสดงผลเป็นการเปลี่ยนสีสันของต้นไม้ LED ขนาดใหญ่ สุดตระการตา ทำให้บริเวณลาน slope SQ1, FreakLab ผลงาน interactive ที่ผสาน Science & Arts และ digital technology ได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ ซึ่งจะกระจายอยู่ทั่วทั้งงาน, INSECT WORLD โลกแห่งแมลง อยู่บริเวณสวน Park @Siam, Thai Space Consortium: โครงการความร่วมมือ “ดาวเทียมไทย” สู่ห้วงอวกาศ บริเวณลาน Hard Rock Café และ Robot Contest โดยสมาคม TRS บริเวณสวน Park @Siam ซึ่งนอกจากผลงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ทั้ง 13 กลุ่มแล้วนั้น ยังมีการนำเสนอผลงานของหน่วยงานพันธมิตร สถาบันการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษาในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และบริษัทชั้นนำของประเทศอีกมากมายที่นำผลงานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาแสดงในงานครั้งนี้ รวมทั้งมีกิจกรรมบันเทิงอีกมากมายตลอดการจัดงาน อาทิ การประชันแร็พของสองแร็พเปอร์ชื่อดัง SIRPOPPA และ NANA, มินิคอนเสิร์ตจากเก้า จิรายุและวงแม่ยายยิ้ม, การพูดคุยถึงไลฟ์สไตล์ในยุค 4.0 กับสองนักแสดงดัง สน-ยุกต์ ส่งไพศาลและ เอสเธอร์ สุปรีย์ลีลา, การแสดง Science Show, การแสดงดนตรีจากนักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นนำ, Street Show เป็นต้น  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad