เจรจาไฮสปีด3สนามบิน “กลุ่มซี.พี.” ขอความร่วมมือห้ามเปิดเผยข้อมูลลุยถกต่อ 1 ก.พ.นี้ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2562

เจรจาไฮสปีด3สนามบิน “กลุ่มซี.พี.” ขอความร่วมมือห้ามเปิดเผยข้อมูลลุยถกต่อ 1 ก.พ.นี้


เจรจาไฮสปีด3สนามบิน “กลุ่มซี.พี.” ขอความร่วมมือห้ามเปิดเผยข้อมูลลุยถกต่อ 1 ก.พ.นี้

นายวร​วุฒิ​ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า หลังจากที่คณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. เงินลงทุน 224,544 ล้านบาท ได้พิจารณาให้กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร หรือกลุ่มซี.พี.ในฐานะผู้เสนอให้รัฐอุดหนุนน้อยที่สุด 117,227 ล้านบาท ต่ำกว่ากรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุม้ติไว้ 119,425 ล้านบาท อยู่ที่ 2,198 ล้านบาท ผ่านการพิจารณาซองที่ 4 ข้อเสนออื่นๆ ที่เพิ่มประสิทธิภาพของโครงการไปแล้วนั้น
วันที่ 28 ม.ค. คณะกรรมการคัดเลือกได้เชิญกลุ่ม ซี.พี. เพื่อเริ่มกระบวนการเจรจาก่อนลงนามในสัญญา โดยเป็นการเจรจาครั้งแรก ซึ่งได้นำข้อเสนอที่ ซี.พี.ส่งเพิ่มเติมมาเมื่อวันที่ 9 ม.ค.ที่ผ่านมา เป็นเอกสารจำนวน 200 หน้า 108 ประเด็นมาเป็นประเด็นการเจรจาหลัก
แต่อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถเปิดเผยกรอบการเจรจาและรายละเอียดที่พูดคุยในวันนี้ได้ เนื่องจากมีผลกับการเจรจาต่อรองกัน และเกี่ยวพันไปกับเรื่องอื่นๆ ด้วย บอกได้แค่ว่า การเจรจาเป็นไปด้วยดี มีประเด็นที่หารือกัน 30-40 ประเด็น และได้ยกประเด็นที่มีความยากขึ้นมาคุยกันก่อน เรื่องง่ายๆ เอาไว้เจรจาในภายหลัง
เบื้องต้นคณะกรรมการคัดเลือกจะมีการประชุมกันในวันที่ 1 ก.พ.นี้ และคาดว่าในช่วงบ่ายวันเดียวกันจะเชิญกลุ่ม ซี.พี.เข้ามาเจรจาครั้งที่ 2 เป็นลำดับถัดไป ส่วนกรอบการเจรจามีเงื่อนไขอีกมาก ต้องใช้เวลาคุยกัน แต่คงไม่คุยหลายครั้งแบบเดียวกับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนแน่นอน
“ส่วนตัวไม่มีเรื่องหนักใจอะไรกับโครงการนี้ ต้องคุยกันให้สุดทาง เพียงแต่ว่าการเจรจาของรัฐและเอกชนต้องใช้เวลานานอยู่แล้ว รัฐเองก็ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบดูปัจจัยต่างๆ ให้มากที่สุดอยู่แล้ว ส่วนเอกชนก็ต้องสู้เพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดขององค์กร”
รักษาการผู้ว่าการรถไฟฯ กล่าวต่อว่า กรอบเวลาของโครงการขณะนี้ ขอให้ยึดตามผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (บอร์ดอีอีซี) เมื่อวันที่ 23 ม.ค.ที่ผ่านมาไปก่อน คาดว่าจะเจรจาจนได้ผลสรุปในช่วงกลางเดือน ก.พ. จากนั้นจะส่งร่างสัญญาให้อัยการสูงสุดตรวจสอบ ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ และรายงานผลการเจรจาให้บอร์ดอีอีซีได้ภายในเดือน ก.พ.เช่นกัน ก่อนที่จะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบ และลงนามในสัญญาได้ภายในเดือน มี.ค.นี้
ส่วนความคืบหน้าการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ขณะนี้กำลังจะส่งรายงานให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) พิจารณาให้ความเห็นชอบ คาดว่าจะส่งได้ในเดือน ก.พ.นี้ ซึ่งถือเป็นรอบสุดท้ายแล้ว

ที่มา : prachachat.net

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad