ผู้ส่งออกข้าวประเมินส่งออกข้าวปีนี้ 9.5 ล้านตัน หลังตลาดหลักของไทยลดปริมาณนำเข้าข้าว ประกอบกับราคายังสูงกว่าคู่แข่ง - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2562

ผู้ส่งออกข้าวประเมินส่งออกข้าวปีนี้ 9.5 ล้านตัน หลังตลาดหลักของไทยลดปริมาณนำเข้าข้าว ประกอบกับราคายังสูงกว่าคู่แข่ง

ผู้ส่งออกข้าวประเมินส่งออกข้าวปีนี้ 9.5 ล้านตัน หลังตลาดหลักของไทยลดปริมาณนำเข้าข้าว ประกอบกับราคายังสูงกว่าคู่แข่ง

ผู้ส่งออกข้าวประเมินส่งออกข้าวปีนี้ 9.5 ล้านตัน หลังตลาดหลักของไทยลดปริมาณการนำเข้าข้าว ประกอบกับราคาข้าวไทยยังสูงกว่าคู่แข่ง-ค่าเงินบาทแข็งค่ากว่า ทำให้ขีดความสามารถของไทยลดลง ส่วนส่งออกข้าวปี 61 ไทยยังคงอันดับ 2 ส่งออกได้ในปริมาณ 11.9 ล้านตัน รองจากอินเดียที่ส่งออกได้ในปริมาณ 11.97 ล้านตัน
นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า การส่งออกข้าวปีนี้ยังไม่สดใส ทำให้การแข่งขันของผู้ประกอบการต้องมีความระมัดระวังในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะขีดความสามารถด้านการแข่งขันที่ไทยจะสู้กับคู่แข่งไม่ได้โดยการส่งออกปี 2561 ไทยส่งออกเป็นอันดับ 2 รองจากอินเดีย โดยมีปริมาณ 11.09 ล้านตัน มูลค่า 180,270 ล้านบาท หรือ 5,619 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่อินเดียส่งออกอยู่ที่ 11.97 ล้านตันส่วนในปีนี้สมาคมคาดการณ์ว่าการส่งออกปีนี้สมาคมคาดการณ์ไว้ที่ 9.5 ล้านตันลด เพราะหลายตลาดสำคัญของไทยมีปริมาณการนำเข้าลดลง ไม่ว่าจะเป็นเบนิน เคนยา ญี่ปุ่น โดยข้าวหอมมะลิถือว่าลดลงทุกประเทศ เพราะปีที่ผ่านมาราคาข้าวหอมไทยสูงมากถ้าเทียบกับปี 2560 เฉลี่ยอยู่ที่ 700 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เทียบกับปี 2561 ราคาข้าวหอมมะลิขยับขึ้นมาอยู่ที่ 1,100 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกข้าวหอมมะลิลดลง ไม่ว่าจะเป็นตลาด สหรัฐ จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ แคนาดา ที่มีการหันไปนำเข้าข้าวหอมมะลิจากประเทศอื่นแทน ส่วนข้าวเหนียวและปลายข้าว มีปริมาณลดลงเช่นกัน แต่เป็นการลดลงอย่างมีนัยยะโดยที่ลดลงคือปลายข้าวเหนียว ส่วนข้าวเหนียวส่วนใหญ่จะเน้นการบริโภคภายในประเทศ
สำหรับการคาดการณ์ผลผลิตทั่วโลกปี 2562 น่าจะมีผลผลิตอยู่ที่ 491.1 ล้านตัน ลดลงจากปี 2561 ที่มีปริมาณ 495 ล้านตัน ส่วนไทยน่าจะมีผลผลิตอยู่ที่ 20.7 ล้านตันข้าวสาร

ด้านนายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวภาพรวมการส่งออกข้าวในปีนี้ว่าค่อนข้างเหนื่อยกว่าปีที่ผ่านมา เพราะไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งลดลงค่อนข้างเยอะ ดังนั้นปีนี้น่าจะส่งออกได้ 9.5 ล้านตัน แม้ว่าผลผลิตจะไม่ลดแต่การส่งออกน่าจะลดลง โดยสมาคมมีการปรับตัวเลขการส่งออกข้าวเกือบทุกชนิด โดยข้าวขาว 5% ปี 2561 ส่งออกปริมาณ 5.9 ล้านตัน ปีนี้ปรับลดลงเหลือ 4.8 ล้านตัน ข้าวนึ่ง จากเดิม 2.7 ล้านตัน เหลือ 2.4 ล้านตัน ข้าวหอมมะลิ จาก 1.6 ล้านตัน เหลือ 1.3 ล้านตัน เป็นต้น สาเหตุหลักๆ เนื่องจากประเทศผู้นำเข้าข้าวมีการสต๊อกข้าวไว้ในปีที่ผ่านมาจำนวนมากแล้ว โดยเฉพาะประเทศในแถบอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นอินโดนีเซีย มาเลเซีย หรือฟิลิปปินส์ ที่มีการซื้อข้าวจากไทยไปเป็นจำนวนมากเพื่อสต๊อกไว้ ดังนั้นในนี้ปีประเทศเหล่านี้จะลดปริมาณการนำเข้าลง
สำหรับปัจจัยลบในปีนี้ ค่าเงินบาทที่แข็งค่ายังคงเป็นปัจจัยลบอยู่ เพราะค่าบาทของไทยแข็งกว่าประเทศคูแข่งสำคัญ ซึ่งส่งผลให้ราคาข้าวไทยแพงขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง นับตั้งแต่ต้นปี 2562 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ประมาณ 2.28% ขณะที่ค่าเงินดองของเวียดนามแข็งค่าขึ้นเพียง 0.05% ค่าเงินรูปีของอินเดีย อ่อนค่าลง 1.88% ดังนั้นหากค่าเงินบาทของไทยยังแข็งค่า อยู่ในระดับ 31.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ยกตัวอย่างเช่นราคาข้าวหอมมะลิเดิมราคาอยู่ที่ 1,200 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ราคาขายจะขยับมาอยู่ที่ 1,800 ดอลาร์สหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น 57% หรือราคาข้าวขาว 5% เดิมราคาอยู่ที่ 400 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ราคาจะขยับมาอยู่ที่ 600 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น 19% ซึ่งทำให้ขีดความสามารถด้านการแข่งขันลดลง
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยลบด้านอื่น เช่น อินเดียมีมาตรการกระตุ้นการส่งออกโดยที่รัฐบาลอุดหนุนเป็นแรงจูงใจให้กับผู้ส่งออกในอัตรา 5% ของมูลค่าส่งออกซึรงทำให้ผู้ส่งออกสามารถกำหนดราคาขายต่ำกว่าประเทศอื่น ในขณะที่ราคาข้าวขาวเวียดนามมีแนวโน้มลดต่ำลง หลังจากที่มีอุปสรรคในการส่งออกไปจีน นอกจากนี้จีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยมีสต๊อกข้าวปริมาณมาก และมีการระบายข้าวเก่าในสต๊อกที่เก็บสำรองไว้ออกมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อุปทานข้าวในตลาดมีมากขึ้น และข้างบางส่วนถูกส่งออกไปยังตลาดแอฟริกา ซึ่งทำให้ไทยสูญเสียส่วนแบ่งตลาดในแอฟริกาไป รวมไปถึงประเทศผู้นำเข้าข้าวมีการปรับนโยบายในการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ เช่นอินโดนีเซียซึ่งจะมีการเลือกตั้งในปีนี้ ทำให้มีแนวโน้มที่จะลดการนำเข้าเนื่องจากปีที่ผ่านมามีการนำเข้าในปริมาณที่มาก หรือฟิลิปปินส์มีการปรับนโยบายนำเข้าข้าว โดยเอกชนมีบทบาทในการนำเข้ามากขึ้น ซึ่งส่งผลให้การแข่งขันในตลาดมากขึ้น
ส่วนปัจจัยบวก เช่น อินเดีย อยู่ในช่วงที่รัฐบาลมีนโยบายซื้อข้าวจากเกษตรกรในราคาที่สูงกว่าทุกปีเพื่อเก็บสต๊อกไว้ทำให้มีข้าวออกสู่ตลาดน้อยลง ส่งผลให้ผู้ส่งออกประสบปัญหาในการจัดหาสินค้าซึ่งทำให้การส่งออกข้าวนึ่งมีแนวโน้มลดลง หรือการขายข้าวเป็นจีทูจี ที่จะมีการเจรจาเพิ่มในแสนที่ 8 ในปีนี้ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad