กรมพัฒน์ฯ ลงพื้นที่ 3 ภูมิภาค ช่วยยกระดับผ้าไหม พร้อมเชื่อมโยงแหล่งผลิตเป็นที่เที่ยว
- News
- 29 พ.ค. 2562
- 149 เข้าดู
กรมพัฒนาธุรกิจการค้าลงพื้นที่ 3 ภูมิภาค ช่วยผู้ประกอบการยกระดับผ้าไหมไทย ทั้งการเพิ่มความหลากหลายของสินค้า ผลักดันนำนวัตกรรมมาใช้ในการผลิต พร้อมช่วยสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ผลิต ผู้ซื้อ นักออกแบบ และเชื่อมโยงด้านการตลาดผลักดันให้แหล่งผลิตสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยว
นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้นางลลิดา จิวะนันทประวัติ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าลงพื้นที่ 3 เส้นทาง ประกอบด้วย 1.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จ.อุดรธานี จ.กาฬสินธุ์ จ.ขอนแก่น 2.ภาคใต้ ได้แก่ จ.ชุมพร จ.สุราษฎร์ธานี จ.นครศรีธรรมราช และ 3.ภาคเหนือ ได้แก่ จ.แพร่ จ.ลำพูน จ.เชียงใหม่ เพื่อช่วยพัฒนาผู้ประกอบการผ้าไหม เริ่มตั้งแต่การอบรมบ่มเพาะเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์ การเพิ่มความหลากหลายของสินค้า การนำนวัตกรรมมาใช้ในการผลิต การเพิ่มช่องทางการค้าและการตลาด การสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิต ผู้จัดหา นักออกแบบ และผู้ซื้อ การจัดกิจกรรมส่งเสริมภาพลักษณ์ผ้าไหมไทย และการเชื่อมโยงแหล่งผลิตผ้าไหมไทยสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง
“เป้าหมายในการลงพื้นที่ ต้องการยกระดับผู้ประกอบการผ้าไหมของไทยให้มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขันได้ในเชิงธุรกิจ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการผลิต เทคนิคเฉพาะ และอัตลักษณ์ผ้าไหมของแต่ละชุมชนเพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้มีความสวยงามและทนทาน และเชื่อมโยงเครือข่ายและการตลาดขนานไปตามเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ”นายวุฒิไกรกล่าว
นายวุฒิไกรกล่าวว่า ผ้าไหมไทย ได้รับการขนานนามว่าเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของประเทศ มีความสวยงาม มีความอ่อนนุ่ม เส้นไหมมีความเลื่อมเงางามโดยธรรมชาติ ใส่แล้วภูมิฐาน และยังมีคุณสมบัติพิเศษของผ้าไหม เมื่ออากาศร้อน ผ้าไหมจะช่วยคลายร้อน และเมื่ออากาศหนาว ผ้าไหมบางๆ กลับช่วยให้อุ่นสบาย ซึ่งจากคุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสะท้อนถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นของผ้าไหมไทย นำมาซึ่งความภาคภูมิใจเมื่อสวมใส่หรือใช้งาน ทำให้เกิดการเรียนรู้วัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นผ่านลวดลายอันวิจิตรบรรจงบนผืนผ้าไหมที่ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ที่ควรได้รับการส่งเสริมและเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จัก เพื่อดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าของประเทศไทย
สำหรับผ้าไหมของไทยที่มีชื่อเสียง มีความสวยงาม สามารถสะท้อนอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี เช่น ผ้าจกเมืองลอง จ.แพร่ ผ้ายกดอก จ.ลำพูน ผ้าจกแม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ผ้าซิ่นตีนแดง จ.บุรีรัมย์ ผ้าแพรวา จ.กาฬสินธุ์ ผ้าโฮล จ.สุรินทร์ ผ้าอัมปรก จ.สุรินทร์ ผ้ากาบบัว จ.อุบลราชธานี ผ้ามัดหมี่ลายแก้วมุกดา จ.มุกดาหาร ผ้าสาเกต จ.ร้อยเอ็ด ผ้าพุมเรียง จ.สุราษฎร์ธานี ผ้ายกเมืองนคร จ.นครศรีธรรมราช และผ้าจวนตานี จ.ปัตตานี เป็นต้น
นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้นางลลิดา จิวะนันทประวัติ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าลงพื้นที่ 3 เส้นทาง ประกอบด้วย 1.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จ.อุดรธานี จ.กาฬสินธุ์ จ.ขอนแก่น 2.ภาคใต้ ได้แก่ จ.ชุมพร จ.สุราษฎร์ธานี จ.นครศรีธรรมราช และ 3.ภาคเหนือ ได้แก่ จ.แพร่ จ.ลำพูน จ.เชียงใหม่ เพื่อช่วยพัฒนาผู้ประกอบการผ้าไหม เริ่มตั้งแต่การอบรมบ่มเพาะเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์ การเพิ่มความหลากหลายของสินค้า การนำนวัตกรรมมาใช้ในการผลิต การเพิ่มช่องทางการค้าและการตลาด การสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิต ผู้จัดหา นักออกแบบ และผู้ซื้อ การจัดกิจกรรมส่งเสริมภาพลักษณ์ผ้าไหมไทย และการเชื่อมโยงแหล่งผลิตผ้าไหมไทยสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง
“เป้าหมายในการลงพื้นที่ ต้องการยกระดับผู้ประกอบการผ้าไหมของไทยให้มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขันได้ในเชิงธุรกิจ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการผลิต เทคนิคเฉพาะ และอัตลักษณ์ผ้าไหมของแต่ละชุมชนเพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้มีความสวยงามและทนทาน และเชื่อมโยงเครือข่ายและการตลาดขนานไปตามเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ”นายวุฒิไกรกล่าว
นายวุฒิไกรกล่าวว่า ผ้าไหมไทย ได้รับการขนานนามว่าเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของประเทศ มีความสวยงาม มีความอ่อนนุ่ม เส้นไหมมีความเลื่อมเงางามโดยธรรมชาติ ใส่แล้วภูมิฐาน และยังมีคุณสมบัติพิเศษของผ้าไหม เมื่ออากาศร้อน ผ้าไหมจะช่วยคลายร้อน และเมื่ออากาศหนาว ผ้าไหมบางๆ กลับช่วยให้อุ่นสบาย ซึ่งจากคุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสะท้อนถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นของผ้าไหมไทย นำมาซึ่งความภาคภูมิใจเมื่อสวมใส่หรือใช้งาน ทำให้เกิดการเรียนรู้วัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นผ่านลวดลายอันวิจิตรบรรจงบนผืนผ้าไหมที่ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ที่ควรได้รับการส่งเสริมและเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จัก เพื่อดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าของประเทศไทย
สำหรับผ้าไหมของไทยที่มีชื่อเสียง มีความสวยงาม สามารถสะท้อนอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี เช่น ผ้าจกเมืองลอง จ.แพร่ ผ้ายกดอก จ.ลำพูน ผ้าจกแม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ผ้าซิ่นตีนแดง จ.บุรีรัมย์ ผ้าแพรวา จ.กาฬสินธุ์ ผ้าโฮล จ.สุรินทร์ ผ้าอัมปรก จ.สุรินทร์ ผ้ากาบบัว จ.อุบลราชธานี ผ้ามัดหมี่ลายแก้วมุกดา จ.มุกดาหาร ผ้าสาเกต จ.ร้อยเอ็ด ผ้าพุมเรียง จ.สุราษฎร์ธานี ผ้ายกเมืองนคร จ.นครศรีธรรมราช และผ้าจวนตานี จ.ปัตตานี เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น