นายชวลิต ทิพพาวนิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมา ที่ประชุมผู้บริหารระดับสูงกลุ่ม ปตท. ได้กำหนดยุทธศาสตร์และทิศทางในอนาคตของกลุ่ม โดยในส่วนของธุรกิจพลังงานทดแทนจะลงทุนให้มีกำลังผลิตรวมทั้งกลุ่ม 8,000 เมกะวัตต์ ซึ่งจะครอบคลุมถึงอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ อาทิ แบตเตอรี่, สมาร์ทซิตี้, สมาร์ทกริด เป็นต้น
“เป้าหมายการลงทุนพลังงานทดแทน 8,000 เมกะวัตต์ ยอมรับว่าเป็นเป้าหมายที่สูงมาก ดังนั้นต้องทำการศึกษาให้เพิ่มมากขึ้น และเพื่อเป็นส่วนหนึ่งไปสู่เป้าหมายที่ กลุ่ม ปตท.วางไว้ในการจะเติบโตอย่างยั่งยืนตามเทรนด์เทคโนโลยีใหม่ของโลกและช่วยลดภาวะโลกร้อน ลด CO2 รวมทั้งเป็นการสอดรับกับแผนการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนของจีพีเอสซีที่จะเพิ่มเป็น 18%ใน 5 ปี”นายชวลิตกล่าว
นอกจากนี้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อเร็วๆนี้ มีมติอนุมัติแผนการออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในวงเงิน 74,000 ล้านบาท เพื่อปรับโครงสร้างทางการเงินของบริษัท ให้มีฐานทางการเงินที่แข็งแกร่งมากขึ้น รองรับการขยายการลงทุนในอนาคต โดยตั้งเป้าเป็น 1 ใน 3 ของผู้ผลิตไฟฟ้าในไทยภายใน 5 ปี จากปัจจุบันอยู่อันดับที่ 4 ซึ่งจะมุ่งดำเนินงานตามยุทธศาสตร์หลัก ประกอบด้วย 1.การเติบโตพร้อมกลุ่ม ปตท. 2.การขยายการลงทุนและพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าทั้งในและต่างประเทศ และ 3.การพัฒนาธุรกิจใหม่ โดยวางกรอบการลงทุนรองรับแผน 5 ปี (ปี 63-67) ภายใต้วงเงินรวม 50,000 ล้านบาท
สำหรับเงินที่ได้จากการเพิ่มทุนในครั้งนี้ บริษัทจะนำเงินที่ได้รับส่วนหนึ่งไปชำระคืนหนี้เงินกู้ระยะสั้น (Bridge Financing) จากสถาบันการเงินและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ บริษัท พีทีที โกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน) ที่บริษัทใช้ในการเข้าซื้อกิจการของบริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน) GLOW ส่วนการดำเนินงานของบริษัทภายหลังรวมกิจการ GLOW นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการทำแผนเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานร่วมกัน(Synergy)
นายชวลิต กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 4,986 เมกะวัตต์ โดยมีโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างอีกหลายโครงการที่จะเริ่ม COD ในปีนี้ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าพลังน้ำใน สปป.ลาว ได้แก่ โรงไฟฟ้าน้ำลิก 1 (NL1PC) ขนาดกำลังการผลิต 65 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้า ไซยะบุรี (XPCL) กำลังการผลิต 1,285 เมกะวัตต์ และศูนย์ผลิตสาธารณูปการ จังหวัดระยอง แห่งที่ 4 (CUP-4) กำลังผลิต 45 เมกะวัตต์ ไอน้ำ 70 ตันต่อชั่วโมง
นอกจากนี้ยังมีอีก 3 โครงการที่จะทยอยเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ในปี 2563 2564 และ 2566 ได้แก่ โครงการผลิตไฟฟ้านวนคร ส่วนขยาย (NNEG Expansion) โครงการโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิง RDF และหน่วยผลิตไฟฟ้า ERU (Energy Recovery Unit) ตามลำดับนอกจากนี้ ยังมีอีก 3 โครงการที่จะทยอยเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ปี2563 2564 และ 2566 ได้แก่ โครงการผลิตไฟฟ้านวนครกำลังส่วนขยาย (NNEG Expansion) 60 เมกะวัตต์ โครงการโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิง RDF 9.9 เมกะวัตต์ และหน่วยผลิตไฟฟ้าในโครงการขยายกำลังกลั่นของไทยออยล์ หรือ ERU (Energy Recovery Unit) 250 เมกะวัตต์ ตามลำดับ และยังมีแผนลงทุนอีก 20,000 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าเอสพีพีทดแทนสัญญาเดิมที่หมดอายุ 600 เมกะวัตต์ จากสัญญาเดิม 900 เมกะวัตต์ ซึ่งจะเข้าระบบปี 2565-2568
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น