‘กรรมพันธุ์มะเร็ง’ มรดกตระกูล…ที่คุณหยุดได้ แพทย์ชี้ มียีนมะเร็งพันธุกรรม เสี่ยงเป็นโรคถึง 14 เปอร์เซ็นต์ รู้ก่อน ป้องกันได้ ลดความเสี่ยงส่งต่อให้ลูกหลานด้วยการตรวจพันธุกรรม - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2562

‘กรรมพันธุ์มะเร็ง’ มรดกตระกูล…ที่คุณหยุดได้ แพทย์ชี้ มียีนมะเร็งพันธุกรรม เสี่ยงเป็นโรคถึง 14 เปอร์เซ็นต์ รู้ก่อน ป้องกันได้ ลดความเสี่ยงส่งต่อให้ลูกหลานด้วยการตรวจพันธุกรรม

'กรรมพันธุ์มะเร็ง’ มรดกตระกูล...ที่คุณหยุดได้ แพทย์ชี้ มียีนมะเร็งพันธุกรรม เสี่ยงเป็นโรคถึง 14 เปอร์เซ็นต์ รู้ก่อน ป้องกันได้ ลดความเสี่ยงส่งต่อให้ลูกหลานด้วยการตรวจพันธุกรรม

'กรรมพันธุ์มะเร็ง’ มรดกตระกูล...ที่คุณหยุดได้ แพทย์ชี้ มียีนมะเร็งพันธุกรรม เสี่ยงเป็นโรคถึง 14 เปอร์เซ็นต์ รู้ก่อน ป้องกันได้ ลดความเสี่ยงส่งต่อให้ลูกหลานด้วยการตรวจพันธุกรรม

   'มะเร็ง' ภัยเงียบร้ายแรงที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับ 1 มายาวนานกว่า 20 ปี หลายคนคิดว่าดูแลตัวเองดีแล้ว สุดท้ายหาความเสี่ยง"กลับพบว่าป่วยเป็นมะเร็ง นั่นก็เพราะโรคมะเร็งมีความซับซ้อน และมีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลให้เกิดโรค โดยผู้ป่วย 95 เปอร์เซ็นต์ เป็นโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นเอง หรือถูกกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมภายนอก อาจเรียกได้ว่าเกิดจากพฤติกรรม และอีก 5 เปอร์เซ็นต์ เป็นโรคมะเร็งที่เกิดจากพันธุกรรม ซึ่งคนส่วนใหญ่มักคิดว่าการมียีนมะเร็งทางพันธุกรรมเป็น 'กรรม' ที่ติดตัวมาแต่กำเนิด ไม่สามารถแก้ไขหรือป้องกันได้ แต่ในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า ช่วยให้เราสามารถตรวจสอบยีนมะเร็งทางพันธุกรรม และโอกาสในการเกิดโรค ทำให้สามารถหาทางป้องกัน และลดความเสี่ยงให้กับตัวเอง และทายาทได้
          ผศ.ดร.นพ. โอบจุฬ ตราชู แพทย์อายุรศาสตร์และพันธุศาสตร์การแพทย์ โรงพยาบาลพญาไท 2 กล่าวว่า "โรคมะเร็งทางพันธุกรรม เกิดจากการถ่ายทอดยีนที่มีการกลายพันธุ์จากรุ่นพ่อแม่ไปยังรุ่นลูก ซึ่งความผิดปกติของยีนนี้สามารถส่งต่อไปยังทายาทรุ่นต่อไปได้อย่างไม่สิ้นสุด ผู้ที่ได้รับยีนผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมเหล่านี้มีแนวโน้มจะเกิดโรคมะเร็งเช่นเดียวกับคนในครอบครัวได้ตั้งแต่ 14-99 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทางการแพทย์ถือว่าอยู่ในเกณฑ์สูง นอกจากนี้ยังส่งผลให้สามารถเกิดโรคมะเร็งได้ตั้งแต่อายุน้อย โดยปกติความเสี่ยงโรคมะเร็งจะเริ่มเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป แต่มะเร็งทางพันธุกรรมมีความเสี่ยงเกิดโรค ในช่วงอายุ 40 ปี หรือน้อยกว่า ดังนั้นหากมีญาติในสายใกล้ชิด เช่น ยาย แม่ พี่น้องของแม่ หรือพี่น้องของเราเอง มีประวัติป่วยเป็นโรคมะเร็ง ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หรือมีญาติเป็นมะเร็งตั้งแต่อายุไม่ถึง 50 ปี แม้เพียงคนเดียว ให้สงสัยว่าเราอาจมียีนมะเร็งทางพันธุกรรม ควรมาปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาความเสี่ยง" 

'กรรมพันธุ์มะเร็ง’ มรดกตระกูล...ที่คุณหยุดได้ แพทย์ชี้ มียีนมะเร็งพันธุกรรม เสี่ยงเป็นโรคถึง 14 เปอร์เซ็นต์ รู้ก่อน ป้องกันได้ ลดความเสี่ยงส่งต่อให้ลูกหลานด้วยการตรวจพันธุกรรม

          - หรือเราจะได้รับ 'มะเร็งทางพันธุกรรม' เป็นมรดก
          โรคมะเร็งทางพันธุกรรมนั้น เราไม่สามารถรู้ได้จนกว่าจะได้รับการตรวจ โดยแพทย์จะซักประวัติเพื่อนำไปคำนวณหาความเสี่ยง หากพบว่าคนไข้มีความเสี่ยงจากประวัติครอบครัว เช่น ครอบครัวที่มีคนเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่จำนวนหลายคน แพทย์จึงจะทำการตรวจเลือดหายีนมะเร็งทางพันธุกรรม โดยจะตรวจยีน 2 กลุ่ม คือBRCA1 และ BRCA2 ซึ่งเป็นยีนที่ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ หากพบว่ายีนทั้ง 2 กลุ่มมีความผิดปกติ หมายความว่ามีโอกาสเกิดมะเร็งเต้านมและรังไข่ที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ หากมีความผิดปกติของยีนกลุ่ม BRCA1 อาจเพิ่มโอกาสของการเกิดมะเร็งปากมดลูก มะเร็งมดลูก มะเร็งตับอ่อน และมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในขณะที่หากมีความผิดปกติของยีนกลุ่ม BRCA2 อาจเพิ่มโอกาสของการเกิดมะเร็งตับอ่อน มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งท่อน้ำดี และมะเร็งผิวหนังเมลาโนม่า เป็นต้น
          อย่างไรก็ตาม พบว่าคนไข้ส่วนใหญ่ไม่อยากตรวจเพราะกลัวเจอว่าตัวเองมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง ทั้งที่ความจริงแล้ว การตรวจหายีนมะเร็งทางพันธุกรรมมีข้อดีมากกว่าที่คิด เพราะแพทย์จะสามารถแนะนำให้คนไข้ปรับแนวทางการดูแลสุขภาพ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ รวมไปถึงเตือนคนในครอบครัวให้ระวังร่วมกัน ทั้งยังสามารถวางแผนชีวิตหลังแต่งงานได้ดีขึ้นด้วย
          - รู้ก่อน ป้องกันได้! อย่าปล่อยให้ 'มะเร็ง' เป็นมรดกของลูกหลาน
          ความกังวลของผู้ที่มียีนมะเร็งทางพันธุกรรม นอกจากโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกับตัวเองแล้ว ยังกังวลว่าจะส่งต่อพันธุกรรมเหล่านี้ไปยังลูกหลาน การตรวจพันธุกรรมก่อนแต่งงานนั้นมีประโยชน์มาก เพราะจะช่วยให้คนไข้สามารถวางแผนการใช้ชีวิตหลังแต่งงานและการมีบุตรได้ปลอดภัยกับลูกมากขึ้น โดยแพทย์จะแนะนำให้ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการเลือกเก็บไข่หรือเชื้อที่ไม่มียีนมะเร็งทางพันธุกรรมและโรคร้ายอื่น ๆ สำหรับทำเด็กหลอดแก้ว เป็นทางเลือกที่ช่วยลดความเสี่ยงที่จะส่งต่อกรรมพันธุ์มะเร็งไปถึงรุ่นลูกได้
          "การมียีนมะเร็งทางพันธุกรรม เป็นการบอกว่าคน ๆ นี้มีความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นมะเร็งแน่นอน 100 เปอร์เซ็นต์ ที่สำคัญคือหากรู้แล้วต้องปฏิบัติตัวเหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์ และหมั่นตรวจคัดกรองค้นหามะเร็งชนิดนั้น ๆ อย่างสม่ำเสมอ ในขณะเดียวกันคนที่ไม่เคยมีประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็ง ตรวจไม่พบยีนมะเร็งทางพันธุกรรมก็มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งได้ จึงแนะนำให้ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปและมีประวัติครอบครัวผิดปกติควรพบแพทย์ หากพบว่าเป็นมะเร็งจะได้รักษาแต่เนิ่น ๆ ซึ่งจะเพิ่มโอกาสหายขาดได้สูงกว่า นอกจากนี้ ปัจจุบันมียารักษามะเร็งเฉพาะจุดที่ได้ผลดี คนไข้มีทางเลือกในการรักษาเพิ่มขึ้น การรู้ตัวเร็วจึงมีแต่ข้อดีมากกว่าข้อเสีย อยากให้มองว่าการรู้ก่อนเป็นโอกาสในการต่อสู้กับโรคร้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด" ผศ.ดร.นพ. โอบจุฬ กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad