คอร์น เฟอร์รี่ คาดการณ์ ปี 2020 อัตราเงินเดือนในไทยเพิ่มขึ้น 5.0%
วันนี้ คอร์น เฟอร์รี่ (รหัสในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก: KFY) เปิดเผยเอกสารพยากรณ์เงินเดือน โดยระบุว่าอัตราการขึ้นเงินเดือนของประเทศไทยในปี ค.ศ. 2020 จะอยู่ที่ 5% โดยต่ำกว่าการขึ้นเงินเดือนเฉลี่ยในทวีปเอเชียซึ่งอยู่ที่ 5.3% เพียงเล็กน้อย และเมื่อคำนวนอัตราเงินเฟ้อที่ 1.3% จะทำให้ประเทศไทยมีอัตราการขึ้นเงินเดือนตามที่คาดการณ์ไว้อยู่ที่ 3.7%
ภาคธุรกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมีอัตราการขึ้นเงินเดือนสูงสุดของประเทศไทยอยู่ที่ 6.2% ในขณะที่ภาคธุรกิจเคมีภัณฑ์มีอัตราการจ่ายโบนัสแบบแปรผันสูงสุดที่ 4 เดือน โดยคาดการณ์ว่าค่าเฉลี่ยการจ่ายโบนัสแบบแปรผันของทุกภาคธุรกิจจะอยู่ที่ 2.5 เดือน
อัตราการเข้า-ออกงานของพนักงานรวมในประเทศไทยอยู่ที่ 10.8% ลดลงเล็กน้อยจากปีที่ผ่านมา (12.6%) โดยภาคธุรกิจค้าปลีกมีอัตราการเข้า-ออกงานของพนักงานสูงสุดที่ 36.3%
"ด้วยการปฏิรูปธุรกิจด้วยแพล็ตฟอร์มระบบดิจิทัล องค์กรหลายแห่งในประเทศไทยต่างปรับตัวเข้าสู่เทคโนโลยีใหม่นี้อย่างรวดเร็วเพื่อดำรงความสามารถในการแข่งขัน การปฏิรูปธุรกิจด้วยแพล็ตฟอร์มระบบดิจิทัลยังเปลี่ยนแปลงแนวทางการทำงานขององค์กรต่าง ๆ ซึ่งนำไปสู่การแปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจ ประเภทธุรกิจ และโครงสร้างองค์กร การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ยังส่งผลกระทบต่อการบริหารทุนมนุษย์นับตั้งแต่ขั้นตอนการสรรหาบุคคลากร การบริหารประสิทธิภาพการทำงาน ไปจนถึงการพัฒนาและการรักษาพนักงานผู้มีความสามารถ โดยทุนมนุษย์ถือเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร ซึ่งสร้างหลักประกันทั้งความยั่งยืน ความสามารถในการแข่งขัน และการสร้างผลกำไร" นายธันวา จุลชาติ ผู้จัดการฝ่ายดิจิทัล คอร์น เฟอร์รี่ ประเทศไทย กล่าว
"นอกจากการสรรหาบุคลากรผู้มีความสามารถรายใหม่ องค์กรต่าง ๆ ยังต้องพัฒนาผู้มีความสามารถที่มีอยู่เดิม ผ่านการฝึกฝนทักษะซ้ำและยกระดับทักษะของผู้มีความสามารถเหล่านี้ให้มีความสามารถที่จำเป็นให้หลากหลาย โดยเฉพาะการปฏิบัติงานได้หลายหน้าที่ ซึ่งความควาดหวังรูปแบบใหม่นี้ต้องการให้บุคคลหนึ่งสามารถบริหารงานอื่น ๆ ได้ดีเทียบเท่ากับงานที่เคยทำโดย 5 คนในอดีต รูปแบบการดำเนินธุรกิจใหม่มักใช้พนักงานจำนวนน้อยลงโดยที่ยังสามารถขับเคลื่อนการผลิตต่อไปได้" นายธันวา จุลชาติ กล่าว
"เมื่อมีบุคลากรผู้มีความสามารถด้านระบบดิจิทัลรุ่นใหม่ซึ่งประกอบด้วยคนหลายรุ่นในกลุ่มงานเดียวกัน วิธีปฏิบัติหรือระบบงานทรัพยากรบุคคลเพียงรูปแบบเดียวจึงไม่เพียงพออีกต่อไป การแบ่งกลุ่มคนจะมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดเมื่อต้องบริหารการจ่ายผลตอบแทนและผลประโยชน์ ผู้มีความสามารถด้านระบบดิจิทัลจะต้องการงานที่ท้าทายมากกว่าในตลาดที่มีการแข่งขันสูงกว่า โดยมีความยืดหยุ่นในสภาพแวดล้อมการทำงานมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับคนรุ่นเบเบี้บูมเมอร์ พวกเขายังเรียนรู้ได้ฉับไวมากกว่า และยังให้ความสำคัญกับการมีเงินเดือนที่สูงกว่า การเติบโตในสายอาชีพที่รวดเร็วกว่า และสถานะในชีวิตที่ดีขึ้นในอัตราที่รวดเร็วกว่า"
"กลยุทธ์การจ่ายผลตอบแทนรวมไม่ควรให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านการสร้างแรงจูงใจ (Hygiene Factor) อีกต่อไป หากเป็นการสร้างความเข้าใจถึงสิ่งที่อยู่เบื้องหลังความคิดของผู้มีความสามารถผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียด เพื่อกำหนดแง่มุมการพิจารณาที่สำคัญอย่างแท้จริง กล่าวโดยสรุปคือ วันนี้ องค์กรต่าง ๆ ต้องใช้แนวทางแบบองค์รวมในการกำหนดค่าตอบแทนและผลประโยชน์"
สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดนีเซียถูกคาดการณ์ว่าจะมีการขึ้นค่าแรงที่แท้จริงสูงสุดที่ 5.1% หลังคำนวนอัตราเงินเฟ้อที่ 3.0% ส่วนมาเลเซียถูกคาดการณ์ว่าจะมีการขึ้นค่าแรงที่แท้จริงที่ 3.5% หลังคำนวนอัตราเงินเฟ้อที่ 1.5% แม้อัตราเงินเดือนในสิงคโปร์ถูกคาดการณ์ว่าจะมีการเติบโตเพียง 4.0% แต่ประเทศมีอัตราเงินเฟ้อต่ำเพียง 0.4% ทำให้มีการขึ้นค่าแรงที่แท้จริงในปี ค.ศ. 2020 ที่ 3.6%
เมื่อพิจารณาทั่วโลก ในปี ค.ศ. 2020 คาดการณ์ว่าจะมีการขึ้นอัตราเงินเดือนที่ 4.9% โดยมีการพยากรณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกอยู่ที่ราว 2.8% จึงคาดว่าจะมีการขึ้นค่าแรงที่แท้จริงที่ 2.1% โดยในปี ค.ศ. 2019 การขึ้นค่าแรงที่แท้จริงทั่วโลกอยู่ที่เพียง 1.0% โดยมีอัตราการขึ้นเงินเดือนที่ 5.1% และอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกที่ 4.1%
เกี่ยวกับการศึกษาครั้งนี้
ข้อมูลในการศึกษานำมาจากฐานข้อมูลแบบเสียค่าใช้จ่ายของคอร์น เฟอร์รี่ ซึ่งมีข้อมูลจากผู้มีตำแหน่งงานมากกว่า 20 ล้านคนในองค์กร 25,000 แห่งในมากกว่า 130 ประเทศ
การศึกษาแสดงให้เห็นถึงการพยากรณ์อัตราการขึ้นเงินเดือน ซึ่งคาดการณ์โดยผู้ปฏิบัติงานด้านทรัพยากรบุคคลชั้นนำทั่วโลก และเปรียบเทียบข้อมูลกับการพยากรณ์ที่จัดทำในเวลาเดียวกันของปี ค.ศ. 2019 รวมถึงเปรียบเทียบกับการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปี ค.ศ. 2020 จากหน่วยงานอีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต (Economist Intelligence Unit)
อัตราการเข้า-ออกงานของพนักงานรวมในประเทศไทยอยู่ที่ 10.8% ลดลงเล็กน้อยจากปีที่ผ่านมา (12.6%) โดยภาคธุรกิจค้าปลีกมีอัตราการเข้า-ออกงานของพนักงานสูงสุดที่ 36.3%
"ด้วยการปฏิรูปธุรกิจด้วยแพล็ตฟอร์มระบบดิจิทัล องค์กรหลายแห่งในประเทศไทยต่างปรับตัวเข้าสู่เทคโนโลยีใหม่นี้อย่างรวดเร็วเพื่อดำรงความสามารถในการแข่งขัน การปฏิรูปธุรกิจด้วยแพล็ตฟอร์มระบบดิจิทัลยังเปลี่ยนแปลงแนวทางการทำงานขององค์กรต่าง ๆ ซึ่งนำไปสู่การแปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจ ประเภทธุรกิจ และโครงสร้างองค์กร การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ยังส่งผลกระทบต่อการบริหารทุนมนุษย์นับตั้งแต่ขั้นตอนการสรรหาบุคคลากร การบริหารประสิทธิภาพการทำงาน ไปจนถึงการพัฒนาและการรักษาพนักงานผู้มีความสามารถ โดยทุนมนุษย์ถือเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร ซึ่งสร้างหลักประกันทั้งความยั่งยืน ความสามารถในการแข่งขัน และการสร้างผลกำไร" นายธันวา จุลชาติ ผู้จัดการฝ่ายดิจิทัล คอร์น เฟอร์รี่ ประเทศไทย กล่าว
"นอกจากการสรรหาบุคลากรผู้มีความสามารถรายใหม่ องค์กรต่าง ๆ ยังต้องพัฒนาผู้มีความสามารถที่มีอยู่เดิม ผ่านการฝึกฝนทักษะซ้ำและยกระดับทักษะของผู้มีความสามารถเหล่านี้ให้มีความสามารถที่จำเป็นให้หลากหลาย โดยเฉพาะการปฏิบัติงานได้หลายหน้าที่ ซึ่งความควาดหวังรูปแบบใหม่นี้ต้องการให้บุคคลหนึ่งสามารถบริหารงานอื่น ๆ ได้ดีเทียบเท่ากับงานที่เคยทำโดย 5 คนในอดีต รูปแบบการดำเนินธุรกิจใหม่มักใช้พนักงานจำนวนน้อยลงโดยที่ยังสามารถขับเคลื่อนการผลิตต่อไปได้" นายธันวา จุลชาติ กล่าว
"เมื่อมีบุคลากรผู้มีความสามารถด้านระบบดิจิทัลรุ่นใหม่ซึ่งประกอบด้วยคนหลายรุ่นในกลุ่มงานเดียวกัน วิธีปฏิบัติหรือระบบงานทรัพยากรบุคคลเพียงรูปแบบเดียวจึงไม่เพียงพออีกต่อไป การแบ่งกลุ่มคนจะมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดเมื่อต้องบริหารการจ่ายผลตอบแทนและผลประโยชน์ ผู้มีความสามารถด้านระบบดิจิทัลจะต้องการงานที่ท้าทายมากกว่าในตลาดที่มีการแข่งขันสูงกว่า โดยมีความยืดหยุ่นในสภาพแวดล้อมการทำงานมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับคนรุ่นเบเบี้บูมเมอร์ พวกเขายังเรียนรู้ได้ฉับไวมากกว่า และยังให้ความสำคัญกับการมีเงินเดือนที่สูงกว่า การเติบโตในสายอาชีพที่รวดเร็วกว่า และสถานะในชีวิตที่ดีขึ้นในอัตราที่รวดเร็วกว่า"
"กลยุทธ์การจ่ายผลตอบแทนรวมไม่ควรให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านการสร้างแรงจูงใจ (Hygiene Factor) อีกต่อไป หากเป็นการสร้างความเข้าใจถึงสิ่งที่อยู่เบื้องหลังความคิดของผู้มีความสามารถผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียด เพื่อกำหนดแง่มุมการพิจารณาที่สำคัญอย่างแท้จริง กล่าวโดยสรุปคือ วันนี้ องค์กรต่าง ๆ ต้องใช้แนวทางแบบองค์รวมในการกำหนดค่าตอบแทนและผลประโยชน์"
สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดนีเซียถูกคาดการณ์ว่าจะมีการขึ้นค่าแรงที่แท้จริงสูงสุดที่ 5.1% หลังคำนวนอัตราเงินเฟ้อที่ 3.0% ส่วนมาเลเซียถูกคาดการณ์ว่าจะมีการขึ้นค่าแรงที่แท้จริงที่ 3.5% หลังคำนวนอัตราเงินเฟ้อที่ 1.5% แม้อัตราเงินเดือนในสิงคโปร์ถูกคาดการณ์ว่าจะมีการเติบโตเพียง 4.0% แต่ประเทศมีอัตราเงินเฟ้อต่ำเพียง 0.4% ทำให้มีการขึ้นค่าแรงที่แท้จริงในปี ค.ศ. 2020 ที่ 3.6%
เมื่อพิจารณาทั่วโลก ในปี ค.ศ. 2020 คาดการณ์ว่าจะมีการขึ้นอัตราเงินเดือนที่ 4.9% โดยมีการพยากรณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกอยู่ที่ราว 2.8% จึงคาดว่าจะมีการขึ้นค่าแรงที่แท้จริงที่ 2.1% โดยในปี ค.ศ. 2019 การขึ้นค่าแรงที่แท้จริงทั่วโลกอยู่ที่เพียง 1.0% โดยมีอัตราการขึ้นเงินเดือนที่ 5.1% และอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกที่ 4.1%
เกี่ยวกับการศึกษาครั้งนี้
ข้อมูลในการศึกษานำมาจากฐานข้อมูลแบบเสียค่าใช้จ่ายของคอร์น เฟอร์รี่ ซึ่งมีข้อมูลจากผู้มีตำแหน่งงานมากกว่า 20 ล้านคนในองค์กร 25,000 แห่งในมากกว่า 130 ประเทศ
การศึกษาแสดงให้เห็นถึงการพยากรณ์อัตราการขึ้นเงินเดือน ซึ่งคาดการณ์โดยผู้ปฏิบัติงานด้านทรัพยากรบุคคลชั้นนำทั่วโลก และเปรียบเทียบข้อมูลกับการพยากรณ์ที่จัดทำในเวลาเดียวกันของปี ค.ศ. 2019 รวมถึงเปรียบเทียบกับการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปี ค.ศ. 2020 จากหน่วยงานอีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต (Economist Intelligence Unit)
เกี่ยวกับคอร์น เฟอร์รี่
คอร์น เฟอร์รี่ เป็นบริษัทผู้ให้คำปรึกษาแก่องค์กรชั้นนำระดับโลก เราให้ความช่วยเหลือบรรดาบริษัทต่าง ๆ ในการออกแบบองค์กร ทั้งในแง่โครงสร้าง บทบาท และขอบเขตความรับผิดชอบ ตลอดจนรูปแบบการจ่ายผลตอบแทน การพัฒนา และการสร้างแรงจูงใจในการทำงานแก่บุคลากร และเรายังช่วยผู้ปฏิบัติงานมืออาชีพสำรวจและยกระดับสายงานให้สูงขึ้
น
คอร์น เฟอร์รี่ เป็นบริษัทผู้ให้คำปรึกษาแก่องค์กรชั้นนำระดับโลก เราให้ความช่วยเหลือบรรดาบริษัทต่าง ๆ ในการออกแบบองค์กร ทั้งในแง่โครงสร้าง บทบาท และขอบเขตความรับผิดชอบ ตลอดจนรูปแบบการจ่ายผลตอบแทน การพัฒนา และการสร้างแรงจูงใจในการทำงานแก่บุคลากร และเรายังช่วยผู้ปฏิบัติงานมืออาชีพสำรวจและยกระดับสายงานให้สูงขึ้
น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น