ทรีนีตี้ เผยมีมุมมองเชิงลบต่อสภาพคล่ องในตลาดหุ้นระยะกลาง-ยาว (5 ปีข้างหน้า) เหตุการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่ อการออม (SSF) ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2563- 2567 ส่งผลกระทบ ขณะเดียวกันยังส่งผลให้เม็ดเงิ นที่ปกติไหลเข้าสู่กองทุน LTF เฉลี่ยปีละประมาณ 6 หมื่นล้านบาทลดลงอีกด้วย
นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายวิ เคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทรีนีตี้ เปิดเผยว่ามีมุมมองเชิงลบต่ อสภาพคล่องในตลาดหุ้นระยะกลาง- ยาว (5 ปีข้างหน้า) จากประเด็นการจัดตั้งกองทุนรวม เพื่อการออม (SSF) ที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2563 ไปจนถึงปี 2567 และมองว่าอุตสาหกรรมจัดการกองทุ นมีโอกาสได้รั บผลกระทบพอสมควรโดยประเมินว่ าสำหรับประเด็นการเพิ่มวงเงิ นลดหย่อนภาษีสูงสุดจาก 15% ไปเป็น 30% นั้น คงจะไม่ได้ทำให้มีเม็ดเงิ นออมใหม่เข้ามามากนัก เนื่องจากกลุ่มคนที่จะได้ ประโยชน์จากกรณีนี้ เป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนการออมต่ อรายได้ในระดับที่ไม่สูง พร้อมประเมินว่าในกลุ่มนี้จะมี ผู้ลงทุนในสัดส่วนที่ไม่มากที่ จะเลือกออมเพิ่มขึ้นเต็มเพดาน 30%
ขณะเดียวกันระยะเวลาการถื อครองที่เพิ่มขึ้นจาก 7 ปีเป็น 10 ปี คาดว่าจะไม่เป็นการลดทอนแรงจู งใจสำหรับผู้ที่มีฐานภาษีในระดั บกลาง-สูงที่ต้องการจะลดหย่ อนภาษีอยู่แล้ว แต่อาจกระทบต่อแรงจูงใจของผู้ที่ มีฐานภาษีอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งอาจทำให้คนบางส่วนในกลุ่มนี้ มีการลงทุนผ่านรูปแบบกองทุ นประหยัดภาษีลดลงจากเดิมได้อีก นอกจากนี้หลักการลงทุนที่ สามารถลงทุนในสินทรัพย์ได้ทุ กประเภทนั้น มองว่าจะเป็นผลดีต่อผู้ลงทุนเอง เนื่องจากในปัจจุบันนั้นความเสี่ ยงเฉพาะตัวบริษัทมีค่อนข้างสูง ซึ่งความเสี่ยงดังกล่าวสามารถที่ จะกระจายได้ด้วยการลงทุนที่ หลากหลายมากขึ้น
“อย่างไรก็ตาม มองปัจจัยดังกล่าวจะเป็นผลลบต่ อสภาพคล่องในตลาดหุ้น เนื่องจากมีโอกาสสูงที่ผู้ลงทุ นจะหันไปลงทุนในกอง SSF ที่มีความเสี่ยงต่ำมากขึ้น จากเดิมที่จะต้องบังคับลงทุ นในตราสารทุนเท่านั้น” นายณัฐชาต กล่าว
สำหรับประเด็นสำคัญที่สุดที่ ประเมินว่าจะมีผลกระทบต่อเม็ ดเงินในตลาดหุ้นนั่นก็คือ การนับวงเงินที่ซื้อกอง SSFเข้าร่วมกับกอง RMF, PVD, ประกันบำนาญ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในแต่ละปีภาษี โดยประเมินว่าจะมีเม็ดเงิ นการออมที่หายไปจากระบบค่อนข้ างมาก จากกลุ่มคนที่มีฐานภาษีสูงที่ ปกติแล้วมีสัดส่วนการออมอยู่ ในระดับสูง เงินก้อนที่หายไปนี้ คาดว่าจะส่งผลกระทบต่ออุ ตสาหกรรมจัดการกองทุนได้พอสมควร
นายณัฐชาต กล่าวต่อไปว่าการออกกอง SSF ในรูปแบบดังกล่าวอาจสร้ างความเท่าเทียมกับผู้ลงทุ นในตลาดให้มากขึ้นได้บ้าง แต่ประเมินว่าเม็ดเงินที่จะได้ เพิ่มเข้ามาใหม่จากผู้ที่มี ฐานภาษีกลาง-ต่ำ จะไม่สามารถชดเชยเม็ดเงินที่ หายไปจากกลุ่มผู้ที่มีฐานภาษีสู งได้ นอกจากนี้ยังค่อนข้างมั่นใจว่ าเม็ดเงินที่ปกติเคยไหลเข้าสู่ กองทุน LTF เฉลี่ยปีละประมาณ 6 หมื่นล้านบาทนั้น จะลดลงตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้ นไปอย่างแน่นอน ที่สำคัญเม็ดเงินที่ไหลเข้ามานั้ น จะไม่ได้ไหลเข้าสู่กองทุนหุ้ นในอัตรา 1 ต่อ 1 แต่อย่างใด ซึ่งจะทำให้ตลาดหุ้นไทยในช่วง 5 ปีข้างหน้ามีความเสี่ยงทางด้ านสภาพคล่องได้ ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าในช่วงที่ ผ่านมานักลงทุนสถาบันในประเทศถื อว่ามีบทบาทหลักในการสร้างเสถี ยรภาพให้กับตลาดได้พอสมควร
“ปีที่น่าเป็นห่วงสำหรับตลาดหุ้ นจริงๆ น่าจะอยู่ในช่วงพ.ศ. 2565 ซึ่งจะมีการไถ่ถอนกอง LTF ที่ครบกำหนดอายุจากการซื้อเมื่ อปี 2559 ซึ่งหากไม่มีเงินใหม่ จากกองประหยัดภาษีต่างๆในระดั บที่มากพอ มองว่าตลาดหุ้นไทยอาจขาดปัจจั ยประคับประคองที่สำคัญได้” นายณัฐชาต กล่าวทิ้งท้าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น