วว.วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกล้วยไข่จังหวัดกำแพงเพชร “พันธุ์เตี้ย ลำต้นแข็งแรง ปลูกชิดได้มากขึ้น ให้ผลผลิตเร็ว”
กล้วย เป็นพรรณไม้ล้มลุกในสกุล Musa มีหลายชนิดในสกุล บางชนิดก็ออกหน่อแต่ว่าบางชนิดก็ไม่ออกหน่อ ใบแบนยาวใหญ่ ก้านใบตอนล่างเป็นกาบยาวหุ้มห่อซ้อนกันเป็นลำต้น ออกดอกที่ปลายลำต้นเป็น ปลี และมักยาวเป็นงวง มีลูกเป็นหวี ๆ รวมเรียกว่า เครือ จังหวัดกำแพงเพชรถูกขนานนามว่าเป็นเมืองกล้วยไข่ เนื่องจากมีกล้วยไข่เป็นผลไม้ที่เป็นเอกลักษณ์ประจำจังหวัด เป็นกล้วยไข่ที่อร่อยขึ้นชื่อที่สุดจนเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป แต่ปัจจุบันพื้นที่ปลูกลดลงอย่างมาก ซึ่งมาจากหลายสาเหตุ แต่ก็ยังมีผู้ที่อนุรักษ์สืบสานปลูกกล้วยไข่ต่อไปอีก โดยเฉพาะกล้วยไข่พันธ์แท้ของ จ.กำแพงเพชร โดยกระจายไปตามอำเภอต่าง
เดิมจังหวัดกำแพงเพชรมีเกษตรกรปลูกกล้วยไข่มากถึง 40,000 ไร่ มีรายได้เข้าจังหวัดประมาณ 200 ล้านบาท แต่ปัจจุบันลดลงมาเหลือน้อยกว่า 4,000 ไร่ โดยกระจายอยู่ในเขต อ.เมือง คลองขลุง โกสัมพีและคลองลาน แต่ยังสามารถทำเงินให้เกษตรกรได้ไม่ต่ำกว่า 60 ล้านบาท
ส่วนสาเหตุที่พื้นที่เพาะปลูกน้อยลงจากพายุฤดูร้อนหรือพายุฟ้าคะนอง ซึ่งจะเกิดขึ้นในฤดูร้อน ช่วงเดือนเมษายนหรือในช่วงก่อนเริ่มต้นฤดูฝน ขณะที่อุณหภูมิในภาคต่างๆเริ่มสูงขึ้น เนื่องจากแกนของโลกเริ่มเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์ และดวงอาทิตย์จะเคลื่อนมาอยู่ที่บริเวณเส้นศูนย์สูตร ทำให้อากาศร้อนอบอ้าวและชื้นในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและตอนบนของภาคกลาง อากาศที่อยู่ใกล้ผิวพื้นจะมีอุณหภูมิสูง ประกอบกับลมที่พัดเข้าสู่ประเทศไทยเป็นลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดมาจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ ในระยะนี้ถ้ามีลมเหนือ (อากาศเย็น) พัดลงมาจากประเทศจีนจะทำให้อากาศสองกระแสกระทบกัน ทำให้การหมุนเวียนของอากาศแปรปรวนขึ้นอย่างรวดเร็วและฉับพลัน เป็นเหตุให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองอย่างแรงและรวดเร็ว มีฟ้าแลบ (Lightning) ฟ้าร้อง (Thunder) และฟ้าผ่ารวมอยู่ด้วย นอกจากนี้มักจะมีลมกระโชกแรงและฝนตกหนักเกิดขึ้น บางครั้งยังมีลูกเห็บตกลงมาด้วย พายุฟ้าคะนองนี้เป็นพายุที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาอันสั้นและพายุดังกล่าวเป็นพายุที่พัดมาไม่มีทิศทางยากจะป้องกัน โดยจะมีพายุสองช่วงคือช่วงเดือนต้นฤดูฝนช่วงมีนาคมและช่วงปลายฤดูฝนในเดือนตุลาคม จึงทำให้ลมพัดต้นกล้วยไข่หักเสียหาย ประกอบกับกล้วยไข่ให้ผลผลิตปีละครั้ง ถ้าเสียหายก็ขาดทุนหมด เกษตรกรจึงหันไปปลูกพืชอื่นทดแทนพื้นที่ปลูกกล้วยไข่ของจังหวัดกำแพงเพชรจึงลดลงอย่างมาก
เดิมจังหวัดกำแพงเพชรมีเกษตรกรปลูกกล้วยไข่มากถึง 40,000 ไร่ มีรายได้เข้าจังหวัดประมาณ 200 ล้านบาท แต่ปัจจุบันลดลงมาเหลือน้อยกว่า 4,000 ไร่ โดยกระจายอยู่ในเขต อ.เมือง คลองขลุง โกสัมพีและคลองลาน แต่ยังสามารถทำเงินให้เกษตรกรได้ไม่ต่ำกว่า 60 ล้านบาท
ส่วนสาเหตุที่พื้นที่เพาะปลูกน้อยลงจากพายุฤดูร้อนหรือพายุฟ้าคะนอง ซึ่งจะเกิดขึ้นในฤดูร้อน ช่วงเดือนเมษายนหรือในช่วงก่อนเริ่มต้นฤดูฝน ขณะที่อุณหภูมิในภาคต่างๆเริ่มสูงขึ้น เนื่องจากแกนของโลกเริ่มเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์ และดวงอาทิตย์จะเคลื่อนมาอยู่ที่บริเวณเส้นศูนย์สูตร ทำให้อากาศร้อนอบอ้าวและชื้นในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและตอนบนของภาคกลาง อากาศที่อยู่ใกล้ผิวพื้นจะมีอุณหภูมิสูง ประกอบกับลมที่พัดเข้าสู่ประเทศไทยเป็นลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดมาจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ ในระยะนี้ถ้ามีลมเหนือ (อากาศเย็น) พัดลงมาจากประเทศจีนจะทำให้อากาศสองกระแสกระทบกัน ทำให้การหมุนเวียนของอากาศแปรปรวนขึ้นอย่างรวดเร็วและฉับพลัน เป็นเหตุให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองอย่างแรงและรวดเร็ว มีฟ้าแลบ (Lightning) ฟ้าร้อง (Thunder) และฟ้าผ่ารวมอยู่ด้วย นอกจากนี้มักจะมีลมกระโชกแรงและฝนตกหนักเกิดขึ้น บางครั้งยังมีลูกเห็บตกลงมาด้วย พายุฟ้าคะนองนี้เป็นพายุที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาอันสั้นและพายุดังกล่าวเป็นพายุที่พัดมาไม่มีทิศทางยากจะป้องกัน โดยจะมีพายุสองช่วงคือช่วงเดือนต้นฤดูฝนช่วงมีนาคมและช่วงปลายฤดูฝนในเดือนตุลาคม จึงทำให้ลมพัดต้นกล้วยไข่หักเสียหาย ประกอบกับกล้วยไข่ให้ผลผลิตปีละครั้ง ถ้าเสียหายก็ขาดทุนหมด เกษตรกรจึงหันไปปลูกพืชอื่นทดแทนพื้นที่ปลูกกล้วยไข่ของจังหวัดกำแพงเพชรจึงลดลงอย่างมาก
กล้วยไข่กำแพงเพชร เป็นพันธุ์กล้วยที่มีคุณภาพดี รสหวาน เนื้อแน่น ผิวบาง เนื้อผลสีเหลือง เป็นพืชอัตลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชร เกษตรกรพยายามอนุรักษ์และสืบสานให้อยู่ต่อและคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์เปลือกบางผิวตกกระ เนื้อแน่นเหนียว รสชาติหวาน ผลไม่เล็กไม่ใหญ่ ต้นกล้วยไข่พันธุ์พื้นเมืองกำแพงเพชร ต้นจะเล็ก สูงประมาณ 2 เมตรถึง 3 เมตร ผลไม่ใหญ่ไม่เล็ก ผิวเมื่อสุกแล้วสีเหลืองสดใส แก่จัดผิวจะตกกระเป็นจุดสีน้ำตาลดำ รสชาติหวานวัดได้ประมาณ 24 องศาบริกซ์ ไม่มีรสเปรี้ยว เนื้อแน่นเหนียวตลอดทั้งลูก เปลือกบางจึงไม่เหมาะกับการส่งออก แต่เหมาะสำหรับบริโภคสด ผิดกับพันธุ์อื่นๆ ซึ่งลูกใหญ่ที่ปลูกในจังหวัดอื่นๆ เพื่อส่งออก แต่รสชาติต่างกันมาก กล้วยกำแพงเพชรจึงเหมาะสมกับการอนุรักษ์และสืบสานต่อกล้วยไข่ให้อยู่คู่กับจังหวัดกำแพงเพชรต่อไป
ดร.กุศล เอี่ยมทรัพย์ นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า วว. ได้รับงบประมาณในการดำเนินการ โครงการการพัฒนาเกษตรกรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม(InnoAgri) เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตผลทางการเกษตรภาคเหนือ (กล้วยไข่) และได้รับทราบถึงปัญหาการเสียหายจากลมพายุและมุ่งหวังที่จะทำการเพิ่มคุณภาพและผลผลิตกล้วยไข่กำแพงเพช โดยได้ทำการทดลองเพื่อลดความสูงของกล้วยไข่โดยใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชราดผสมน้ำราดที่โคนกล้วยไข่อายุ 4 เดือนอัตราห้ากรัมต่อต้น ซึ่งสารดังกล่าวสามารถลดความสูงของกล้วยไข่ลงได้ประมาณหนึ่งเมตร ลักษณะลำต้นแข็งแรงและเมื่อมีลมพายุพัดเข้ามาพบว่า สามารถต้านทานการหักล้มได้ดีกว่ากล้วยไข่ที่ปกติและให้ผลเร็วกว่ากล้วยไข่ปกติประมาณสิบวัน
"... เทคโนโลยีการลดความสูงของกล้วยไข่เพื่อลดความเสียหายจากลมพายุ เป็นเทคโนโลยีที่มีต้นทุน 1 บาทต่อต้น แต่ลดความเสียหายได้ดี นอกจากนี้กล้วยลักษณะดังกล่าวยังสามารถทำการปลูกชิดได้มากขึ้นทำให้เกษตรมีรายได้มากขึ้นจากกล้วยที่ไม่เสียหายและจำนวนต้นต่อพื้นที่มากขึ้น นอกจากการลดความสูงของกล้วยไข่แล้ว สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย หรือ วว. ยังได้ทำการวิจัยเพื่อเพิ่มขนาดและน้ำหนักของผลกล้วยไข่ โดยใช้สารกลุ่มจิบเบอเรลลินฉีดพ่นโดยตรงที่ผลอ่อนจำนวนสองครั้งห่างกันหนึ่งสัปดาห์ ที่ความเข้มข้นห้าสิบส่วนในล้านส่วน ซึ่งมีต้นทุนประมาณสี่บาทต่อเครือ จากการทดลองพบว่าสามารถเพิ่มขนาดและน้ำหนักของผลกล้วยไข่ได้เพิ่มขึ้น 50-70 เปอร์เซ็นต์ และจากขนาดและน้ำหนักผลที่เพิ่มขึ้นทำให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้นจากทั้งน้ำหนักและราคาของเกรดผลกล้วยต่อหน่วยที่เพิ่มขึ้นด้วย..." นักวิจัยอาวุโส วว. กล่าวสรุป
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือขอรับคำปรึกษาเกี่ยวกับ "เทคโนโลยีการผลิตกล้วยไข่กำแพงเพชร" ผลงานวิจัยและพัฒนาของ วว. ได้ที่ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (ดร.กุศล เอี่ยมทรัพย์) โทร. 0 2577 9000 www.tistr.or.th Line @tistr
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น