ผู้ก่อตั้งหัวเว่ย: “เราไม่สนเรื่องสหรัฐฯ แบนเราอีกแล้ว”
"ให้อเมริกาใส่ชื่อหัวเว่ยในบัญชีดำตลอดไปก็ได้ เพราะเราอยู่ได้สบาย ๆ อยู่แล้ว" มร. เหริน เจิ้งเฟย กล่าว
หัวเว่ย เทคโนโลยี่ ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุด และผู้ผลิตสมาร์ทโฟนอันดับสองของโลก ประกาศกร้าวว่าบริษัทเลิกสนใจการโจมตีอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลทรัมป์ไปนานแล้ว "เราไม่คาดหวังว่าสหรัฐอเมริกาจะถอนชื่อหัวเว่ยออกจากบัญชีดำ" มร. เหริน เจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของหัวเว่ย ประกาศระหว่างการให้สัมภาษณ์เมื่อเร็ว ๆ นี้ กับหนังสือพิมพ์เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล "ให้อเมริกาใส่ชื่อหัวเว่ยในบัญชีดำตลอดไปก็ได้ เพราะเราอยู่ได้สบาย ๆ อยู่แล้ว" มร. เหริน กล่าวเสริม
เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา หัวเว่ยถูกรวมเข้าไปอยู่ในบัญชี Entity List ของสหรัฐอเมริกา มีผลบังคับไม่ให้หัวเว่ยทำธุรกิจใด ๆ กับบริษัทสัญชาติอเมริกัน นับเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่หัวเว่ยมองว่ามีผลกระทบเพียงเล็กน้อยกับธุรกิจของบริษัท ภายหลังจากการขึ้นบัญชีดำ มร. เหริน เองได้คาดการณ์ไว้ว่า หัวเว่ยอาจต้องสูญเสียรายได้ราว 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่การประเมินของเขากลับไม่ถูกต้อง เพราะบริษัทประกาศว่ารายได้ในช่วง 9 เดือนแรกของปีเติบโตสูงขึ้นถึง 24% ในเดือนกันยายน มร. แอนดี้ เพอร์ดี้ ประธานเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยของหัวเว่ย เทคโนโลยี่ สหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า บริษัทซื้อชิ้นส่วนจากบริษัทอเมริกาไปเป็นมูลค่ากว่า 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2018 ซึ่งหากขาดรายได้จากการสั่งซื้อของหัวเว่ย บริษัทสหรัฐฯ จะต้องขาดทุนมหาศาล
แม้ว่าจะโดนแบน มร. เหริน กล่าวย้ำว่า เขาไม่เคยเกลียดสหรัฐฯ และหัวเว่ยก็จะไม่ปิดประตูใส่ประเทศใด ๆ เพื่อประโยชน์ด้านความก้าวหน้าและการพัฒนาด้านดิจิทัลอย่างรวดเร็วของโลก ซีอีโอของหัวเว่ยกล่าวย้ำมาโดยตลอดว่าตนยึดถือหลัก "ความร่วมมือที่เปิดกว้างเพื่อความสำเร็จร่วมกัน" และต้องการที่จะทำงานกับทุกประเทศทั่วโลกเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาโลกยุคดิจิทัล เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา มร. เหริน ได้ประกาศขายเทคโนโลยี 5G ของหัวเว่ย รวมถึงองค์ความรู้และลิขสิทธ์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าว
ให้แก่บริษัทสหรัฐฯ ในการสัมภาษณ์ครั้งนี้ เขาย้ำว่าข้อเสนอของเขานั้นเป็นเรื่องจริง และยังเปิดรับอยู่ แต่จนขณะนี้ก็ยังไม่มีบริษัทใดติดต่อเข้ามา
เมื่อนักข่าวถามเรื่องข้อกล่าวหาที่ปราศจากหลักฐานของสหรัฐฯ ที่ว่า หัวเว่ยอาจต้องปฏิบัติตามกฎหมายในการส่งข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าให้แก่รัฐบาลจีน หากมีการร้องขอ มร. เหริน กำชับว่า เขาและพนักงานเกือบ 200,000 คนทั่วโลกจะปฏิเสธคำร้องขอนั้น พร้อมยืนยันว่า บริษัทมีมาตรการที่เข้มงวดต่อการทำผิดกฎระเบียบของพนักงาน และบุคคลใดก็ตามที่ทำความผิด จะได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง
มร. เหริน รวมถึงผู้บริหารระดับสูงทุกคน ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาของรัฐบาลสหรัฐฯ เรื่องการสอดแนมมาหลายต่อหลายครั้งว่า มันไม่มีมูลความจริงแต่อย่างใด นี่เป็นเพียงการโจมตีโดยมีเหตุจูงใจทางการเมืองของสหรัฐฯ ซึ่งหวังทำลายการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี 5G ของหัวเว่ย ถึงกระนั้นก็ตาม บริษัทก็ยังนำโด่งในฐานะผู้ให้บริการโซลูชั่น 5G ที่ครบวงจรและทันสมัยที่สุด และได้คว้าสัญญา 5G เชิงพาณิชย์ไปแล้วกว่า 50 ฉบับทั่วโลก หัวเว่ยจะไม่มีวันหยุดพัฒนานวัตกรรมด้าน 5G, AI และโมบายเทคโนโลยี โดยถือเป็นหนึ่งในบริษัทที่ลงทุนด้าน R&D มากที่สุดในโลก ในอีก 5 ปีข้างหน้า หัวเว่ยมีแผนที่จะทุ่มงบถึง 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อก่อตั้งศูนย์นวัตกรรมและ R&D ทั่วโลก
เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา หัวเว่ยถูกรวมเข้าไปอยู่ในบัญชี Entity List ของสหรัฐอเมริกา มีผลบังคับไม่ให้หัวเว่ยทำธุรกิจใด ๆ กับบริษัทสัญชาติอเมริกัน นับเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่หัวเว่ยมองว่ามีผลกระทบเพียงเล็กน้อยกับธุรกิจของบริษัท ภายหลังจากการขึ้นบัญชีดำ มร. เหริน เองได้คาดการณ์ไว้ว่า หัวเว่ยอาจต้องสูญเสียรายได้ราว 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่การประเมินของเขากลับไม่ถูกต้อง เพราะบริษัทประกาศว่ารายได้ในช่วง 9 เดือนแรกของปีเติบโตสูงขึ้นถึง 24% ในเดือนกันยายน มร. แอนดี้ เพอร์ดี้ ประธานเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยของหัวเว่ย เทคโนโลยี่ สหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า บริษัทซื้อชิ้นส่วนจากบริษัทอเมริกาไปเป็นมูลค่ากว่า 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2018 ซึ่งหากขาดรายได้จากการสั่งซื้อของหัวเว่ย บริษัทสหรัฐฯ จะต้องขาดทุนมหาศาล
แม้ว่าจะโดนแบน มร. เหริน กล่าวย้ำว่า เขาไม่เคยเกลียดสหรัฐฯ และหัวเว่ยก็จะไม่ปิดประตูใส่ประเทศใด ๆ เพื่อประโยชน์ด้านความก้าวหน้าและการพัฒนาด้านดิจิทัลอย่างรวดเร็วของโลก ซีอีโอของหัวเว่ยกล่าวย้ำมาโดยตลอดว่าตนยึดถือหลัก "ความร่วมมือที่เปิดกว้างเพื่อความสำเร็จร่วมกัน" และต้องการที่จะทำงานกับทุกประเทศทั่วโลกเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาโลกยุคดิจิทัล เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา มร. เหริน ได้ประกาศขายเทคโนโลยี 5G ของหัวเว่ย รวมถึงองค์ความรู้และลิขสิทธ์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าว
ให้แก่บริษัทสหรัฐฯ ในการสัมภาษณ์ครั้งนี้ เขาย้ำว่าข้อเสนอของเขานั้นเป็นเรื่องจริง และยังเปิดรับอยู่ แต่จนขณะนี้ก็ยังไม่มีบริษัทใดติดต่อเข้ามา
เมื่อนักข่าวถามเรื่องข้อกล่าวหาที่ปราศจากหลักฐานของสหรัฐฯ ที่ว่า หัวเว่ยอาจต้องปฏิบัติตามกฎหมายในการส่งข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าให้แก่รัฐบาลจีน หากมีการร้องขอ มร. เหริน กำชับว่า เขาและพนักงานเกือบ 200,000 คนทั่วโลกจะปฏิเสธคำร้องขอนั้น พร้อมยืนยันว่า บริษัทมีมาตรการที่เข้มงวดต่อการทำผิดกฎระเบียบของพนักงาน และบุคคลใดก็ตามที่ทำความผิด จะได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง
มร. เหริน รวมถึงผู้บริหารระดับสูงทุกคน ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาของรัฐบาลสหรัฐฯ เรื่องการสอดแนมมาหลายต่อหลายครั้งว่า มันไม่มีมูลความจริงแต่อย่างใด นี่เป็นเพียงการโจมตีโดยมีเหตุจูงใจทางการเมืองของสหรัฐฯ ซึ่งหวังทำลายการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี 5G ของหัวเว่ย ถึงกระนั้นก็ตาม บริษัทก็ยังนำโด่งในฐานะผู้ให้บริการโซลูชั่น 5G ที่ครบวงจรและทันสมัยที่สุด และได้คว้าสัญญา 5G เชิงพาณิชย์ไปแล้วกว่า 50 ฉบับทั่วโลก หัวเว่ยจะไม่มีวันหยุดพัฒนานวัตกรรมด้าน 5G, AI และโมบายเทคโนโลยี โดยถือเป็นหนึ่งในบริษัทที่ลงทุนด้าน R&D มากที่สุดในโลก ในอีก 5 ปีข้างหน้า หัวเว่ยมีแผนที่จะทุ่มงบถึง 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อก่อตั้งศูนย์นวัตกรรมและ R&D ทั่วโลก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น