แก้ปัญหาสายตาผิดปกติด้วยวิธีเลสิก (LASIK) - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2562

แก้ปัญหาสายตาผิดปกติด้วยวิธีเลสิก (LASIK)

แก้ปัญหาสายตาผิดปกติด้วยวิธีเลสิก (LASIK)

แก้ปัญหาสายตาผิดปกติด้วยวิธีเลสิก (LASIK)

          เลสิก (LASIK) เป็นวิธีการผ่าตัดรักษาภาวะสายผิดปกติ สั้น ยาว เอียง สามารถทำงานได้ 2 ลักษณะ ด้วยความถี่สูงที่สุดถึง 500 Hz ใช้ระยะเวลาการรักษาน้อย รวดเร็ว แม่นยำ ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ ซึ่งการรักษาด้วยเลสิกเป็นการแก้ปัญหาอย่างถาวร หากมีการเปลี่ยนแปลงก็มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

          ทั้งนี้บางท่านอาจมองว่าการทำเลสิกนั้นน่ากลัว แต่ในความเป็นจริงการทำเลสิก ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพราะอุปกรณ์การทำเลสิก เป็นเลเซอร์เย็นที่มาเปลี่ยนความโค้งของกระจกตาดำด้านหน้า วิธีการทำก็เพียงหยอดยาชาที่ตาทั้ง 2 ข้าง และใช้เวลาประมาณ 30 นาที
          โดยผู้ที่สนใจทำเลสิก ต้องเข้ามาปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการตรวจประเมินสภาพตาอย่างละเอียด จากนั้นแพทย์จะพิจารณาว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมกับการทำเลสิกหรือไม่ ซึ่งหากมีการใส่คอนแทคเลนส์ ควรงดใส่คอนแทคเลนส์ ชนิดนิ่มอย่างน้อย 3 วันก่อนเข้ารับการตรวจ หรือหากใส่ชนิดแข็งหรือกึ่งแข็งกึ่งนิ่ม ควรงดอย่างน้อย 14 วัน ทั้งนี้ในวันที่เข้ารับการตรวจควรมีญาติมาด้วย เพื่อพากลับบ้าน เนื่องจากต้องหยอดยาขยายม่านตา ซึ่งจะมีผลให้ตามัว สู้แสงไม่ได้หลังหยอดยาประมาณ 3-4 ชั่วโมง
          สำหรับผลข้างเคียงที่บางท่านอาจกังวล อาทิ การติดเชื้อ ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำมาก เมื่อเทียบกับการศัลยกรรมอื่น อีกทั้งอาการตาแห้งซึ่งพบได้บ่อย หรือแสงกระจายเวลากลางคืน จะเป็นอยู่เพียงชั่วคราวเท่านั้น อย่างไรก็ตามยังไม่เคยมีรายงานผู้ป่วยติดเชื้อจากการทำเลสิก ในส่วนของโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น มีเลเซอร์ที่ใช้ทำเลสิก ซึ่งเรียกว่า เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer Laser) เป็นแสงที่ทำปฏิกิริยากับกระจกตาเท่านั้น และเป็นแสงที่ปลอดภัยมากสำหรับการผ่าตัดดวงตา อย่างไรก็ตามยังไม่เคยมีรายงานการสูญเสียดวงตาจากการรักษาด้วยเลสิก แต่อย่างใด โดยการพักฟื้นหลังทำเลสิก ในระดับแรกการมองเห็นจะดีขึ้นร้อยละ 80 ถึง 90 และในวันรุ่งขึ้นจะดีขึ้นเรื่อยๆ จนในวันต่อมา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับสายตาเดิมก่อนเข้ารับการรักษา ส่วนมากผู้ป่วยจะสามารถทำงานเบาๆ ได้ทันทีในวันต่อมา แต่ต้องเป็นงานที่ไม่ได้ใช้สายตามากนัก โดยผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป สามารถทำเข้ารับการทำเลสิกได้ รวมถึง ผู้ที่มีสายตาสั้น สายตายาวโดยกำเนิด หรือสายตาเอียงและสายตายาวตามอายุ โดยมีสายตาที่ผิดปกติคงที่ (อย่างน้อย 1 ปี) และไม่มีโรคของกระจกตาต่างๆ หรือโรคตาชนิดอื่น รวมทั้งไม่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

          พญ. เกศรา โกสัลล์ประไพ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านจักษุวิทยา
          ศูนย์ดวงตาและเลสิก ชั้น 2 โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น
          สอบถามโทร. 02-910-1600 ต่อ 1433, 143
7

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad