เสริมภูมิคุ้มกันร่างกายให้แกร่งด้วยโภชนาการ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2563

เสริมภูมิคุ้มกันร่างกายให้แกร่งด้วยโภชนาการ

โดย ดร. เดวิด ฮีเบอร์ ประธานคณะกรรมการสถาบันโภชนาการเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น
ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่
2019 หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ COVID-19 ได้แพร่ระบาดไปทั่วโลกโดยไม่มีใครคาดคิด
โดยเฉพาะอัตราการติดเชื้อและยอดผู้เสียชีวิตที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์
สิ่งที่น่ากังวลใจที่สุดก็คือ แม้เราจะรู้ว่าไวรัส Covid-19 เป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดียวกับไวรัสโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome: MERS) และโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือโรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome: SARS) แต่เราก็ยังไม่รู้จักลักษณะเฉพาะอื่น ๆ ของเจ้าไวรัสชนิดนี้มากนัก เช่น การแพร่เชื้อที่รวดเร็ว ฯลฯ องค์การอนามัยโลกกล่าวด้วยว่า อาจต้องใช้เวลาถึง 1 ปีครึ่งถึงจะสามารถผลิตวัคซีนป้องกันโรค Covid-19 ชุดแรกออกมาให้บริการผู้คนได้[1]
การรักษาหรือป้องกันการแพร่เชื้อโรค
Covid-19 และโรคอื่น ๆ ต้องอาศัยเพียงตัวยาที่ผ่านการรับรองเท่านั้น
อย่างไรก็ดี ในขณะที่ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคดังกล่าว
เราจำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันที่สามารถทำได้จริง อาทิ การดูแลรักษาความสะอาดให้เหมาะสม
สวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่อจำเป็น และรักษาระยะห่างระหว่างตนเองกับผู้อื่น
(Social Distancing) นอกจากนี้ การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงก็เป็นสิ่งสำคัญ
เพราะจะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของเราทำงานได้ดี
อันที่จริงแล้ว
ระบบภูมิคุ้มกันของเราคือหนึ่งในกลไกป้องกันการติดเชื้อไวรัสในร่างกายที่มีประสิทธิภาพที่สุด
ภูมิคุ้มกันร่างกายแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด (Innate
Immunity) ที่ช่วยป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย
และภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ
(Adaptive Immunity) ที่ทำหน้าที่กำจัดหรือยังยั้งการเติบโตของเชื้อโรคในร่างกาย
เช่น ไวรัสและแบคทีเรีย
อย่างไรก็ตาม การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่าย เพราะยังมีอีกหลายสิ่งเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันที่นักวิจัยยังต้องค้นคว้าและทำความเข้าใจ แต่สิ่งที่เราทุกคนรู้ก็คือ ระบบภูมิคุ้มกันมีความเกี่ยวข้องกับโภชนาการอย่างไม่อาจปฏิเสธได้[2]
เสริมภูมิคุ้มกันร่างกายให้แกร่งด้วยโภชนาการ
บทบาทของโภชนาการต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
การจะทำความเข้าใจบทบาทของโภชนาการและอาหารต่อระบบภูมิคุ้มกันของแต่ละคน
เราต้องค้นลึกลงไปถึงศาสตร์ที่เรียกว่า epigenetics
ที่ศึกษาเกี่ยวกับกลไกทางชีววิทยาซึ่งทำหน้าที่เปิดปิดสวิทช์การทำงานของยีนส์
ไอเดียเรื่องศาสตร์ Epigenetics อาจฟังดูซับซ้อน แต่ให้ลองนึกถึง “ผึ้ง” (Honeybees) เป็นตัวอย่าง[3] แม้ผึ้งทุกตัวจะมีลำดับของพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอแบบเดียวกัน แต่ผึ้งก็สามารถกลายเป็นผึ้ง 3 ชนิดแตกต่างกันได้ ได้แก่ ผึ้งงาน ผึ้งตัวผู้ และผึ้งนางพญา ขึ้นอยู่กับอาหารที่ตัวอ่อนผึ้งกินเข้าไป นั่นแปลว่าแม้ผึ้งงานทุกตัวจะมียีนส์ที่สามารถโตไปเป็นผึ้งนางพญาได้ แต่ด้วยอาหารที่กินแตกต่างกันจึงส่งผลต่อการทำงานของยีนส์และทำให้พวกมันมีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกันในท้ายที่สุด
เช่นเดียวกันกับมนุษย์
ที่แม้ว่าร้อยละ 99.9 ของมนุษย์ทุกคนจะมีลักษณะทางพันธุกรรมแบบเดียวกัน แต่ epigenetics หรือปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ที่อยู่เหนือจากพันธุกรรม ก็ทำให้เราแต่ละคนมีลักษณะทางกายภาพเฉพาะตัวที่เกิดขึ้นจากองค์ประกอบของยีนส์ที่เปิดปิดสวิตช์การทำงานแตกต่างกัน
จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมบางคนถึงมีผมสีแดง บางคนผมสีดำ
หรือทำไมบางคนมีผิวเข้มและบางคนผิวสีอ่อน เป็นต้น
ปัจจัยต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่เรารับประทาน บริเวณที่เราอยู่อาศัย
จำนวนชั่วโมงที่เรานอนหลับ วิธีการออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งผู้คนที่เราอาศัยอยู่ด้วย
ทั้งหมดนี้ล้วนก่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมีที่สร้างผลกระทบต่อสุขภาพของเราได้ทั้งสิ้น
รวมไปถึงไมโครไบโอม (Microbiome) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ในร่างกายที่ช่วยป้องกันเราจากเชื้อโรค
ย่อยอาหารให้กลายเป็นพลังงาน สร้างวิตามินสำคัญ และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแกร่ง     
ส่วนที่ใหญ่ที่สุด
หรือประมาณร้อยละ 70 ของระบบภูมิคุ้มกัน ตั้งอยู่ใกล้กับลำไส้
ซึ่งคอยตรวจสอบปริมาณอาหารที่เรารับประทานเข้าไป พร้อมกับกำหนดว่าร่างกายควรนำอาหารเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง
จึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่เราต้องรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสม
ประกอบด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารสำคัญต่าง ๆ
และมีไลฟ์สไตล์ที่ช่วยให้สุขภาพดีอยู่เสมอ มันไม่ใช่เพียงปรับเปลี่ยนปริมาณสารอาหารแค่หนึ่งหรือสองกลุ่ม
แต่เราต้องดูแลทั้งมื้ออาหารให้สมดุลเพื่อให้แน่ใจว่าได้รับปริมาณสารอาหารเพียงพอต่อเซลล์ทุกระดับในร่างกาย
4 กลุ่มสารอาหารสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกั
โปรตีน (Protein)
โปรตีน หรือที่รู้จักกันในฐานะหน่วยโครงสร้างพื้นฐานของร่างกาย ช่วยให้ร่างกายสามารถสร้างแอนติบอดี้ที่จำเป็นต่อการป้องกันไวรัสและแบคทีเรียที่รุกล้ำเข้ามาในร่างกาย เพื่อให้แน่ใจว่าเราได้รับปริมาณโปรตีนอย่างเพียงพอ เราสามารถรับประทานอาหารที่มีโปรตีนชั้นดีให้มากขึ้นจากปลา สัตว์ปีก เนื้อไร้ไขมัน อาหารจำพวกถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันต่ำ
วิตามินและสารพฤกษเคมี (Vitamins and phytonutrients)
วิตามินเอและซี รวมทั้งสารพฤกษเคมี
ล้วนมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพภูมิคุ้มกันของเรา วิตามินซีซึ่งเป็นอีกหนึ่งตัวเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่สำคัญที่สุด
ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายผลิตแอนติบอดี้ที่ต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บในแต่ละวันเราจึงต้องรับประทานวิตามินซีในปริมาณที่เหมาะสม
เพราะร่างกายไม่สามารถสร้างหรือเก็บสะสมวิตามินซีไว้ได้ ในขณะที่วิตามินเอก็ช่วยบำรุงสุขภาพผิว
เนื้อเยื่อของระบบย่อยอาหาร และระบบทางเดินหายใจ
สารพฤกษเคมีที่พบในผักและผลไม้ ช่วยให้ร่างกายลดความเข้มข้นของอนุมูลอิสระที่เป็นตัวการทำให้ร่างกายอ่อนแอไม่สามารถต่อสู้กับความเจ็บป่วยได้ สารพฤกษเคมีหลายอย่างช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งและโรคหลอดเลือดและหัวใจ บรรเทาการอักเสบ ลดความดันเลือด และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโดยรวมได้เป็นอย่างดี
โพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์(Probiotics and prebiotics)
ระบบย่อยอาหารทำหน้าที่หลักในการส่งเสริมการทำงานของภูมิคุ้มกัน
ระบบลำไส้คือเส้นทางสำคัญที่ต้องสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอก อีกทั้งเป็นทางเดินที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ไมโครไบโอมที่ช่วยเรื่องย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย
การมีแบคทีเรียลำไส้ที่ดีนับว่ามีคุณประโยชน์หลายประการ อาทิ ช่วยให้น้ำหนักลดลง
ย่อยอาหารได้ดีขึ้น ผิวพรรณสดใส และที่สำคัญที่สุดคือช่วยให้ภูมิคุ้มกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่างานวิจัยในหัวข้อดังกล่าวจะยังไม่มีผลสรุปแน่ชัดหรือยอมรับกันโดยทั่วไปก็ตาม
หลายงานศึกษาวิจัยพบว่า โพรไบโอติกส์ ซึ่งเป็น “แบคทีเรียชนิดดี” มีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหาร และพรีไบโอติกส์ ซึ่งเป็นประเภทเส้นใยอาหารที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถย่อยได้ ก็ถือเป็นอาหารของโพรไบโอติกส์เหล่านี้ด้วย
กรดไขมันโอเมก้า 3 (Omega-3 fatty acids)
กรดไขมันโอเมก้า 3 ได้แก่ DHA และ EPA มีประโยชน์ต่อสุขภาพและเป็นไขมันสำคัญที่พบได้ในอาหารจำพวกเมล็ดเจียและอาหารเสริมต่าง
ๆ เช่น น้ำมันปลา กรดไขมันโอเมก้า 3 มีส่วนช่วยการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกัน
ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อภูมิคุ้มกันโดยกำเนิดและภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะที่ต่อสู้กับการติดเชื้อ
จำไว้ว่า โภชนาการไม่ใช่สิ่งที่นำมาใช้รักษาร่างกายแทนยาที่มีประสิทธิภาพได้ และไม่สามารถป้องกันเราจากการติดเชื้อโรค Covid-19 และโรคอื่น ๆ ด้วย ทว่าการรักษาระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงคือเรื่องง่าย ๆ ที่เราทุกคนควรทำเพื่อการมีสุขภาพดีท่ามกลางภาวะวิกฤตเช่นนี้
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น ประเทศไทย สามารถเยี่ยมชมที่เว็บไซต์  www.Herbalife.co.th หรือ https://www.facebook.com/HerbalifeThailandOfficial หรือติดต่อ 02-660-1600
เกี่ยวกับเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น จำกัด
เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น
เป็นบริษัทระดับโลกที่ช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คนด้วยผลิตภัณฑ์โภชนาการที่ดีและมอบโอกาสทางธุรกิจที่เชื่อถือได้แก่สมาชิกอิสระของเฮอร์บาไลฟ์
นิวทริชั่น มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น ส่งมอบผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงที่ผ่านการรับรองทางวิทยาศาสตร์ให้กว่า
90 ประเทศทั่วโลกผ่านสมาชิกผู้จำหน่ายอิสระที่พร้อมให้คำแนะนำเฉพาะบุคคล
รวมถึงแนวทางในการสนับสนุนชุมชน
ที่เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้บริโภคได้ใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดีและมีวิถีชีวิตที่กระฉับกระเฉงยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ด้วยแคมเปญระดับโลกของเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น
ที่รณรงค์ขจัดปัญหาความหิวโหยให้หมดไป เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น
จึงมุ่งมั่นอุทิศตนเพื่อส่งมอบโภชนาการและให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องแก่ชุมชนต่าง ๆ
ทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง 
รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถคลิกดูได้ที่เว็บไซต์ IAmHerbalifeNutrition.com
เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น แนะนำให้นักลงทุนเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับนักลงทุนได้ที่ http://ir.herbalife.com เพื่อติดตามข้อมูลสำคัญด้านการเงินและอื่น ๆ ที่มีการอัพเดทข้อมูลให้เป็นปัจจุบันและมีข้อมูลใหม่ ๆ เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา
[1] https://www.straitstimes.com/asia/east-asia/coronavirus-vaccine-could-be-ready-in-18-months-who-chief
[2] https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/how-to-boost-your-immune-system
[3] https://genome.cshlp.org/content/early/2018/08/20/gr.236497.118

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad