จัดงบกองทุนอนุรักษ์ฯ3.6 พันล้านหนุนเศรษฐกิจฐานราก จับตาคนแห่ขอทำโซลาร์สูบน้ำ,โซลาร์โฮม - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

จัดงบกองทุนอนุรักษ์ฯ3.6 พันล้านหนุนเศรษฐกิจฐานราก จับตาคนแห่ขอทำโซลาร์สูบน้ำ,โซลาร์โฮม


กระทรวงพลังงานอัดงบกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ปี 2563 กว่า 3,600 ล้านบาท หนุนกลุ่มงานสนับสนุนลดต้นทุน ยกระดับคุณภาพชีวิต เพิ่มเศรษฐกิจฐานราก โดยมอบ“สำนักงานการมีส่วนร่วมของประชาชน”ช่วยกำหนดเงื่อนไขหลักเกณฑ์สนับสนุน และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้เสนอของบ  จับตา โครงการโซลาร์สูบน้ำและ โซลาร์โฮม จะเป็นโครงการยอดฮิต  เพราะทำได้เร็วและบวกกำไรได้มาก มีการประเมินราคาแผงโซลาร์เซลล์ไว้สูงกว่าราคาตลาด
 สำนักงานกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กำลังอยู่ระหว่างการเปิดรับข้อเสนอเข้าร่วมโครงการภายใต้งบประมาณปี 2563 ซึ่งปรับลดกรอบวงเงิน จาก 10,000 ล้านบาท เหลือ 5,400 ล้านบาท โดยจะปิดรับข้อเสนอในวันที่ 18 พ.ค. 2563 นี้
โดยโครงการที่มีการจัดสรรงบมากที่สุด คือกลุ่มงานสนับสนุนลดต้นทุน ยกระดับคุณภาพชีวิต เพิ่มเศรษฐกิจฐานราก ที่เพิ่มเติมเข้ามาใหม่ ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์  โดยมีวงเงินสนับสนุนรวม 3,600 ล้านบาท  แบ่งเป็นภายใต้แผนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานวงเงิน1,500 ล้านบาท และภายใต้แผนพลังงานทดแทนอีก 2,100 ล้านบาท
ทั้งนี้“กลุ่มงานสนับสนุนลดต้นทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตเพิ่มเศรษฐกิจฐานราก”ทั้งที่อยู่ภายใต้แผนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และแผนพลังงานทดแทน มีการวางหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสนับสนุน ใน 2 รูปแบบ คือ 1.โครงการทั่วไป และ 2. โครงการพลังงานเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ตามนโยบายพลังงานเพื่อทุกคน  ซึ่งในข้อที่ 2  นี้ หลักเกณฑ์และเงิ่อนไขสนับสนุนจะต้องเป็นไปตามที่ “สำนักงานการมีส่วนร่วมของประชาชน ” ภายใต้สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงานเป็นผู้กำหนด  และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการระดับจังหวัด เป็นผู้เสนอเท่านั้น
โดยโครงการที่อยู่ในเกณฑ์สนับสนุนตามที่ทาง“สำนักงานการมีส่วนร่วมของประชาชน ” กำหนดและมีการออกเป็นประกาศมานั้นประกอบด้วย 1.“โครงการผลิตไฟฟ้าเพื่อชุมชนพึ่งพาตนเอง(Off grid)” ได้แก่ ระบบผลิตไฟฟ้าเพื่อชุมชนพึ่งพาตนเอง(Mini Grid) และระบบไฟฟ้าพลังงานเพื่อบ้านพักอาศัย(Solar Home)
และ2. โครงการ  “สถานีพลังงานชุมชน และกรอบเทคโนโลยีพลังงาน” หรือการนำเทคโนโลยีและวัสดุทางการเกษตรไปช่วยลดต้นทุนด้านพลังงานให้กับผลิตภัณฑ์ของชุมชน ซึ่งจะเกิดการบริหารงานแบบครบวงจรทั้งต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการจำหน่าย อย่างไรก็ตามสถานีพลังงานชุมชนนี้จะต้องมีเทคโนโลยี 2 ชนิดขึ้นไป จาก 7 เทคโนโลยี ได้แก่ ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์,เทคโนโลยีการแปรรูป เช่นโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์, สถานีผลิตไฟฟ้าหรือความร้อน ,เทคโนโลยีห้องเย็นพลังงานทดแทน,โรงน้ำแข็งพลังงานทดแทน, เทคโนโลยีชีวมวล เช่น เตาประสิทธิภาพสูงชนิดต่างๆ และเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น ระบบแก๊สชีวภาพ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดห่วงโซ่การผลิตในชุมชน
 มีการตั้งข้อสังเกตและวิจารณ์กันในแวดวงพลังงานว่า โครงการยอดนิยมที่จะถูกเสนอยื่นของบมากที่สุด น่าจะเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับการใช้แผงโซลาร์เซลล์ เช่น ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ และโครงการโซลาร์โฮม เนื่องจากเป็นโครงการที่สามารถดำเนินการได้เร็ว  และบวกกำไรได้มาก โดย การประมาณราคาเบื้องต้น ที่ภาครัฐแสดงไว้ในเอกสาร  ในส่วนของระบบสูบน้ำพลังแสงอาทิตย์ ขนาด 2.5 กิโลวัตต์พร้อมถัง อยู่ที่ประมาณ 430,000-520,000 บาท  ส่วนระบบผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ ราคาแผงโซลาร์เซลล์ต่อวัตต์ อยู่ที่18-20 วัตต์(แผง) ซึ่งสูงกว่าราคาตลาดในปัจจุบัน ในขณะที่โครงการสถานีพลังงานชุมชน ที่มีเป้าหมายสำคัญในการสร้างรายได้ให้ชุมชนและขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก จะมีผู้ยื่นข้อเสนอเข้ามาน้อย เพราะต้องใช้ระยะเวลาเตรียมการและดำเนินการที่ยากกว่าและเป็นเรื่องใหม่สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะผู้เสนอโครงการ
อย่างไรก็ตามในการพิจารณาอนุมัติโครงการต่างๆที่ยื่นเสนอขอรับงบประมาณมานั้น ทางคณะอนุกรรมการกองทุน ฯ ที่มีนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธาน จะมีการกลั่นกรองดูความเหมาะสม และความยั่งยืนในการดำเนินโครงการ โดยมีความพยายามที่จะปิดจุดอ่อนที่เคยสร้างปัญหาในอดีต และกำชับไปที่พลังงานจังหวัด ให้ทำงานด้วยความรอบคอบ เป็นไปตามระเบียบข้อกฏหมายที่กำหนด
ที่มา:Energy News Center-ENC

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad