ฟิทช์คงอันดับเครดิต ปตท.สผ. ที่ ‘BBB+’ แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ฟิทช์คงอันดับเครดิต ปตท.สผ. ที่ ‘BBB+’ แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ

ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับเครดิตสากลระยะยาว (Issuer Default Rating) ของบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ที่ระดับ 'BBB+’ แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ

อันดับเครดิตของ ปตท.สผ. อยู่ในระดับเดียวกันกับอันดับเครดิตของบริษัทแม่ ซึ่งได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. ซึ่งมีอันดับเครดิตสากลระยะยาวที่ 'BBB+’ แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ สะท้อนถึงความสัมพันธ์ในด้านการดำเนินงาน และด้านกลยุทธ์ที่แข็งแกร่งระหว่างบริษัททั้งสอง อันดับเครดิตโดยลำพัง (Standalone Credit Profile) ของ ปตท.สผ. ยังคงอยู่ที่ระดับ 'bbb’ จากฐานะทางการเงินและธุรกิจที่แข็งแกร่ง ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกันกับบริษัทในธุรกิจสำรวจและผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่ถูกจัดอันดับเครดิตที่ 'BBB’
ปตท.สผ. ยังคงมีความสามารถในการเพิ่มหนี้สินโดยไม่มีผลกระทบต่ออันดับเครดิตในระดับสูง โดยบริษัทฯ ยังคงมีอัตราส่วนหนี้สินที่สอดคล้องกับอันดับเครดิต แม้ว่าจะอยู่ภายใต้สมมุติฐานที่แย่ลงของฟิทช์ที่ราคาน้ำมันและปริมาณการขายลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่บริษัทฯ มีหนี้สินสุทธิใกล้เคียงศูนย์ ราคาขายที่มีความผันผวนต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันดิบ ต้นทุนการผลิตปิโตรเลียมที่ต่ำ และความต้องการในประเทศที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ ดังนั้นความเสี่ยงในการปรับลดอันดับเครดิตโดยลำพังของ ปตท.สผ. จึงอยู่ในระดับต่ำ และฟิทช์อาจจะพิจารณาปรับเพิ่มอันดับเครดิตโดยลำพัง ในกรณีที่บริษัทฯ มีสถานะของปริมาณสำรองน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่ดีขึ้นอีก
ปัจจัยที่มีผลต่ออันดับเครดิต ความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับบริษัทแม่: ฟิทช์พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่าง ปตท.สผ. และ ปตท.อยู่ในระดับแข็งแกร่ง ตามหลักเกณฑ์การจัดอันดับเครดิตของฟิทช์ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทแม่กับบริษัทลูก (Parent and Subsidiary Rating Linkage Criteria) โดยสะท้อนถึงการดำเนินงานที่เชื่อมโยงกันระหว่างสองบริษัท ซึ่ง ปตท.สผ. เป็นผู้ดำเนินธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของกลุ่ม ปตท. ปตท.สผ. ขายผลิตภัณฑ์มากกว่าร้อยละ 80 ของปริมาณการผลิตทั้งหมดให้แก่ ปตท. และสัดส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) จาก ปตท.สผ. คิดเป็นร้อยละ 45 ของกลุ่ม ปตท. ในปี 2562
การดำเนินงานของ ปตท.สผ. ยังมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนบทบาทเชิงกลยุทธ์ของบริษัทแม่ต่ออุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของประเทศไทย และช่วยเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่ประเทศ ปตท. มีตัวแทนในคณะกรรมการของ ปตท.สผ. และเป็นผู้แต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงบางส่วนของบริษัท นอกจากนี้ ปตท. ยังมีส่วนร่วมในการสนับสนุน ปตท.สผ. ในการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ ซึ่งรวมถึงการเข้าซื้อกิจการขนาดใหญ่
ความผันผวนของราคาขายที่ต่ำกว่า: ปตท.สผ. มีปรับราคาขายก๊าซธรรมชาติทุกๆ 3 ถึง 12 เดือน โดยสัญญาซื้อขายได้มีการอ้างอิงกับดัชนีน้ำมันดิบเฉลี่ยในช่วงระยะเวลา 6 ถึง 24 เดือนที่ผ่านมา ดังนั้นฟิทช์คาดว่า ราคาขายก๊าซธรรมชาติของบริษัทฯ จะลดลงประมาณร้อยละ 14 ไปอยู่ที่ระดับประมาณ 6 เหรียญสหรัฐฯ ต่อล้านบีทียู (mmbtu) ในปี 2563 (ในปี 2562 ราคาอยู่ที่ 6.9 เหรียญสหรัฐฯ ต่อล้านบีทียู) เมื่อเทียบกับราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ที่คาดว่าปรับตัวลดลงร้อยละ 46
ฟิทช์คาดว่า ราคาก๊าซธรรมชาติจะลดลงไปต่ำกว่า 5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อล้านบีทียู ในปี 2564 ก่อนที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นตามประมาณการราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นของฟิทช์ นอกจากนี้ ปตท.สผ. ได้มีการป้องกันความเสี่ยงด้านราคาขาย จำนวนประมาณร้อยละ 40 ของการผลิตน้ำมันที่ราคา 50-55 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ ในปี 2563 ซึ่งฟิทช์คาดว่า บริษัทฯ จะมีกำไรจากอนุพันธ์ดังกล่าว ประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประมาณสองในสามของการผลิตของปตท.สผ. เป็นก๊าซธรรมชาติ และส่วนที่เหลือเป็นน้ำมัน
การเติบโตของปริมาณการขาย: ฟิทช์คาดว่า ปริมาณการขายในปี 2563 จะปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 7 จากประมาณการเดิมของบริษัทฯ ทั้งในส่วนของน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส ซึ่งเดิมบริษัทฯ ได้ประมาณการว่าจะมีปริมาณการขายเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 11 ไปอยู่ที่ระดับประมาณ 3.9 แสนบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวันในปี 2563 ซึ่งเป็นผลมาจากการเข้าซื้อกิจการที่สำคัญในปี 2562 ทั้งนี้ปตท.สผ. มีการขายก๊าซธรรมชาติเกือบทั้งหมดในประเทศ ภายใต้สัญญาซื้อขายระยะยาวในรูปแบบ take-or-pay ซึ่งปริมาณการขายที่ผ่านมาอยู่ในระดับที่สูงกว่าปริมาณการรับซื้อขั้นต่ำ ทั้งนี้ ฟิทช์มองว่า ปริมาณการขายก๊าซธรรมชาติของบริษัทฯ จะลดลงใกล้เคียงกับปริมาณการรับซื้อขั้นต่ำ เนื่องจากผู้รับซื้อดังกล่าว จะให้ความสำคัญกับการใช้ก๊าซธรรมชาติเหลว (Liquid Natural Gas: LNG) ที่มาจากนำเข้ามากกว่า ที่ปัจจุบันมีราคาต่ำกว่า
อย่างไรก็ตาม ปริมาณการผลิตน้ำมันในประเทศของบริษัทฯ คาดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก จากการที่ประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าน้ำมันดิบสุทธิ (net importer) แต่ปริมาณการผลิตน้ำมันในต่างประเทศ คาดว่าจะลดลงในปี 2563 ปตท.สผ. มีการผลิตในประเทศ ประมาณร้อยละ 80 ของการผลิตทั้งหมด และที่เหลือมาจากฐานการผลิตในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ ฟิทช์คาดว่า การเติบโตของปริมาณการขายจะฟื้นตัวที่ระดับประมาณร้อยละ 5 ต่อปี ในช่วงที่ความต้องการในตลาดฟื้นตัว
ธุรกิจที่ปรับตัวดีขึ้น: ปตท.สผ. มีปริมาณสำรองน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่พิสูจน์แล้ว (Proved Reserves) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1,140 ล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ และมีปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้วต่อปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 7.5 ปี ณ สิ้นปี 2562 (ณ สิ้นปี 2561 อยู่ที่ 677 ล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ และ 5.2 ปี ตามลำดับ) เนื่องจากในปี 2562 บริษัทฯ ได้ดำเนินการซื้อสินทรัพย์ในธุรกิจสำรวจและผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจาก Partex Holding B.V และ Murphy Oil Corporation (อันดับเครดิตสากลที่ 'BB+’ แนวโน้มเครดิตเป็นลบ) ฟิทช์คาดว่า บริษัทฯ จะสามารถรักษาปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้วต่อปริมาณการผลิตให้อยู่ในระดับประมาณ 7 ปี ในช่วง 2 ถึง 3 ปีข้างหน้า โดยพิจารณาจากการเข้าซื้อกิจการที่ผ่านมา และการลงทุนในธุรกิจอย่างต่อเนื่องของบริษัทฯ
ฟิทช์มองว่า ปตท.สผ. มีสถานะทางการเงินที่ดี เพียงพอที่จะรักษาระดับปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้วต่อปริมาณการผลิตขั้นต่ำที่ 7 ปีได้ ในช่วง 3 ถึง 5 ปีข้างหน้า ตามแผนธุรกิจของบริษัทฯ ที่ประกาศไว้ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้รับประโยชน์จากต้นทุนการผลิตปิโตรเลียม (Cash cost) ที่ต่ำ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 16 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบในปี 2562 ปตท.สผ. มีปริมาณสำรองน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ อยู่ในระดับใกล้เคียงกับบริษัทอื่นในธุรกิจสำรวจและผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่มีอันดับเครดิตที่ระดับ 'BBB’ อีกทั้งยังมีราคาขายที่คุ้มทุนในการผลิตอยู่ในเกณฑ์แข็งแกร่งกว่าเมื่อเทียบกับคู่แข่ง อย่างไรก็ตาม ปริมาณสำรองน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของ ปตท.สผ. ที่มีอัตราส่วนปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว (Proved Developed Reserves) ประมาณร้อยละ 60 ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า เมื่อเทียบกับบริษัทในธุรกิจเดียวกันที่ระดับ 'BBB’
ฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง: ฟิทช์คาดว่าอัตราส่วนทางการเงินที่ใช้ในการพิจารณาอันดับเครดิตของ ปตท.สผ. ยังคงแข็งแกร่ง สอดคล้องกับอันดับเครดิตโดยลำพังของบริษัทฯ โดยคาดว่าอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อกระแสเงินสดจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงของเงินทุนหมุนเวียน (FFO net leverage) จะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 0.5 เท่า จนถึงปี 2567 และบริษัทฯ มีความสามารถในการเพิ่มหนี้สินโดยไม่มีผลกระทบต่ออันดับเครดิตในระดับสูง จากฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง โดยฟิทช์เชื่อว่า ฐานะทางการเงินของบริษัทฯ จะยังคงอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับอันดับเครดิตโดยลำพังปัจจุบัน แม้ว่าจะอยู่ภายใต้สมมุติฐานที่แย่ลงของฟิทช์ที่ราคาน้ำมันลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากนี้ ปตท.สผ.ได้มีการปรับลดแผนการลงทุนของปี 2563 ในอัตราร้อยละ 15 ถึงร้อยละ 20 จากแผนเดิม อย่างไรก็ตาม ฟิทช์คิดว่า ความหยืดหยุ่นของ ปตท.สผ. ในการลดการลงทุนมากกว่านี้ มีค่อนข้างจำกัด เนื่องจากแหล่งปิโตรเลียมในประเทศมีการผลิตมานานแล้ว ซึ่งจำเป็นต้องมีการลงทุนเพิ่มเพื่อรักษาระดับการผลิต นอกเหนือจากการลงทุนที่มีภาระผูกพันภายในประเทศจากสัมปทานใหม่ที่เพิ่งได้มา
การกระจายความเสี่ยงของธุรกิจที่ดีขึ้นจากการซื้อกิจการ: ฟิทช์คิดว่า ปตท.สผ. ยังคงมีนโยบายระยะยาวในการซื้อกิจการเพื่อบรรลุเป้าหมายของบริษัทฯ ในการรักษาระดับปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้วต่อปริมาณการผลิตขั้นต่ำที่ 7 ปี และมีอัตราการเติบโตของรายได้ต่อปีที่ร้อยละ 6 ไปจนถึงในปี 2568 ทั้งนี้ในช่วงปี 2561-2562 บริษัทฯ ได้มีการลงทุนเพื่อซื้อกิจการ จำนวนรวมกว่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อสถานะทางเครดิตของบริษัทฯ โดยฟิทช์มองว่าการซื้อกิจการดังกล่าวช่วยเพิ่มการผลิตและปริมาณสำรองน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ รวมถึงเพิ่มจำนวนโครงการและมีการกระจายตัวมากขึ้นด้วย ทั้งนี้การประมาณการของฟิทช์นั้น ยังไม่ได้รวมเงินลงทุนสำหรับการซื้อกิจการเพิ่มเติมที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
อันดับเครดิตโดยลำพังที่ 'bbb’: อันดับเครดิตโดยลำพัง (Standalone Credit Profile) ของ ปตท.สผ. อยู่ในระดับเดียวกันกับ Pioneer Natural Resources Co. (Pioneer; อันดับเครดิตที่ 'BBB’ แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ) และ Concho Resources Inc. (Concho; อันดับเครดิตที่ 'BBB’ แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ) ซึ่งมีปริมาณการผลิตปิโตรเลียมที่ใกล้เคียงกันที่ระดับ 3.3 ถึง 3.4 แสนบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน และมีปริมาณสำรองน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่พิสูจน์แล้วประมาณ 1 พันล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ โดย ปตท.สผ. มีราคาน้ำมันที่คุ้มทุนอยู่ในระดับเดียวกับ Pioneer แต่ดีกว่า Concho และ ปตท.สผ. มีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งกว่าสองบริษัทดังกล่าว แนวโน้มเครดิตเป็นลบของ Noble Energy Inc. (Noble; อันดับเครดิตที่ 'BBB’ แนวโน้มเครดิตเป็นลบ) สะท้อนถึงการดำเนินการด้านสำรวจและพัฒนาการผลิตที่ลดลงในช่วงที่ราคาน้ำมันดิบต่ำลง ซึ่งจะทำให้การผลิตปิโตรเลียมลดลง ในปี 2562 Noble มีปริมาณสำรองน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่พิสูจน์แล้ว ที่สูงกว่า โดยอยู่ที่ระดับประมาณ 1.9 พันล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ และการผลิตปิโตรเลียมที่ 3.6 แสนบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน ซึ่งใกล้เคียงกับ ปตท.สผ. อย่างไรก็ตาม Noble มีอัตราส่วนการทำกำไรต่อหน่วยที่ต่ำกว่า และอัตราส่วนทางการเงินที่ใช้ในการพิจารณาอันดับเครดิตที่อ่อนแอกว่าปตท.สผ.
ปตท.สผ. มีสัดส่วนการขายก๊าซธรรมชาติมากกว่าบริษัทสำรวจและผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในสหรัฐอเมริกา ซึ่งสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติในประเทศจะมีการกำหนดปริมาณการรับซื้อขั้นต่ำ จึงทำให้โครงสร้างราคาของปตท.สผ. มีความผันผวนของราคาขายที่ต่ำกว่า ปตท.สผ. มีระดับปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้วต่อปริมาณการผลิตที่ต่ำกว่าบริษัทในธุรกิจเดียวกัน แต่ถูกชดเชยด้วยฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งกว่า
การกำหนดอันดับเครดิตโดยสรุป ฟิทช์จัดอันดับเครดิต ปตท.สผ เท่ากับอันดับเครดิตของบริษัทแม่ ซึ่งได้แก่ ปตท. เนื่องจากความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งระหว่างบริษัททั้งสอง ตามหลักเกณฑ์การจัดอันดับเครดิตของฟิทช์ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทแม่กับบริษัทลูก (Parent and Subsidiary Rating Linkage Criteria) ฟิทช์มองว่าความสัมพันธ์กับบริษัทแม่ของ ปตท.สผ. ในด้านการดำเนินงาน และด้านกลยุทธ์อยู่ในระดับสูง โดย ปตท.สผ. เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของกลุ่ม ปตท. และเป็นผู้ผลิตปิโตรเลียมที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ โดยการดำเนินงานของบริษัทมีความสำคัญในการรักษาเสถียรภาพด้านพลังงานของประเทศ และสนับสนุนบทบาทเชิงกลยุทธ์ของบริษัทแม่ในอุตสาหกรรมอีกด้วย นอกจากนี้กำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) จาก ปตท.สผ. มีสัดส่วนสูงสุดในกลุ่ม ปตท. โดย ปตท.สผ. ขายผลิตภัณฑ์เกือบทั้งหมดที่ผลิตได้ให้แก่ ปตท. ซึ่งสะท้อนถึงความสัมพันธ์ด้านการดำเนินงานกับ ปตท. ที่อยู่ในระดับสูง
การจัดอันดับเครดิตของ ปตท.สผ. ในระดับเดียวกันกับบริษัทแม่ เป็นการจัดอันดับในลักษณะเดียวกับการจัดอันดับของ PetroChina Company Limited (PetroChina; อันดับเครดิตสากลระยะยาวที่ 'A+’ แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ China National Petroleum Corporation (CNPC; อันดับเครดิตสากลระยะยาวที่ 'A+’ แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ) โดย PetroChina มีความสัมพันธ์กับ CNPC ที่แข็งแกร่ง ซึ่งส่งผลให้อันดับเครดิตเท่ากับอันดับเครดิตของบริษัทแม่ ฟิทช์มองว่าความสัมพันธ์ด้านกลยุทธ์และการดำเนินงานของ ปตท.สผ. และ ปตท. อยู่ในระดับมากกว่าความสัมพันธ์ระหว่าง PT Perusahann Gas Negara Tbk (PGN; อันดับเครดิตสากลระยะยาวที่ 'BBB-’ แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ) และ บริษัทแม่ PT Pertamina (Persero; อันดับเครดิตสากลระยะยาวที่ 'BBB’ แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ) ซึ่งส่งผลให้อันดับเครดิตของ PGN ต่ำกว่าอันดับเครดิตของบริษัทแม่อยู่หนึ่งอันดับ
สมมุติฐานที่สำคัญ
สมมุติฐานที่สำคัญของฟิทช์ที่ใช้ในการประมาณการ
  • ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ 35 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในปี 2563, 45 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในปี 2564, 53 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในปี 2565 และ 55 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในปีถัดๆไป
  • ฟิทช์คาดว่า บริษัทฯ จะมีกำไรจากอนุพันธ์ประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากการป้องกันความเสี่ยงของราคาน้ำมัน
  • ราคาขายก๊าซธรรมชาติที่ราคา 5.9 เหรียญสหรัฐฯ ต่อล้านบีทียูในปี 2563, 4.9 เหรียญสหรัฐฯ ต่อล้านบีทียูในปี 2564, 5.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อล้านบีทียูในปี 2565 และ ค่อยๆปรับตัวเพิ่มขึ้นในปีถัดๆไป
  • การผลิตของน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 3 ในปี 2563 และประมาณร้อยละ 5 ในปีถัดๆไป
  • ค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุน 2.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2563, 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2564 และ 3.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2565
  • ค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2565
ปัจจัยที่อาจมีผลกระทบต่ออันดับเครดิต
ปัจจัยบวก
  • การปรับเพิ่มอันดับเครดิตสากลระยะยาวของ ปตท. โดยที่ความสัมพันธ์ระหว่าง ป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad