“การเชื่อมต่อ” และ “การเพิ่มประสิทธิภาพ” คือ วัตถุประสงค์หลักของอุตสาหกรรมยุค 4.0 และในการสร้างองค์ประกอบหลักทั้งสองข้อนี้นี้ จำเป็นต้องมีการรวมแอปพลิเคชันจำนวนมากเข้าด้วยกัน เช่น กระบวนการผลิตอัตโนมัติ, IoT, หุ่นยนต์อัจฉริยะ, การเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทาน, และ Big Data ในช่วงปีแรกๆนั้น อุตสาหกรรม OEM ของไต้หวันได้รับการตอบรับที่ดีลสร้างความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของไต้หวัน ทั้งนี้ส่วนสำคัญในอุตสาหกรรม OEM เริ่มจากการนำเครื่องจักรอัตโนมัติมาใช้งานมากขึ้น เนื่องจากการทำงานต้องการอาศัยความแม่นยำสูงและขั้นตอนในสายการผลิตมีความซับซ้อนมากขึ้น จึงส่งผลให้ความต้องการในส่วนของเครื่องจักรอัตโนมัติมีมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นจึงมีแนวคิดการรวบรวม”เครื่องจักรอัตโนมัติ” และ “หุ่นยนต์” จนกลายไปเป็น “เครื่องจักรอัตโนมัติอัจฉริยะ ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วทั้งสองเทคโนโลยีนี้ถือเป็นตัวชี้วัดในการพัฒนาโรงงานอัจฉริยะของไต้หวัน รวมไปถึงอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลอีกด้วย
อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลของไต้หวันมีอัตราการเติบโต 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ไม่นานมานี้สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องจักรแห่งไต้หวัน หรือ TAMI ได้แสดงสถิติการส่งออกอุปกรณ์เครื่องจักรกลในปี 2562 ว่ามูลค่าการส่งออกสะสมนั้นสูงถึง 27.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าการผลิตรวมอยู่ที่ 35.245 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดว่าในปีนี้มูลค่าการผลิตทั้งหมดจะสูงขึ้นถึง 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 5%-10% นอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่ามูลค่าการผลิตเครื่องมือจักรกลหลักจะเพิ่มขึ้นอีก 10% แม้ว่าโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในช่วงต้นปี 2563 จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงกับการส่งออกอุปกรณ์เครื่องจักรกล แต่กลับมีการคาดการณ์ว่าตลาดนี้จะมีความต้องการสูงหากการระบาดลดลงในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมนี้ และทั้งนี้หากเศรษฐกิจสามารถฟื้นตัวได้ในครึ่งปีหลัง มันจะกลายเป็นโอกาสครั้งยิ่งใหญ่สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลของไต้หวันเลยทีเดียว ทั้งนี้เนื่องจากไต้หวันได้เข้าร่วมตลาดหุ่นยนต์อุตสาหกรรมระดับสากลแล้ว และ “หุ่นยนต์ Techman” ที่เป็นไฮไลท์สำคัญได้ครองตลาดเป็นอันดับสองของตลาดโลกตั้งแต่ปี 2561 รองจากหุ่นยนต์อเนกประสงค์ (Denmark’s Universal Robots) เท่านั้น TM12 อีกหนึ่งเครื่องจักรกลอัจฉริยะที่ได้รับรางวัลจาก Taiwan Excellence Award ครั้งที่ 28 ที่แสดงให้ทั่วโลกได้เห็นถึงหุ่นยนต์ตัวแรกที่สามารถทำงานร่วมกับ “ดวงตา” ได้ โดย TM12 มีความสามารถที่จะใช้กระบวนการระบุตัวตน โดยอ้างอิงจากรูปร่าง, ตำแหน่ง, บาร์โคด, และสีของวัตถุนั้นๆ นอกจากนี้ TM12 ยังสามารถจัดตำแหน่งภาพอัจฉริยะ ซึ่งเหมาะสำหรับสารกึ่งตัวนำ (Semiconductors), แผงวงจรไฟฟ้า, และอุตสาหกรรมระบบควบคุมอัจริยะ เป็นต้น ทั้งนี้ Fuji Keizai ที่ปรึกษาและวิจัยตลาดเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นสูง คาดการณ์ว่าตลาดโลกของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์จะขยายตัวถึงสองเท่าครึ่งเมื่อเทียบกับ 2561 ไปจนถึงปลายปี 2568 โดยมูลค่าการผลิตรวมอยู่ที่ 26.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขนาดของตลาดหุ่นยนต์ที่สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ได้จะสูงถึง 3.828 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีมูลค่ามากกว่าเจ็ดเท่าของปี 2561 การแนะนำอุปกรณ์เครื่องจักรกลระบบปัญญาประดิษฐ์ AI นั้น ไต้หวันถือว่ามีข้อได้เปรียบทางการแข่งขันในด้านนี้ และรวมไปถึงรากฐานที่เป็นรูปธรรมสำหรับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของ “เครื่องจักรอัตโนมัติอัจฉริยะ” เพราะไม่เพียงเท่านั้น ยังสามารถพัฒนาโซลูชันสำหรับสายการผลิตอัตโนมัติที่หลายหลายแก่ลูกค้า แต่ยังมีโซลูชันอื่นๆ เพื่อตอบโจทย์สายการผลิตในอนาคตอีกด้วย
แนวโน้มการพัฒนาของอุตสาหกรรม 4.0, และรวมไปถึงวิธีการตรวจสอบและควบคุมทุกส่วนการทำงานของเครื่องมือจักรกล ตลอดจนพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตด้วย เป็นสิ่งที่ตอกย้ำถึงความสามารถทางธุรกิจด้านเครืองจักรอัตโนมัติที่แข็งแกร่งของไต้หวัน อึกหนึ่งนวัตกรรมที่น่าทึ่งของไต้หวัน คือ ระบบตรวจสอบอัจฉริยะเครื่องมือกล i4.0 ของ Buffalo ที่ได้รับรางวัล Taiwan Excellence Award ครั้งที่ 28 ซึ่งได้รวบรวมความอัจฉริยะไว้กับเครื่องมือกลชั้นสูง โดยระบบสามารถตอบสนองความต้องการทั้งหมดของการผลิตได้ หลังจากการติดตั้งระบบตรวจสอบอัจฉริยะเครื่องมือกล i4.0 แล้ว เครื่องจักรจะสามารถทำการตรวจสอบวัสดุสิ้นเปลืองทั้งหมดได้ นอกจากนี้ ยังสามารถรวบรวมข้อมูลมหาศาลเข้าไว้ได้อย่างรวดเร็วและยังวิเคราะห์ข้อมูลอ้างอิงที่จำเป็นในปริมาณมากให้แก่ผู้ควบคุมดูแลได้อีกด้วย ซึ่งตัวระบบได้รับการพัฒนาในด้านการควบคุมกระบวนการผลิต ความเข้าใจอายุผลิตภัณฑ์ การจัดการพลังงาน ซึ่งได้รับการยอมรับในความแม่นยำสูงและสามารถสร้างความน่าเชื่อถือของสายการผลิตนั้นได้เป็นอย่างดี
Delta Electronics อีกหนึ่งบริษัทของไต้หวันที่ได้รับรางวัล Taiwan Excellence Award ได้พัฒนา “เครื่องจักรอัตโนมัติ" รวมถึงพัฒนา “การผลิตอัจฉริยะ” เปิดตัวโซลูชันการผลิตอัจฉริยะที่ครอบคลุมได้ทั้งหมด ทั้งนี้เมื่อเทียบผลผลิตของสายการผลิตแบบดั้งเดิม กับผลผลิตของโรงงานอัจฉริยะที่ปรับแต่งได้ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพที่มากขึ้นถึง 70% และเพิ่มกำลังผลิตภาคแรงงานจาก 3 เท่าไปถึง 5 เท่า นอกจากนี้ยังสามารถลดพื้นที่การผลิตประมาณ 35% ซึ่งเหล่านี้ได้ตอกย้ำถึงประสิทธิภาพและคุณค่าของ “การเพิ่มประสิทธิภาพ” ของอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งมีจุดประสงค์ที่จะพัฒนาประสิทธิภาพ, ลดต้นทุน, และช่วยเหลือบริษัทต่าง ๆ ในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอีกด้วย
เพื่อตอบสนองความต้องการ และการเพิ่มประสิทธิภาพของภาคการผลิตทั่วโลก กระทรวงต่าง ๆ ของไต้หวัน เช่น กระทรวงเศรษฐกิจ, กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, กระทรวงศึกษาธิการ, และสมาคมอุตสาหกรรมต่างๆ ได้เข้ามามาบทบาทในการพัฒนาร่วมกันและเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการพัฒนาและวิจัย อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลอัจฉริยะ ถือเป็นอุตสาหกรรมหลักของไต้หวันที่เติบโตเร็วที่สุดและพัฒนาได้รวดเร็วที่สุด และส่งผลให้ไต้หวันกำลังขึ้นแท่นไปสู่การเป็น “อาณาจักรแห่งการผลิตเครื่องจักรกลอัจฉริยะ” โดยมีเป้าหมายระยะยาวในการเป็นฐานการผลิตเครื่องจักรกลอัจฉริยะของโลกรวมถึงเป็นผู้จัดหาโซลูชันในด้านนี้อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ไต้หวันยังมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างระบบนิเวศเครื่องจักรกลอัจฉริยะและเปิดตัวอุตสาหกรรมเคมีโยธา, สารสนเทศแบบอิเล็กทรอนิกส์, บริการสารสนเทศ, และอุตสาหกรรมหลักอื่น ๆ เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนและยกระดับขีดความสามารถในการผลิตให้ทั่วโลกอีกด้วย
รางวัล Taiwan Excellence Awards ก่อตั้งโดยกระทรวงเศรษฐกิจไต้หวัน (MOEA) ในปี พ.ศ. 2536 ผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์นี้ต้องผ่านการคัดเลือกอย่างเข้มงวด โดยมีเกณฑ์การพิจารณา 4 หัวข้อ คือ การวิจัยและพัฒนา, การออกแบบ, คุณภาพและการตลาดที่คัดเลือกโดยรัฐบาล และผลงานที่ได้รับรางวัลนี้เป็นตัวแทนผลิตภัณฑ์ที่แสดงถึงความยอดเยี่ยม และความเป็นเลิศด้านนวัตกรรม สัญลักษณ์นี้ได้รับการยอมรับ และเป็นที่รู้จักทั่วโลกมากกว่า 106 ประเทศ
ทำความรู้จักกับ Taiwan Excellence ได้ที่ : http://bit.ly/37XipEA หรือผ่านทาง Facebook : https://www.facebook.com/TaiwanExcellence.TH/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น