บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศลดอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น (National Short-term Rating) ของโปรแกรมการออกตั๋วแลกเงินมูลค่าไม่เกินหนึ่งหมื่นสองพันล้านบาท อายุไม่เกิน 270 วัน ซึ่งสามารถออกหมุนเวียนใหม่ได้ ของบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (Esso) เป็น 'F2(tha)’ จาก 'F1(tha)’
การปรับลดอันดับเครดิตสะท้อนถึงการคาดการณ์ของฟิทช์ว่า อัตราส่วนหนี้สินของ Esso จะยังคงอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าสถานะการณ์การแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสจะคลี่คลายแล้วก็ตาม ฟิทช์คาดว่าอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อกระแสเงินสดจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงของเงินทุนหมุนเวียน (FFO Net Leverage) ของ Esso จะยังคงอยู่ในระดับสูงกว่า 5.5 เท่าในปี 2565-2566 ความสามารถในการทำกำไรและกระแสเงินสดจากการดำเนินงานของ Esso ได้รับผลกระทบมากกว่าผู้ประกอบในธุรกิจเดียวกันในประเทศไทยจากสภาพธุรกิจการกลั่นน้ำมันที่อ่อนแอในช่วงขาลง เนื่องจากบริษัทฯ มีขนาดธุรกิจโรงกลั่นและธุรกิจปิโตรเคมีที่เล็กกว่า ซึ่งคาดว่าบริษัทฯ จะประสบกับภาวะเช่นนี้ต่อเนื่องในปี 2563 เนื่องจากอุปสงค์และค่าการกลั่นน้ำมันที่ลดลงจากผลกระทบของ โคโรนาไวรัส
ปัจจัยที่มีผลต่ออันดับเครดิต
กำไรที่คาดว่าจะลดลง: ฟิทช์คาดว่า กำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ของ Esso จะลดลงต่อเนื่องในปี 2563 (บริษัทฯ มี EBITDA ติดลบประมาณ 2 พันล้านบาทในปี 2562) แม้ว่า EBITDA ที่ลดลงในปี 2562 ส่วนหนึ่งมาจากการผลิตที่ลดลงจากการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นครั้งใหญ่
การคาดการณ์ EBITDA ที่ลดลงในปี 2563 เนื่องมาจากค่าการกลั่นที่น่าจะยังคงอ่อนแอ การขาดทุนจากสต็อกน้ำมันที่เกิดจากราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างมากในไตรมาสแรกของปี 2563 รวมถึงการกลั่นน้ำมันของบริษัทฯ ที่ฟิทช์คาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติเนื่องจากความต้องการที่ลดลง กระแสเงินสดจากการดำเนินงานของบริษัทฯ น่าจะปรับตัวดีขึ้นในปี 2564 แต่ยังน่าจะยังคงอยู่ในระดับต่ำอยู่ ฟิทช์คาดว่า EBITDA ของบริษัทฯ น่าจะเพิ่มไปอยู่ที่ระดับ 3 ถึง 4 พันล้านบาทในปี 2565-2566 ซึ่งจะทำให้ FFO Net Leverage ลดลงไปอยู่ที่ระดับ 6-7 เท่า
กำไรที่คาดว่าจะลดลง: ฟิทช์คาดว่า กำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ของ Esso จะลดลงต่อเนื่องในปี 2563 (บริษัทฯ มี EBITDA ติดลบประมาณ 2 พันล้านบาทในปี 2562) แม้ว่า EBITDA ที่ลดลงในปี 2562 ส่วนหนึ่งมาจากการผลิตที่ลดลงจากการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นครั้งใหญ่
การคาดการณ์ EBITDA ที่ลดลงในปี 2563 เนื่องมาจากค่าการกลั่นที่น่าจะยังคงอ่อนแอ การขาดทุนจากสต็อกน้ำมันที่เกิดจากราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างมากในไตรมาสแรกของปี 2563 รวมถึงการกลั่นน้ำมันของบริษัทฯ ที่ฟิทช์คาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติเนื่องจากความต้องการที่ลดลง กระแสเงินสดจากการดำเนินงานของบริษัทฯ น่าจะปรับตัวดีขึ้นในปี 2564 แต่ยังน่าจะยังคงอยู่ในระดับต่ำอยู่ ฟิทช์คาดว่า EBITDA ของบริษัทฯ น่าจะเพิ่มไปอยู่ที่ระดับ 3 ถึง 4 พันล้านบาทในปี 2565-2566 ซึ่งจะทำให้ FFO Net Leverage ลดลงไปอยู่ที่ระดับ 6-7 เท่า
การปรับแผนการลงทุน: Esso จะยังคงมีแผนที่จะขยายสถานีบริการน้ำมัน รวมถึงการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ใหม่ของสถานีบริการเดิมในปี 2563
อย่างไรก็ตาม แผนการลงทุนในปี 2564 สามารถปรับเปลี่ยนได้ และบริษัทฯ ยังไม่มีแผนการลงทุนขนาดใหญ่ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้านี้ ฟิทช์คาดว่าแผนการลงทุนของ Esso จะอยู่ที่ประมาณ 1.8-1.9 พันล้านบาท ในปี 2563 (ปี 2562 อยู่ที่ 1.7 พันล้านบาท)
สภาพคล่องที่ดี: ฟิทช์เชื่อว่า Esso มีความสามารถในการบริหารจัดการสภาพคล่องที่แข็งแกร่ง แม้ว่าบริษัทฯ จะยังคงมี EBITDA ที่ติดลบในปี 2563 และมีอัตราส่วนหนี้สินที่สูง
ฟิทช์มองว่า การกู้ยืมเงินจากกลุ่มบริษัทในเครือบริษัทแม่ แม้ว่าจะมีสถานะเท่าเทียมกับหนี้ไม่ด้อยสิทธิและไม่มีหลักประกันทั่วไป และมีอัตราดอกเบี้ยเท่ากับอัตราในตลาด น่าจะทำให้ Esso สามารถบริหารจัดการสภาพคล่องได้ง่าย รวมถึงช่วยสนับสนุนการกู้ยืมจากภายนอกอีกด้วย
Esso มีเงินกู้ยืมจากบริษัทภายในกลุ่ม (Inter-company Loans) จำนวน 1.7 หมื่นล้านบาท ณ สิ้นปี 2562 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 64 ของหนี้สินทั้งหมด นอกจากนี้ Esso ยังมีวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนจำนวน 5.4 หมื่นล้านบาทจากกลุ่ม ExxonMobil เพื่อสนับสนุนสภาพคล่องของบริษัทฯ อีกด้วย
การสนับสนุนที่แข็งแกร่งจากบริษัทแม่: ฟิทช์มองว่า Esso ได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากบริษัทแม่ (บริษัท เอ็กซอนโมบิลคอร์ปอเรชั่น (ExxonMobil) และกลุ่มบริษัทในเครือ) ซึ่งเห็นได้จากการสนับสนุนทางการเงินจากบริษัทแม่ โดยบริษัทแม่และกลุ่มบริษัทในเครือได้เพิ่มเงินกู้ยืมระหว่างกันให้กับบริษัทฯ ในช่วงที่บริษัทฯ มีอัตราส่วนหนี้สินอยู่ในระดับสูงในปี 2557 และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาอัตราส่วนเงินกู้ยืมระหว่างกันต่อเงินกู้ยืมทั้งหมดของบริษัทฯ ยังคงสูงอยู่ที่ระดับร้อยละ 60-70 ซึ่งช่วยให้ Esso มีภาระหนี้สินกับบุคคลภายนอกที่ลดลง
นอกจากนี้ Esso ยังสามารถใช้ประโยชน์จากเครือข่ายในการจัดซื้อน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ใช้เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ รวมทั้งทรัพยากรบุคคล การวิจัยและพัฒนาต่างๆ จากกลุ่มบริษัท ExxonMobil เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัทฯ โรงกลั่นของ Esso เป็นโรงกลั่นน้ำมันรายใหญ่อันดับสองของ ExxonMobil ในภูมิภาคเอเชีย
โรงกลั่นแบบคอมเพล็กซ์ที่มีสายการผลิตที่เชื่อมโยงกับการผลิตพาราไซลีน: อันดับเครดิตยังสะท้อนถึงความสามารถในการผลิตที่เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ที่สูงของโรงกลั่น ชื่อทางการค้าที่เป็นที่รู้จักมายาวนาน รวมถึงข้อได้เปรียบในการเข้าถึงวัตถุดิบผ่านทางกลุ่มบริษัท ExxonMobil ซึ่งช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนน้ำมันดิบและวัตถุการผลิตตามสภาวะตลาด การเชื่อมโยงกับการผลิตสารพาราไซลีน (PX) ยังช่วยเพิ่มความหลากหลายในผลิตภัณฑ์ และประสิทธิภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์โดยรวม อีกทั้งยังช่วยลดความผันผวนจากอัตราส่วนกำไรจากการกลั่นของบริษัทฯ ได้ในระดับหนึ่ง แม้ว่ากำลังการผลิต PX ในภูมิภาคที่สูงในปัจจุบันจะทำให้ส่วนต่างระหว่างราคาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบอยู่ในระดับต่ำก็ตาม
Esso ยังเป็นผู้ค้าปลีกน้ำมันที่แข็งแกร่ง และมีชื่อทางการค้าที่เป็นที่รู้จักมายาวนานในธุรกิจค้าปลีกน้ำมันในประเทศไทย โดยมีสถานีบริการจำนวน 638 สถานี ณ สิ้นปี 2562
Esso มีแผนที่จะขยายสถานีบริการน้ำมันมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและรักษาส่วนแบ่งทางการตลาด โดยบริษัทฯ ได้เพิ่มสถานีบริการน้ำมันใหม่ จำนวน 73 สถานีในปี 2561 และ 41 สถานีในปี 2562
ธุรกิจมีความผันผวนสูง: สถานะเครดิตของ Esso ยังพิจารณารวมถึงปัจจัยเสี่ยงจากการที่บริษัทฯ ต้องเผชิญกับความผันผวนที่สูงของวัฏจักรของธุรกิจ และความเสี่ยงจากการมีฐานการผลิตเพียงแห่งเดียว ความผันผวนของรายได้ค่าการกลั่น ราคาน้ำมัน และความต้องการเงินทุนหมุนเวียน อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อกำไร และกระแสเงินสดของบริษัทฯ
การกำหนดอันดับเครดิตโดยสรุป
Esso มีขนาดธุรกิจโรงกลั่นและธุรกิจปิโตรเคมีที่เล็กกว่า บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (อันดับเครดิตที่ A-(tha)/แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ/F2(tha) ซึ่งมีสถานะทางเครดิตโดยลำพังที่ bbb(tha)) แต่ Esso มีธุรกิจจำหน่ายน้ำมันแก่ลูกค้ารายย่อยผ่านสถานีบริการน้ำมันของตัวเอง นอกจากนี้ Esso ยังมีอัตราส่วนหนี้สินที่สูงกว่า ไออาร์พีซี อีกด้วย
Esso มีขนาดธุรกิจโรงกลั่นและธุรกิจปิโตรเคมีที่เล็กกว่า บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (อันดับเครดิตที่ A-(tha)/แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ/F2(tha) ซึ่งมีสถานะทางเครดิตโดยลำพังที่ bbb(tha)) แต่ Esso มีธุรกิจจำหน่ายน้ำมันแก่ลูกค้ารายย่อยผ่านสถานีบริการน้ำมันของตัวเอง นอกจากนี้ Esso ยังมีอัตราส่วนหนี้สินที่สูงกว่า ไออาร์พีซี อีกด้วย
ฟิทช์มองว่า Esso มีความเชื่อมโยงกับบริษัทแม่ซึ่งได้แก่ ExxonMobil ที่สูงกว่า
Esso มีขนาดธุรกิจโรงกลั่นและธุรกิจปิโตรเคมีที่เล็กกว่า บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (อันดับเครดิตที่ AA+(tha)/แนวโน้มเครดิตเป็นลบ/F1+(tha) ซึ่งมีสถานะทางเครดิตโดยลำพังที่ aa-(tha))
โรงกลั่นน้ำมันของ Esso มีความคอมเพล็กซ์ (ความสามารถในการผลิตที่เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ที่สูงของโรงกลั่น) ที่น้อยกว่าและมีขนาดที่เล็กกว่าของ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (อันดับเครดิตที่ AA-(tha)/แนวโน้มเครดิตเป็นลบ/F1+(tha) ซึ่งมีสถานะทางเครดิตโดยลำพังที่ a(tha))
นอกจากนี้ Esso ยังมีอัตราส่วนหนี้สินที่สูงกว่าทั้งสองบริษัทอีกด้วย
สมมติฐานที่สำคัญของฟิทช์ที่ใช้ในการประมาณการ:
- ราคาน้ำมันดิบ (เบรนท์) ที่ราคา 35 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในปี 2563, 45 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในปี 2564, 53 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในปี 2565 และ 55 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลหลังจากนั้น โดยมีการปรับด้วยส่วนต่างราคาน้ำมันตามการซื้อน้ำมันดิบของ Esso
- อัตราการกลั่นที่ร้อยละ 70 ในปี 2563 เนื่องจากความต้องการที่อ่อนแอ และค่อยๆ เพิ่มขึ้นในปี 2564-2565
- ค่าการกลั่นลดลงในปี 2563 ซึ่งมีผลส่วนใหญ่มาจากการขาดทุนมูลค่าสต๊อกน้ำมันจากการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันในไตรมาศที่ 1 ของปี 2563 แล้วปรับตัวดีขึ้นในปี 2564-2565
- กำไรจากธุรกิจพาราไซลีนลดลงในปี 2563 และค่อยๆ ฟื้นตัวในปี 2564-2565
- ค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนประมาณ 1.8-1.9 พันล้านบาทในปี 2563 และลดลงในปี 2564
- อัตราการจ่ายเงินปันผลที่ร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ
ปัจจัยที่อาจมีผลกับอันดับเครดิตในอนาคต
ปัจจัยบวก:
ปัจจัยบวก:
- อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อกระแสเงินสดที่ได้จากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์และหนี้สินจากการดำเนินงาน (FFO net leverage) ลดลงต่ำกว่า 5.5 เท่าอย่างต่อเนื่อง
- ความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงกับกลุ่มบริษัท ExxonMobil ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ปัจจัยลบ:
- ความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงกับกลุ่มบริษัท ExxonMobil ที่ลดลง
- การลดลงของการเข้าถึงแหล่งเงินกู้จากธนาคารและตลาดตราสารหนี้ซึ่งอาจมีผลต่อสภาพคล่องและความยืดหยุ่นทางการเงินของบริษัทฯ
สภาพคล่อง
สภาพคล่องที่แข็งแกร่ง: Esso มีหนี้สินทั้งสิ้นจำนวน 2.7 หมื่นล้านบาท ณ สิ้นปี 2562 โดยมีหนี้สินประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาทที่จะครบกำหนดชำระภายใน 12 เดือนข้างหน้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้สินระยะสั้นที่ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทฯ สภาพคล่องของบริษัทฯ ได้รับการสนับสนุนจากวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนที่ยังไม่ได้เบิกใช้มูลค่าประมาณ 5.4 หมื่นล้านบาท จากกลุ่ม ExxonMobil
สภาพคล่องที่แข็งแกร่ง: Esso มีหนี้สินทั้งสิ้นจำนวน 2.7 หมื่นล้านบาท ณ สิ้นปี 2562 โดยมีหนี้สินประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาทที่จะครบกำหนดชำระภายใน 12 เดือนข้างหน้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้สินระยะสั้นที่ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทฯ สภาพคล่องของบริษัทฯ ได้รับการสนับสนุนจากวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนที่ยังไม่ได้เบิกใช้มูลค่าประมาณ 5.4 หมื่นล้านบาท จากกลุ่ม ExxonMobil
นอกจากนี้ Esso ยังมีความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้จากธนาคารที่ดี โดยมีวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนที่สามารถเพิกถอนได้ ที่ยังไม่ได้เบิกใช้มูลค่าประมาณ สามหมื่นล้านบาท
ประมาณร้อยละ 64 ของหนี้สินทั้งหมดของบริษัทฯ ณ สิ้นปี 2562 เป็นเงินกู้ยืมจากภายในกลุ่ม (Inter-company Loans) ประกอบด้วยเงินกู้ยืมระยะสั้นประมาณร้อยละ 77 และเงินกู้ยืมระยะยาวประมาณร้อยละ 23
Esso มีแผนที่จะรักษาสัดส่วนเงินกู้ยืมจากภายในกลุ่ม อยู่ที่ร้อยละ 60-70 ของหนี้สินทั้งหมด ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับการถือหุ้นของกลุ่มบริษัทแม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น