อุตสาหกรรม IoT ของไต้หวัน ชูนวัตกรรมการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิตอล เพื่อขยายธุรกิจสู่อุตสาหกรรมโลก - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

อุตสาหกรรม IoT ของไต้หวัน ชูนวัตกรรมการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิตอล เพื่อขยายธุรกิจสู่อุตสาหกรรมโลก

อุตสาหกรรม IoT ของไต้หวัน ชูนวัตกรรมการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิตอล เพื่อขยายธุรกิจสู่อุตสาหกรรมโลก

Digital Transformation หรือ การเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิตอล กำลังแผ่ขยายไปยังอุตสาหกรรมทั่วโลกและกลายเป็นเทรนด์ระดับโลกที่ได้รับความสนใจมากที่สุด ด้วยเทคโนโลยี Artificial Intelligence of Things (AIoT) เทคโนโลยี 5G และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้ถูกเผยแพร่ออกไปยังหลายๆ กระบวนการผลิตผ่านการใช้งานผ่านแอปพลิเคชันอัจฉริยะ ทั้งนี้ถือเป็นความโชคดีที่ผู้ประกอบการไต้หวันนั้นมีประสบการณ์ด้านการผลิตและสามารถนำเทคโนโลยีนี้ไปพัฒนาธุรกิจได้อย่างเต็มที่ และพัฒนาระบบในหลากหลายประเภทธุรกิจ เช่น ด้านการศึกษาและการเรียนรู้, ด้านสุขภาพ, ด้านคมนาคมขนส่ง, อำนวยความสะดวกในการชีวิตหรือ Smart Living, รวมไปถึงด้านการปกครองของภาครัฐและการบริการสาธารณะอีกด้วย    
ในปี 2563 นี้ ถือว่าเป็นปีแรกของเทคโนโลยี 5G ที่ได้เพิ่มเติมในส่วนของ AIoT ซึ่งเป็นเทคโนโลยีหลักและมีส่วนช่วยในการพัฒนาอุตสาหกรรมของไต้หวัน  การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นั้นอาจสร้างความเสียหายเป็นวงกว้างให้กับเศรษฐกิจของโลก แต่ไต้หวันได้แสดงให้เห็นได้ว่าสามารถรับมือกับเหตุการณ์นี้ได้เป็นอย่างดี ด้วยความพยายามในการเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ นับเป็นสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับทั้งโลกในการป้องกันโรคระบาดนี้ ส่งผลให้ไต้หวันอยู่ในสถานะที่สามารถผ่าพายุทางเศรษฐกิจและมองเห็นทิศทางในอนาคตได้อย่างชัดเจน    
สถาบันวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างประเทศ (Taiwan’s International Data Corporation) ได้คาดการณ์ถึงโอกาสทางธุรกิจระดับโลกที่มาจาก AIoT ถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2563 นี้ โดยไต้หวันจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้วยโซลูชันที่ครอบคลุมและเข้าใจเทคโนโลยีประกอบกับชื่อเสียงอันเป็นเลิศในด้านการผลิตสินค้าเทคโนโลยีคุณภาพสูงของไต้หวันนั้นทำให้เทคโนโลยีจากไต้หวันได้รับการยอมรับและเป็นที่น่าเชื่อถือในระดับโลก    
จุดแข็งและความได้เปรียบในการแข่งขันของไต้หวัน คือ ภาครัฐที่ได้สนับสนุนและเข้ามามีส่วนรวมในการพัฒนาเทคโนโลยี เช่น การใช้งานแอปพลิเคชันอัจฉริยะ ซึ่งรวบรวมระบบเมืองอัจฉริยะ, อุตสาหกรรมการผลิตอัจฉริยะ, ระบบควบคุมแสงสว่างอัจฉริยะ การบริหารพลังงานอัจฉริยะ, การดูแลสุขภาพ, และรวมถึงการเกษตรอัจฉริยะ ซึ่งเหล่านี้ช่วยเพิ่มเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมของไต้หวันให้พัฒนาและสามารถแข่งขันในระดับโลกได้ ตัวอย่างสำคัญของเทคโนโลยีอัจฉริยะของไต้หวันคือ MiTAC Information ได้พัฒนาระบบ E-Gate  หรือระบบตรวจคนเข้าเมืองที่ได้นำไปใช้ในสนามบินของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่สำคัญที่เทคโนโลยีของไต้หวันได้นำไปพัฒนาในต่างประเทศ และสามารถขยายโอกาสทางธุรกิจไปยังประเทศอื่นๆ ในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย    
เทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทั่วโลก Advantech AMAX-5000 ซึ่งเป็นแบรนด์ที่ได้รับรางวัลผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยมของไต้หวัน หรือ Taiwan Excellence อุปกรณ์ Advantech AMAX-5000 คือ ชุดควบคุมระบบอัจฉริยะ IoT ในภาคอุตสาหกรรม มีจุดเด่นในด้านการออกแบบการใช้งาน (User Interface) ที่ง่ายต่อการใช้งาน และมีคุณสมบัติสำคัญที่สามารถพัฒนาและเชื่อมต่อกับระบบหลักของอุตสาหกรรม และเชื่อมต่อซอฟต์แวร์อื่นๆ  (3rd Parties) ได้ง่ายอีกด้วยอีกด้วย อีกหนึ่งเทคโนโลยีสำคัญที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมทางการแพทย์ คือ ระบบ IEI Integration ซึ่งเป็นระบบที่สามารถคาดการณ์ปริมาณความต้องการทางการแพทย์ จัดการข้อมูลสำคัญของผู้ป่วย เพื่อวิเคราห์ความต้องการเข้าถึงแพทย์ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งโซลูชันนี้ก็ได้ถูกนำไปใช้ในโรงพยาบาลอัจฉริยะหลายๆแห่งทั่วโลกแล้ว อีกหนึ่งเทคโนโลยีสำคัญที่เป็นบทพิสูจน์เพิ่มเติมที่แสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญของไต้หวันในสาขาเทคโนโลยีนี้ คือ ระบบบริหารจัดการพลังงาน (EMS) เพื่อจัดการ วิเคราะห์และบริหารมาตรวัดน้ำอัจฉริยะแบบ IoT โดยทางผู้ผลิตเทคโนโลยีนี้ได้นำเข้ามาช้ในการพัฒนาเมืองไทเป และหมู่เกาะมัตสึ เพื่อบริหารการใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยวิสัยทัศน์ ประสบการณ์ และการให้ความสำคัญด้านเทคโนโลยีของไต้หวัน ทำให้ผู้ประกอบการไต้หวันสามารถประสบความสำเร็จในการขยายธุรกิจไปยังประเทศต่างๆ เช่น อินเดีย, ไทย, อินโดนีเซีย, และเวียดนามอีกด้วย    
รางวัลผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยมของไต้หวัน หรือ Taiwan Excellence ตอบรับเข้าร่วมงาน มี Taiwan Expo ปี 2563 ที่ประเทศอินเดีย, งาน COMPUTEX ปี 2563, และงาน IFA Berlin ในการแสดงศักยภาพและความสามารถในการบูรณาการทั้งภายในและระหว่างอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เพื่อพัฒนาตลาดเมืองอัจฉริยะในระดับโลกต่อไป    
รางวัล Taiwan Excellence Awards ก่อตั้งโดยกระทรวงเศรษฐกิจไต้หวัน (MOEA) ในปี พ.ศ. 2536 ผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์นี้ต้องผ่านการคัดเลือกอย่างเข้มงวด โดยมีเกณฑ์การพิจารณา 4 หัวข้อ คือ การวิจัยและพัฒนา, การออกแบบ, คุณภาพและการตลาดที่คัดเลือกโดยรัฐบาล และผลงานที่ได้รับรางวัลนี้เป็นตัวแทนผลิตภัณฑ์ที่แสดงถึงความยอดเยี่ยม และความเป็นเลิศด้านนวัตกรรม สัญลักษณ์นี้ได้รับการยอมรับ และเป็นที่รู้จักทั่วโลกมากกว่า 106 ประเทศ    
ทำความรู้จักกับ Taiwan Excellence ได้ที่ : http://bit.ly/37XipEA  หรือผ่านทาง Facebook : https://www.facebook.com/TaiwanExcellence.TH/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad