นักท่องเที่ยวไทยยังคงอยากเที่ยวในประเทศ ในปีหน้า 2564 - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

นักท่องเที่ยวไทยยังคงอยากเที่ยวในประเทศ ในปีหน้า 2564

นักท่องเที่ยวไทยยังคงอยากเที่ยวในประเทศ ในปีหน้า 2564

ยุโรป แอสซิสแทนซ์ (Europ Assistance) เผยผลสำรวจอนาคตการท่องเที่ยว (Future of Travel) จัดทำโดย IPSOS ระหว่างวันที่ 5 – 26 มิถุนายน 2563 เพื่อสำรวจทัศนคติของนักท่องเที่ยว 11,000 ราย จาก 11 ประเทศทั่วโลก รวมถึงนักท่องเที่ยวชาวไทยกว่า 1,000 ราย โดยผลสำรวจเผยว่าในอนาคตนักท่องเที่ยวไทยส่วนใหญ่ยังคงอยากเที่ยวในประเทศไทยก่อน

8 ใน 10 ของคนไทยอยากเดินทางท่องเที่ยว ในปี 2563 โดย 75% ต้องการท่องเที่ยวภายในประเทศก่อน สำหรับการวางแผนท่องเที่ยวปีหน้า 2564 นักท่องเที่ยวทั่วโลกส่วนใหญ่ต้องการเดินท่องเที่ยวในต่างประเทศแล้ว ขณะที่นักท่องเที่ยวไทย 75% ยังคงอยากเที่ยวประเทศไทยอยู่ ในปีนี้ นักท่องเที่ยวไทย 36% วางแผนจองทริปท่องเที่ยวแล้ว และคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก 86% หลีกเลี่ยงไปยังสถานที่ผู้คนหนาแน่นและ 84% หลีกเลี่ยงที่จะเดินทางไปยังบางประเทศ อีกเทรนด์ที่น่าสนใจคือนักเดินทางชาวไทย 70% วางแผนจะซื้อประกันภัยการเดินทางในอนาคต ขณะที่ 44% เผยว่าเคยทำประกันการเดินทางมาแล้ว
การแพร่ระบาดของ Covid-19 ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวทั่วโลก อย่างไรก็ตามนักท่องเที่ยวที่ตอบแบบสอบถามทั่วโลกมากถึง 81% อยากเดินทางท่องเที่ยวสักครั้งในปีนี้ มีเพียง 35% จาก 11 ประเทศ เผยว่าได้จองการท่องเที่ยวในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมไว้แล้ว หรือกำลังวางแผนอยู่ การวางแผนแสดงให้เห็นเทรนด์ระยะสั้นว่านักเดินทางจะมีความมั่นใจมากขึ้นในการจองทริปท่องเที่ยวช่วงปลายปี 2563 หรือต้นปี 2564 นอกจากนี้ นักเดินทางจำนวนมาก โดยเฉพาะในยุโรป จะเริ่มกลับมาท่องเที่ยวในแบบเดิมก่อนการแพร่ระบาดของ Covid-19 เช่น การโดยสารเครื่องบินและเข้าพักในโรงแรมขนาดใหญ่ในช่วงต้นปี 2564
รายละเอียดสำคัญจากสำรวจ
การวางแผนท่องเที่ยวในปี 2563: ผลสำรวจทัศนตินักท่องเที่ยวทั่วโลกต่อการท่องเที่ยวในช่วงเวลาต่างๆ ทั้งฤดูร้อน ฤดูใบไม้ผลิ และฤดูหนาว แสดงให้เห็นว่า Covid-19 ไม่สามารถหยุดยั้งนักท่องเที่ยวเหล่านี้ได้ เพียงแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการท่องเที่ยวที่พวกเขาชื่นชอบในระยะสั้นเท่านั้น และในปีนี้พวกเขาอยากท่องเที่ยวในสถานที่ใกล้บ้านก่อน
  • ในปี 2563 ผู้ตอบแบบสอบถาม 81% วางแผนเดินทางไปอิตาลี (89%) ฝรั่งเศส (87%) และไทย (85%) เป็นประเทศแรกๆ
  • นักท่องเที่ยวทั่วโลกวางแผนใช้จ่ายท่องเที่ยวโดยเฉลี่ย 1,506 ยูโร (นักท่องเที่ยวไทยจะใช้จ่าย 733 ยูโร) ต่อคน สำหรับทริปผ่อนคลายหลังมาตรการล็อคดาวน์ 36% ระบุว่าจะใช้เวลาพักผ่อนประมาณ 1 อาทิตย์ ที่ชายทะเล (30% ของนักท่องเที่ยวไทย)
  • 74% ของนักเดินทางทั่วโลกจะเดินทางด้วยรถยนต์ (รถเช่าหรือรถส่วนตัว) ส่วนคนไทย 74% จะเดินทางด้วยรถยนต์เช่นกัน
  • 61% ของนักท่องเที่ยวทั่วโลกเลือกที่พักแบบส่วนตัวหรือโรงแรมขนาดเล็ก และรักษาระยะห่างและหลีกเลี่ยงสถานที่ผู้คนหนาแน่น ขณะที่ชาวไทยเพียง 27% เท่านั้นเลือกที่พักแบบส่วนตัว และ 71% จะเข้าพักในโรงแรม
ความกังวลและลดความเสี่ยงการแพร่ระบาด Covid-19 ยังเป็นความกังวลหลักของเหล่านักท่องเที่ยวแต่แบบสำรวจได้สอบถามถึงมาตรการลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดและวิธีแก้ไขก่อนเดินทางอีกครั้ง
  • 3 ความกังวลหลักของนักท่องเที่ยวที่มีต่อโรคระระบาด เกิดการแพร่ระบาดขณะเดินทาง (36%) ไม่สามารถทำกิจกรรมท่องเที่ยวได้ตามที่ได้วางแผนไว้ (28%) ต้องถูกกักกันโรคในต่างประเทศ (27%)
  • 3 ปัจจัยที่ช่วยสร้างความเชื่อมัน คือ อัตราการติดเชื้อลดลง (54%) คำแนะนำอย่างเป็นทางการจากรัฐบาล (25%) และการกลับมาเปิดให้บริการของโรงแรม บาร์ และร้านอาหาร (25%)
  • พฤติกรรมที่จะหลีกเลี่ยงเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาด คือ หลีกเลี่ยงการท่องเที่ยวในบางประเทศ (79%) สถานที่ผู้คนพลุกพล่าน (77%) และวางแผนท่องเที่ยวภายในประเทศ (76%)
วิธีการเดินทาง ขณะที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกจะขับรถยนต์ไปเที่ยวนั้น การเดินทางโดยเครื่องบินเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเช่นกัน
  • 75% ส่วนใหญ่ของนักท่องเที่ยวทั่วโลกระบุว่าจะขับรถยนต์ (รถเช่าหรือรถส่วนตัว) ไปเที่ยวหลังการล็อคดาวน์ในฤดูร้อน ส่วน (58%) ระบุว่าจะขับรถยนต์ไปเที่ยวในฤดูใบไม้ร่วง เป็นสัดส่วนที่ลดลง และลดลงมากขึ้นผู้ตอบแบบสอบถาม (56%) ยังคงใช้รถยนต์เดินทางในฤดูหนาว และปี 2564 (51%)
  • 20% ของนักท่องเที่ยวทั่วโลกจะเดินทางโดยเครื่องบินในฤดูร้อน และเพิ่มขึ้น 13% ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง (33%) และเพิ่มขึ้นอีกเป็น (37%) ในฤดูหนาว และเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า (44%) ในปี 2564
  • 14% ของนักเดินทางทั่วโลกจะเดินทางโดยรถไฟในฤดูร้อน และมีความเปลี่ยนแปลงไม่มากนักในฤดูใบไม้ร่วง (16%) ฤดูหนาว (17%) และมีความต้องการเพิ่มขึ้นเพียง 3% ที่จะเดินทางโดยรถไฟในปี 2564 (17%)
สถานที่ท่องเที่ยว นักเดินทางทั่วโลกส่วนใหญ่ระบุว่าจะเดินทางในประเทศก่อนในฤดูร้อน แต่พวกเขามีความต้องการเดินทางไปต่างประเทศในปีหน้า 2564
  • 60% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าพวกเขาวางแผนเดินทางภายในประเทศในช่วงฤดูร้อน ขณะที่ฤดูใบไม้ร่วงมีความต้องการเที่ยวในประเทศ (52%) และฤดูหนาว (54%) และเมื่อสอบถามถึงแผนการเดินทางในปี 2564 ความต้องการท่องเที่ยวในประเทศลดลงเกือบครึ่งอยู่ที่ (39%)
  • 6% ระบุว่าพวกเขาจะเดินทางเที่ยวต่างประเทศ อย่างไรก็ตามนักเดินทางจำนวนเพิ่มขึ้นสองเท่าตัวตอบว่าพวกเขาวางแผนเที่ยวต่างประเทศในฤดูใบไม้ร่วง (14%) และฤดูหนาว (14%) และ 19% ของผู้ตอบแบบสอบถามวางแผนว่าจะเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศสักครั้งภายในปี 2564
การป้องกันการเดินทาง ขณะที่มีโรคระบาด จึงไม่น่าแปลกใจที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่สนใจป้องกันการเดินทางทริปถัดไป
  • ก่อนการแพร่ระบาดของ Covid-19 นักเดินทาง 48% ระบุว่าพวกเขาทำประกันการเดินทาง อย่างไรก็ตาม 54% จะซื้อประกันเดินทางในทริปถัดไป ส่วนประเทศไทย เทรนด์ดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้น โดย 70% ของนักท่องเที่ยวไทยวางแผนซื้อประกันเดินทางในอนาคต ขณะที่ 44% นั้นทำประกันเดินทางมาก่อนแล้ว
  • 66% ของผู้ตอบแบบสอบถามต้องการความคุ้มครองในการส่งตัวกลับเมื่อมีการปิดพรมแดนหรือการล็อคดาวน์ในประเทศสถานที่ปลายทาง
  • 63% ต้องการได้รับความคุ้มครองเมื่อการเดินทางต้องยืดเยื้อกว่าเดิม
  • 62% ต้องการได้รับความช่วยเหลือเมื่อเจ็บป่วยหลังกลับจากทริปท่องเที่ยว 14 วัน
Francine Abgrall หัวหน้าการท่องเที่ยว ยุโรป แอสซิสแทนซ์ กรุ๊ป กว่าว่า “เราได้ทำสำรวจการท่องเที่ยวประจำปี เป็นปีที่ 25 เป็นเครื่องมือในการแบ่งปันข้อมูลการเดินทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก เราจึงร่วมมือกับบริษัทวิจัยระดับโลกอย่าง IPSOS ในการสำรวจรูปแบบการท่องเที่ยวในอนาคตเพื่อเข้าใจรูปแบบการท่องเที่ยวว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือยังเหมือนเดิม ขณะที่รูปแบบการท่องเที่ยวต่างๆ มีความสอดคล้องกับความรู้สึกในปัจจุบันที่การรักษาระยะห่าง (ที่พักขนาดเล็กลง) และหลีกเลี่ยงสถานที่คนพลุกพล่าน (การเดินทางสาธารณะลดลง) เราสังเกตเห็นว่าผู้ตอบแบบสอบวางแผนการท่องเที่ยวในปี 2564 โดยยินดีที่จะกลับไปท่องเที่ยวในรูปแบบเดิมก่อน Covid-19 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีความไม่แน่นอนอยู่มาก ผลสำรวจเผยให้เห็นว่านักท่องเที่ยวมากกว่าครึ่งอยากจะเดินทางท่องเที่ยวในปี 2563 ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีในการฟื้นฟูอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในระยะกลางและระยะยาว”
Philippe Demangeat ประธานกรรมการบริหาร ยุโรป แอสซิสแทนซ์ ไทยแลนด์ กล่าวว่า “การสำรวจการท่องเที่ยวประจำปีครั้งนี้ เป็นปีแรกที่ได้สำรวจทัศนติของนักท่องเที่ยวชาวไทย เราได้รับรู้ความคิดเห็นของชาวไทยต่อประกันภัยการเดินทางและบริการให้ความช่วยเหลือ ของนักเดินทางชาวไทย 77% จะซื้อผลิตภัณฑ์ประกันภัยการเดินทาง ขณะที่มีเพียง 44% ที่ซื้อประกันเดินทางในปีที่ผ่านมา ปัจจุบัน บริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน ค่ารักษาในโรงพยาบาล และความล่าช้าหรือการยกเลิกการเดินทาง มีความจำเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ยังให้ความสนใจบริการพิเศษ อาทิ บริการทางการแพทย์ก่อนเดินทาง คำแนะนำด้านความปลอดภัยในสถานที่ท่องเที่ยว การรับข้อมูลในเชิงพิกัดภูมิศาสตร์เกี่ยวกับผู้ติดเชื้อ Covid-19 ขณะเดินทาง บริการแพทย์ทางไกล และความสามารถในการเข้าตรวจ Covid-19 ได้ทุกที่ทุกเวลา
แม้ว่าขณะนี้จะมีความไม่แน่นอน แต่เราได้เห็นสัญญาณบวกที่คนไทยวางแผนเดินทางท่องเที่ยวในช่วงนี้และปี 2564 โดยจะหันมาเที่ยวในประเทศมากขึ้น ในระยะสั้นด้วยได้รับการสนับสนุนด้านการเงินและการบริการที่จำเป็น”
วิธีการสำรวจ
การสำรวจออนไลน์จัดทำขึ้นโดย Ipsos ตามข้อกำหนดของ ยุโรป แอสซิสแทนซ์ สำรวจนักท่องเที่ยว 11,000 คน (ผู้ทำแบบสำรวจ 1,000 คน ต่อ ประเทศ) ในยุโรป (ฝรั่งเศส เยอรมัน ออสเตรีย เบลเยียม สเปน อิตาลี โปแลนด์ และสหราชอาณาจักร) เอเชีย (จีนและไทย) และ อเมริกา การสำรวจดังกล่าวเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดจากการสำรวจครั้งที่ 20 ของ Ipsos Holiday Barometer ซึ่งเตรียมพร้อมทำการสำรวจขณะเริ่มมาตรการล็อคดาวน์ การสำรวจมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาผลกระทบ Covid-19 ต่อการวางแผนเดินทางท่องเที่ยวและนักเดินทาง เพื่อช่วยให้ทุกภาคส่วนในธุรกิจการท่องเที่ยวเตรียมตัวรับมือกับโลกหลัง Covid-19
เกี่ยวกับยุโรป แอสซิสแทนซ์ กรุ๊ป
ยุโรป แอสซิสแทนซ์ ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2506 เป็นผู้ริเริ่มบริการด้านความช่วยเหลือ โดยให้บริการลูกค้าในกว่า 200 ประเทศ ด้วยเครือข่ายผู้ให้บริการที่ได้รับการรับรองจำนวน 750,000 แห่ง และศูนย์บริการอีก 39 แห่ง ภารกิจของเราคือการช่วยให้ผู้คนหรือหน่วยงานได้คลายความกังวลใจและเกิดความสบายใจในทุกที่ทุกเวลา เรานำเสนอความช่วยเหลือที่หลากหลาย ทั้งทางการท่องเที่ยว ประกันภัย รวมถึงบริการความช่วยเหลือส่วนบุคคลในด้านต่างๆ เช่น การคุ้มครองผู้สูงอายุ, การคุ้มครองอัตลักษณ์ทางดิจิทัล (protection of digital identity ) แพทย์ทางไกล และบริการ เจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก ด้วยจำนวนพนักงานจำนวนมากถึง 7, 765 คน วิสัยทัศน์ของเรา คือการเป็นบริษัทผู้ให้การดูแลที่เชื่อถือได้ที่สุดในโลก
ยุโรป แอสซิสแทนซ์ เป็นส่วนหนึ่งของ เจนเนอราลี่ กรุ๊ป ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทประกันชั้นนำของโลก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad