8 ประเด็นน่ารู้ เมื่อ 'หยวน' ถูกพัฒนาเป็นเงินดิจิทัล - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

8 ประเด็นน่ารู้ เมื่อ 'หยวน' ถูกพัฒนาเป็นเงินดิจิทัล

8 ประเด็นน่ารู้ เมื่อ 'หยวน' ถูกพัฒนาเป็นเงินดิจิทัล 19 กรกฎาคม 2563 8 ประเด็นน่ารู้ เมื่อ 'หยวน' ถูกพัฒนาเป็นเงินดิจิทัล 8 ประเด็นน่ารู้ โครงการพัฒนาเงินดิจิทัลของจีน ความแตกต่างระหว่างเงินหยวนกับเงินหยวนดิจทัล รวมถึงขอบข่ายและโอกาสที่ถูกนำไปใช้นอกจีน ขณะเดียวกันหากมีการใช้แพร่หลาย จะกระทบต่อบทบาทของเงินดอลลาร์หรือไม่ อย่างไร? ​โครงการพัฒนาเงินดิจิทัลของจีน มักถูกมองว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ทางการจีนจะใช้เป็นเครื่องมือในการการลดอิทธิพลของเงินดอลลาร์ฯ ขณะที่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่หนุนนำระบบการชำระเงินแบบ Contactless เป็นปัจจัยเร่งการปรับตัวของผู้ที่เกี่ยวข้องและหนุนให้เกิดการยอมรับการใช้เงินดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งกระแสการตื่นตัวดังกล่าวอาจช่วยผลักดันระบบนิเวศของเงินดิจิทัลให้พัฒนาอย่างรวดเร็วและเริ่มเข้ามาแทนบทบาทของระบบการเงินเดิมในไม่ช้า ทั้งนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รวบรวมประเด็นน่ารู้ที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการพัฒนาเงินดิจิทัลของจีนและประเด็นเกี่ยวเนื่องที่น่าสนใจ ดังนี้ Q : เงินหยวนดิจิทัล DCEP แตกต่างจากเงินหยวนปกติอย่างไร A : ไม่แตกต่าง เนื่องจาก DCEP เป็นเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางทำให้เงินดังกล่าวถูกหนุนหลังด้วยทุนสำรองเงินตราเช่นเดียวกับเงินหยวนและเป็นสื่อกลางในการชำระหนี้ได้ตามกฎหมายของประเทศจีน ซึ่งธนาคารจีนได้มีการออก DCEP ทดแทนปริมาณการออกเงินหยวนสำหรับการใช้จ่ายในประเทศของประชาชนจีนทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจจีนไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากการออก DCEP ทั้งนี้ จุดเด่นสำคัญของ DCEP เทียบกับเงินหยวนคือความสามารถที่ธนาคารกลางจีนตรวจสอบเส้นทางของการใช้ DCEP อันเป็นการช่วยลดความเสี่ยงจากอาชญากรรมทางการเงิน การหลีกเลี่ยงภาษี รวมทั้งคุณสมบัติของ DCEP ที่สามารถเชื่อมต่อบริการทางการเงินอื่นๆ ผ่านระบบอัตโนมัติอันช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดข้อผิดพลาดของการทำธุรกรรม Q : ขอบเขตการใข้ DCEP A : ในปัจจุบัน DCEP เริ่มทดลองใช้อย่างจำกัดใน 4 เมืองสำคัญของจีน ได้แก่ ซูโจว เซินเจิ้น สงอัน และเฉิงตู ขณะที่ ทางการจีนตั้งเป้าหมายที่จะผลักดันให้ DCEP สามารถใช้จ่ายทั่วประเทศภายในปี 2022 โดยได้รับแรงหนุนจากกระแสการใช้จ่ายเงินแบบ Contactless ที่น่าจะได้รับความนิยมจากการระบาดของโควิด-19 อันเป็นปัจจัยเร่งให้ผู้ประกอบการในจีนเร่งปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการใช้งาน DCEP และเพิ่มความสะดวกผ่านระบบการชำระเงินผ่าน DCEP ที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยสัญญาณอินเตอร์เน็ต Q : มีโอกาสไหมที่ DCEP จะสามารถใช้นอกประเทศจีน A: ในอนาคต DCEP อาจสามารถที่จะใช้นอกประเทศได้ขึ้นอยู่กับนโยบายของธนาคารกลางจีนและธนาคารกลางประเทศปลายทาง แต่การใช้คงเกิดขึ้นอย่างจำกัดและถูกใช้อย่างไม่เป็นทางการในบางประเทศโดยเฉพาะประเทศที่มีการพึ่งพิงจีนในระดับสูง อาทิ ประเทศที่มีศักยภาพในการหาเงินตราต่างประเทศต่ำและต้องพึ่งพาจีนในสัดส่วนสูงอาจยอมให้มีการใช้ DCEP ควบคู่กับการใช้เงินสกุลท้องถิ่น อย่างไรก็ดี การใช้ DCEP ในต่างประเทศอาจไม่ได้รับการตอบรับที่ดีนัก เนื่องจากหลายๆ ประเทศยังคงมีความกังวลต่อประเด็นความมั่นคงและผลต่อนโยบายการเงินจากการเปิดรับ DCEP นอกจากนี้ ข้อจำกัดด้านแลกเปลี่ยนอย่างเสรี การเคลื่อนย้ายเงินทุน ตลอดจนความท้าทายในการดูแลสภาพคล่องของ DCEP นอกประเทศจีน Q: ในแง่ของการเมืองระหว่างประเทศ การเกิดขึ้นของ DCEP มีนัยอะไร A: การเกิดขึ้นของ DCEP อาจเป็นการส่งสัญญาณของทางการจีนในการวางตำแหน่งของจีนให้เป็นหนึ่งในผู้นำด้านเศรษฐกิจดิจิทัลผ่านการสร้างต้นแบบของการพัฒนาระบบนิเวศของเงินดิจิทัล อันเป็นการหยั่งเชิงกระแสตอบรับอิทธิพลจีนในตลาดการเงินโลก นอกจากนี้ การพัฒนาเงินดิจิทัลนั้นจะมาควบคู่กับระบบการชำระเงินดิจิทัลซึ่งอาจเป็นกลไกสำรองในการรองรับการชำระราคาระหว่างประเทศของจีนกับประเทศคู่ค้าที่มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับจีน หากปัจจัยเสี่ยงด้านการเมืองระหว่างประเทศมีทิศทางเลวร้ายลงในอนาคต Q: DCEP มีความเหมือนหรือแตกต่างจากเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) อื่นๆ หรือไม่ A: DCEP เป็นหนึ่งในรูปแบบของเงินดิจิทัลของธนาคารกลางเพื่อใช้ในการชำระเงินโดยทั่วไปในประเทศ (Retail CBDC) ขณะที่เงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) ยังมีอีกรูปแบบคือ เงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางในการชำระเงินระหว่างธนาคาร (Wholesale CBDC) ทั้งนี้ ในปัจจุบันธนาคารกลางหลายๆ แห่งอยู่ระหว่างการทดลอง โครงการ W-CBDC อาทิ ธนาคารกลางแคนาดา (Project Jesper) ธนาคารกลางยุโรปร่วมกับธนาคารกลางญี่ปุ่น(Project Stella) ธนาคารกลางฮ่องกง (Project Lionrock) ธนาคารกลางสิงคโปร์ (Project Ubin) รวมทั้ง ธนาคารแห่งประเทศไทย (Project Inthanon) ขณะที่จีนอยู่ในการเตรียมโครงการเงินดิจิทัลรูปแบบ Stablecoin เพื่อใช้ในการชำระราคาระหว่างประเทศด้วยเช่นกัน Q: ระบบนิเวศของการชำระเงินระหว่างประเทศ ภายใต้การถือกำเนิดของ CBDC จะเปลี่ยนแปลงขนาดไหน A: การใช้ CBDC อาจสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญต่อระบบการชำระเงินระหว่างประเทศ โดยเฉพาะประสิทธิภาพของระบบการขำระเงินใหม่ โดยการชำระราคาที่มีผลสมบูรณ์ในทันที อีกทั้งระบบการชำระเงินดังกล่าวอาจสามารถเชื่อมต่อกับกิจกรรมต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจโดยอัตโนมัติ อันช่วยลดต้นทุนและข้อผิดพลาดในการทำธุรกรรมได้มากเทียบกับระบบการชำระเงินแบบเดิม ขณะที่ในอนาคตระบบการชำระเงินดังกล่าวอาจจะทยอยเข้ามาแทนที่ระบบ SWIFT รวมทั้ง ระบบธนาคารตัวแทน Q: หากการใช้ CBDC แพร่หลายจะกระทบบทบาทของเงินดอลลาร์ฯ ในธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศหรือไม่ A: การใช้ CBDC โดยตัวมันเองไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อบทบาทของเงินดอลลาร์ฯ แต่อย่างใด อย่างไรก็ดี ระบบการชำระเงินระหว่างประเทศผ่าน CBDC ที่มีประสิทธิภาพสูง และความสามารถของระบบการชำระเงินที่สามารถทำธุรกรรมได้ตลอด 24 ชั่วโมง ช่วยลดความต้องการสภาพคล่องที่ต้องอาศัยเงินตราสกุลหลักระหว่างประเทศ อาทิ ดอลลาร์ฯ ที่มีความมั่นคงสูงในการบริหารความเสี่ยงของระบบการชำระเงินระหว่างรอการส่งมอบ อันเป็นการลดบทบาทของเงินดอลลาร์ฯ ในทางอ้อม Q : Libra 2.0 มีความเหมือนและแตกต่างกับ CBDC อย่างไร A: โครงการ Libra 2.0 นั้นเป็นการสร้างเงินดิจิทัลที่ออกโดยภาคเอกชน โดยมีเป้าหมายในการเป็นสกุลเงินดิจิทัลระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ประเด็นที่โครงการ Libra คล้ายกับ CBDC อาจได้แก่ การใช้สินทรัพย์หนุนหลังที่มีความน่าเชื่อถือสูง เพื่อลดความผันผวนของค่าเงิน โดยเงิน Libra จะมีมูลค่าเท่ากันกับตะกร้าของเงินหนุนหลัง ขณะที่จุดแตกต่างสำคัญมีดังนี้ ประการแรก CBDC นั้นมีกฎหมายรองรับ ขณะที่ Libra ยังไม่มีกฎหมายรองรับ โดยอยู่ในระหว่างการของอนุญาตดำเนินการในหลายๆ ประเทศ ประการต่อมาการออกและการควบคุมปริมาณเงินที่ Libra ถูกสร้างและจัดการโดยภาคเอกชนในรูปของ Libra Association โดยใช้ Rule-based ในการบริหารปริมาณเงิน ทำให้มีความเป็นไปได้ที่เงินดังกล่าวจะเผชิญกับความผันผวนในช่วงเวลาที่ไม่ปกติ ขณะที่ CBDC นั้นออกโดยธนาคารกลางและสามารถใช้เครื่องมือทางการเงินของธนาคารกลางในการดูแลในช่วงที่ตลาดเงินไม่ปกติทำให้มีความผันผวนน้อยกว่า กล่าวโดยสรุป การเกิดขึ้นของโครงการ DCEP น่าจะเป็นปัจจัยที่จุดประกายให้ธนาคารกลางทั้งโลกมีความตื่นตัวในการพัฒนาโครงการเงินดิจิทัลอย่างแพร่หลายและเป็นปัจจัยที่นำมาสู่การยกระดับโครงสร้างการชำระเงินของโลกครั้งใหญ่ โดยจีนหวังว่าหากการใช้ระบบการชำระเงินผ่านเงินดิจิทัลเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายจะช่วยให้จีนมีกลไกสำรองในการรองรับการชำระราคาระหว่างประเทศ หากปัจจัยเสี่ยงด้านการเมืองระหว่างประเทศมีทิศทางเลวร้ายลงในอนาคต ทั้งนี้ ด้วยประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นของระบบชำระเงินแบบใหม่ที่ย่นระยะเวลาการชำระราคา ทำให้ความต้องการเงินดอลลาร์ฯ ในฐานะสื่อกลางในการชำระราคาระหว่างประเทศลดลง อย่างไรก็ดี การเกิดขึ้นของ DCEP ไม่น่าจะส่งผลต่ออิทธิพลของเงินดอลลาร์ฯ อย่างมีนัยสำคัญ ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad