สสว.ขยายความร่วมมือ BOCT ติดปีกเอสเอ็มอีไทยนำร่องเจาะตลาดจีน ก่อนเดินหน้าเต็มสูบสู่ตลาดโลก - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2563

สสว.ขยายความร่วมมือ BOCT ติดปีกเอสเอ็มอีไทยนำร่องเจาะตลาดจีน ก่อนเดินหน้าเต็มสูบสู่ตลาดโลก

สสว.ขยายความร่วมมือ BOCT
ติดปีกเอสเอ็มอีไทยนำร่องเจาะตลาดจีน ก่อนเดินหน้าเต็มสูบสู่ตลาดโลก

สสว. ลงนามความร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศจีน (BOCT) มอบสิทธิประโยชน์ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เป็นสมาชิกของ สสว. เพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการเจาะตลาดประเทศจีน พร้อม           จัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไทย-จีน ขยายความร่วมมือในทุกๆด้าน
นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่าปัจจุบันถึงแม้ประเทศไทยจะควบคุมโรคโควิด-19 ได้ดีอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ระบบเศรษฐกิจที่กำลังเผชิญปัญหาอย่างหนัก สสว. คาดว่าในช่วงครึ่งปีหลัง 2563 เศรษฐกิจมีแนวโน้มทยอยฟื้นตัว           จากการกระตุ้นทางเศรษฐกิจของภาครัฐ และการบริโภคในภาคเอกชนเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเปิดประเทศ           ให้นักท่องเที่ยวเข้ามาได้บางส่วนในเดือนตุลาคมนี้ แต่เศรษฐกิจในกลุ่มผู้ประการรายย่อย (MSME) มีแนวโน้มหดตัวกว่าประมาณการเดิม จากประมาณการ GDP MSME ของ สสว. โดยใช้ MSME IO Table และ Macro Model คาดว่า จะหดตัวถึงร้อยละ 9.5 จากเดิมที่ประมาณการไว้อยู่ที่ 7.858 ล้านล้านบาท หดตัวลงมาอยู่ที่ 7.113 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการหดตัวของการบริโภคทั้งภาครัฐและเอกชนมีแนวโน้มหดตัวลงกว่าเดิม ทิศทางการบริโภคภายในประเทศยังไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้ชะลอตัวลง


ทั้งนี้ ตลาดส่งออกหลักของ MSME ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2563 ยังคงปรับตัวลดลงเกือบทุกตลาด มีเพียงตลาดสหรัฐที่ขยายตัวได้ 19.9% สำหรับสินค้าส่งออกสำคัญของ MSME ในปี 2563 ที่ขยายตัวได้ ได้แก่ สินค้ากลุ่มผลไม้สด (+13.4%) สินค้ากลุ่มอุปกรณ์ไฟฟ้าและส่วนประกอบ (+10.6%) และสินค้ากลุ่ม         ยานยนต์และส่วนประกอบ (+6.0%) ในทางกลับกันสินค้าส่งออกสำคัญที่ยังหดตัวต่อเนื่องในปีนี้ คือ สินค้ากลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับที่ปรับตัวลดลง 48.1%
ส่วนภาพรวมการส่งออกไปจีนของ MSME ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2563 ในช่วง 7 เดือนแรกของ   ปี 2563 MSME มีการส่งออกไปยังประเทศจีนมูลค่า 2,585.0 ล้านเหรียญยูเอสดอลล่าร์ คิดเป็นสัดส่วน 16.9% ของ MSME Export ทั้งหมด จึงนับเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญลำดับที่หนึ่งของ MSME โดยอัตราการขยายตัวลดลง 2.7% ซึ่งสาเหตุที่สำคัญมาจากสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งเริ่มแพร่ระบาดในจีนตั้งแต่ต้นปี สินค้าส่งออกที่สำคัญของ MSME คือผลไม้ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกไปยังจีนมากที่สุด คิดเป็น 75% ของมูลค่า MSME Export ไปยังจีนทั้งหมด และยังมีการเติบโตต่ออย่างเนื่องแม้ในช่วงสถานการณ์โควิด-19
โดย MSME ส่งออกสินค้าทางการเกษตรไปยังจีน 1,310 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 50.7%                (เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีสัดส่วน 44.5%) ของการส่งออกไปยังจีนทั้งหมด และมีอัตรา        การขยายตัวเท่ากับ 10.8% โดยสินค้าทางการเกษตรที่ MSME ส่งออกไปจีน ส่วนใหญ่ 84.5% เป็นสินค้าเกษตรที่ยังไม่แปรรูป ได้แก่ ผลไม้ ปลา และเนื้อสัตว์ และอีก 14.5% เป็นสินค้าเกษตรแปรรูป ได้แก่ น้ำตาล ผลิตภัณฑ์จากธัญพืช และ พืชผักแปรรูปจึงทำให้จีนยังคงสามารถเป็นตลาดหลักในการส่งออกที่สำคัญของไทยขณะนี้ ดังนั้นสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จึงได้เร่งขยายความร่วมมือกับหน่วยงานจีนในทุกระดับเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีขยายตลาดการค้ากับประเทศจีนมากขึ้น
โดย ล่าสุด สสว. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง สสว. กับ Bank of China (Thai) Public Company Limited หรือ BOCT ซึ่งเป็นบริษัทลูกของธนาคารแห่งประเทศจีน (ฮ่องกง) จำกัด         ที่เป็นหนึ่งในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่สำคัญในฮ่องกง อยู่ภายใต้ธนาคารแห่งประเทศจีน (ธนาคารแม่) ที่มีสาขาเป็นจำนวนมากครอบคลุมทั้งประเทศจีนและในอีก 62 ประเทศทั่วโลก และมีเครือข่ายผู้ประกอบการที่ค้าขายในภูมิภาคต่างๆ เช่น อเมริกาใต้ แอฟริกา ยุโรป ออสเตรเลีย และอาเซียน  ซึ่งได้ให้บริการธุรกิจทางการเงินเต็มรูปแบบ โดยได้เปิดดำเนินกิจการมาแล้วกว่าร้อยปี เป็นธนาคารที่มีความเป็นสากลและการให้บริการ       ที่ครอบคลุมสูงสุดของประเภทธุรกิจธนาคารในประเทศจีน โดยความร่วมมือกับ สสว. ในครั้งนี้มีเป้าหมายร่วมกันในด้านการสร้างสภาพแวดล้อมเชิงบวกทางเศรษฐกิจ และการส่งเสริมโอกาสทางธุรกิจให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย ให้สามารถขายตลาดและการค้าขายไปสู่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้ง    ยังมุ่งมั่นในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง 2 หน่วยงาน เพื่อพัฒนาและกระชับความร่วมมือ                ในการส่งเสริมเอสเอ็มอีร่วมกันระหว่าง 2 ประเทศ ในการแสวงหาโอกาสและขยายตลาดร่วมกัน
สำหรับบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้ มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอี รวมถึงส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยและประเทศจีนผ่านช่องทางการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการสนับสนุนและจัดกิจกรรมส่งเสริม SME ร่วมกัน รวมถึงจัดสัมมนาและกิจกรรมพัฒนาขีดความสามารถของ ผู้ประกอบการ การพิจารณาให้บริการและผลิตภัณฑ์ทางการเงินของธนาคารแก่ ผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกของ สสว. และการให้ส่วนลดและสิทธิพิเศษแก่ผลิตภัณฑ์ของสมาชิก สสว.
“ในความร่วมมือครั้งนี้ BOCT จะให้สิทธิพิเศษทั้งในเรื่องการให้บริการ ผลิตภัณฑ์ทางการเงินแก่ ผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกของ สสว. และให้ส่วนลดและสิทธิพิเศษแก่ผลิตภัณฑ์ของสมาชิก สสว. ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ และรับรองมาตรฐานตามที่แต่ละภูมิภาค และประเทศกำหนด ซึ่งความร่วมมือกับ BOCT ในครั้งนี้ ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสให้สินค้าของไทยประสบความสำเร็จในตลาดจีนได้มากยิ่งขึ้น” นายวีระพงศ์ กล่าว
นอกจากนี้ ความร่วมมือดังกล่าวยังรวมถึงการส่งเสริมความสัมพันธ์เชิงธุรกิจระหว่างประเทศไทยและประเทศจีน ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านเศรษฐกิจและเอสเอ็มอีของทั้ง 2 ประเทศ เช่น ข้อมูลการจัดงานแสดงสินค้า งานสัมมนา การจัดคณะผู้แทนทางธุรกิจ การจับคู่ทางธุรกิจ และการประชุมออนไลน์ เป็นต้น รวมทั้งจะร่วมกันจัดประชุม และจัดกิจกรรมพบปะทางธุรกิจ เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มสมาชิกของทั้งสองหน่วยงานได้มีปฏิสัมพันธ์และสื่อสารกัน ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถด้านธุรกิจ        ให้สามารถฝ่าฟันวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ไปได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad