Children in Streetให้ทุนสนับสนุน โครงการส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมศักยภาพทักษะอาชีพให้กับกลุ่มเด็กบนท้องถนนในเขตกรุงเทพมหานคร - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2563

Children in Streetให้ทุนสนับสนุน โครงการส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมศักยภาพทักษะอาชีพให้กับกลุ่มเด็กบนท้องถนนในเขตกรุงเทพมหานคร


รศ.ดร.ชูเกียรติ ลีสุวรรณ์ ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาระบบการช่วยเหลือและส่งเสริมการเรียนรู้ สำหรับกลุ่มเด็กบนท้องถนน (Children in Street) ในเขตกรุงเทพมหานครเปิดเผยว่าโครงการ Children in Streetในเขตกรุงเทพมหานคร” ได้ถูกจัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประมวลข้อมูลพื้นฐาน สถานการณ์และสภาพปัญหาของกลุ่มเด็กบนท้องถนนในเขตกรุงเทพมหานคร รวมถึงพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมศักยภาพกลุ่มเด็กบนท้องถนนรายบุคคล พัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับครูข้างถนนและคนทำงานกับเด็กบนท้องถนน พัฒนาระบบการช่วยเหลือและส่งเสริมการเรียนรู้ที่เหมาะสมแก่กลุ่มเด็กบนท้องถนน ตลอดจนเสริมสร้างความเข้าใจและการสื่อสารสาธารณะโดยผลิตสื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และผลการปฏิบัติงานของครูและองค์กรทำงานกับกลุ่มเด็กบนท้องถนน โดยใช้กระบวนการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของเครือข่ายความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายในเรื่องนี้ ซึ่งองค์ความรู้ทั้งหมดข้างต้น จะสามารถใช้เป็นแนวการปฏิบัติงานในการให้การช่วยเหลือและส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้กับกลุ่มเด็กบนท้องถนน (Children in Street) ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และที่สำคัญคือเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของสังคม

จากการดำเนินงาน ที่ผ่านมาทางโครงการฯได้จัดประชุมปฏิบัติการโดยมีนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ครูกศน. ,เจ้าหน้าที่จากศูนย์สร้างโอกาสเด็ก กรุงเทพมหานคร ,ครูข้างถนนจากองค์กรเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับเด็กบนท้องถนนเพื่อหาแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กบนท้องถนนเป็นรายบุคคล ครอบคลุมการเรียนรู้ 3 รูปแบบ ได้แก่ การเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง และทักษะชีวิต และการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ เพราะฉะนั้นเพื่อให้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กบนท้องถนนเป็นรายบุคคลและรูปแบบการช่วยเหลือกลุ่มเด็กบนท้องถนนรายบุคคลได้ถูกพัฒนาออกเป็นรูปธรรมและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในการนำมาพัฒนารูปแบบการช่วยเหลือกลุ่มเด็กบนท้องถนนรายบุคคล จึงจำเป็นต้องมีการทดลองนำแนวทางและรูปแบบที่ได้ข้างต้นไปใช้จริงกับหน่วยงานหรือองค์กรที่ทำงานด้านเด็กบนท้องถนนและเด็กกลุ่มเสี่ยง โดยในโครงการนี้จะเป็นการนำแนวทางและรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ได้จากการประชุมปฏิบัติการดังกล่าวมาใช้ในการพัฒนาระบบการช่วยเหลือและส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและทักษะชีวิต โดยเน้นหนักไปที่การส่งเสริมและพัฒนาด้านอาชีพให้กับกลุ่มเด็กบนท้องถนนและเด็กกลุ่มเสี่ยง (Children in Street) ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยทางโครงการจะมีทุนสนับสนุนการจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้กับองค์กรหรือหน่วยงานที่มีความประสงค์เข้าร่วมการจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาอาชีพดังกล่าว โดยทุนดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
โดยมีเป้าหมายเพื่อกลุ่มเด็กบนท้องถนนได้รับการสร้างเสริมศักยภาพ เช่น ทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ และได้รับการช่วยเหลือที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการ หน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้องนำรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และรูปแบบการให้ความช่วยเหลือไปประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างเสริมศักยภาพกลุ่มเด็กบนท้องถนนรายบุคคล โดยสามารถนำไปขยายผลและใช้ได้ในสถานการณ์จริง หน่วยงานหรือองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับเด็กบนท้องถนนหรือเด็กกลุ่มเสี่ยงได้รับทุนสนับสนุนโครงการส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมศักยภาพทักษะอาชีพ จำนวน 4 โครงการ งบประมาณต่อโครงการ จำนวนไม่เกิน 50,000 บาท
ผู้เสนอโครงการจะต้องเป็นองค์กรหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ทำงานเกี่ยวกับเด็กบนท้องถนนหรือเด็กกลุ่มเสี่ยงที่จะออกมาใช้ชีวิตบนท้องถนน เสนอโครงการและแผนการดำเนินงานเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมศักยภาพทักษะอาชีพ ให้กับกลุ่มเด็กบนท้องถนนในเขตกรุงเทพมหานครโดยมีรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กบนท้องถนนเป็นรายบุคคล และรูปแบบการช่วยเหลือกลุ่มเด็กบนท้องถนนรายบุคคลอยู่ในโครงการ นำเสนอต่อคณะทำงานโครงการ Children in Street ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยในมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการภายใน 31 ตุลาคม 2563 ซึ่งขณะนี้ได้มีองค์กรหน่วยงานเข้าร่วมโครงการแล้ว 4 องค์กรได้แก่ สถาบันมูลนิธิสายเด็ก 1387 ศูนย์สร้างโอกาสเด็ก กรุงเทพมหานคร มูลนิธิบ้านนกขมิ้น และมูลนิธิส่งเสริมการพัฒนาบุคคล (ศูนย์เมอร์ซี่)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad