อก. เผย MPI เดือน ก.ย. ขยายตัวจากเดือนก่อนร้อยละ 3.25 ส่งสัญญาณ ศก.ภาคอุตฯ ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง พร้อมใช้โอกาสที่ไทยควบคุมโรคได้ดีดึงดูดนักลงทุน - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2563

อก. เผย MPI เดือน ก.ย. ขยายตัวจากเดือนก่อนร้อยละ 3.25 ส่งสัญญาณ ศก.ภาคอุตฯ ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง พร้อมใช้โอกาสที่ไทยควบคุมโรคได้ดีดึงดูดนักลงทุน

 



อก. เผย MPI เดือน ก.ย. ขยายตัวจากเดือนก่อนร้อยละ 3.25 ส่งสัญญาณ ศก.ภาคอุตฯ ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง พร้อมใช้โอกาสที่ไทยควบคุมโรคได้ดีดึงดูดนักลงทุน

 

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนกันยายน 2563 ขยายตัวร้อยละ 3.25 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 อีกทั้งอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 เช่นกัน โดยอยู่ที่ระดับ 63.07สะท้อนให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นใกล้กับระดับในช่วงก่อนหน้าสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัส  โควิด-19 ระลอกที่สองในต่างประเทศ ทำให้เศรษฐกิจไทยจำเป็นต้องหันมาให้ความสำคัญการบริโภคภายในประเทศและใช้จุดเด่นในการควบคุมโรคเพื่อดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve)



นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) จัดทำดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนกันยายน 2563ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 3.25 โดยขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 รวมถึงอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนกันยายนขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนอยู่ที่ระดับ 63.07 จากเดิมที่ระดับ 60.86ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3 ปี2563 อยู่ที่ระดับ 91.22 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ที่ร้อยละ 13.73 สะท้อนให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นใกล้กับระดับในช่วงก่อนหน้าสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะการขยายตัวเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคและบริโภค เช่น อุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาล) หลายตัวยังคงขยายตัวดี เช่นเดียวกันกับอุตสาหกรรมยารักษาโรคที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน

“ประเทศไทยสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ดี ภาคการผลิตอุตสาหกรรมกลับมาฟื้นตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงก่อนเกิดสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ในขณะที่ต่างประเทศยังคงน่ากังวลอันเนื่องจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 รอบที่สองโดยเฉพาะในโซนยุโรป ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องหันมาให้ความสำคัญกับการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น โดยภาครัฐได้เตรียมดำเนินนโยบายกระตุ้นการบริโภคภายประเทศผ่านโครงการคนละครึ่ง โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และโครงการช้อปดีมีคืนเพื่อสร้างการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจในประเทศในช่วงสิ้นปี ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่ 4ขยายตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่การออกวีซ่าพิเศษให้นักท่องเที่ยวต่างชาติจะเป็นการดึงให้นักลงทุนสามารถเข้ามายังประเทศไทยได้ นับเป็นโอกาสที่ประเทศไทยมีจุดเด่นทั้งทางด้านสาธารณสุขและโครงสร้างพื้นฐานในเขตเศรษฐกิจพิเศษดึงดูดให้เกิดการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ซึ่งจะเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคตและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ทั่วโลก” นายสุริยะกล่าว



นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมไทยค่อย ๆ ฟื้นตัวหลังจากที่ภาครัฐมีการคลายล็อกกิจกรรมทางเศรษฐกิจเกือบทั้งหมดให้สามารถกลับมาเปิดดำเนินการได้ ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนกันยายนขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 63.07 สอดคล้องกันกับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ทยอยฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ต่างประเทศยังคงประสบปัญหาในการควบคุมการแพร่ระบาดอยู่ อันส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ ดังนั้นภาคอุตสาหกรรมจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการบริโภคภายในประเทศ ประกอบกับใช้จุดเด่นที่ประเทศไทยสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ดีเพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศในการยกระดับอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าไทย

นายทองชัย กล่าวต่อว่า อุตสาหกรรมหลักที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมอุปโภคบริโภคเป็นหลัก อาทิ อุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาล) ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.40 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.50 หลังรัฐบาลออกมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากสถานการณ์ โควิด-19 ทั้งมาตรการด้านการเงินและการคลังเพื่อช่วยเหลือประชาชนทั่วไปและผู้ประกอบการ  ในขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมหลักๆ ได้เริ่มฟื้นกลับมาโดยเพิ่มกำลังการผลิตอีกครั้ง เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ได้เพิ่มกำลังการผลิตในเดือนกันยายนมาอยู่ที่ระดับ 76.98 จากระดับ 59.81 ในเดือนก่อน โดยมีความต้องการเพิ่มขึ้นจากทั้งตลาดในประเทศที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคมที่ร้อยละ 13.10 และตลาดส่งออกขยายตัวร้อยละ 11.40 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ยังคงขยายตัวดีในเดือนกันยายน ได้แก่

เภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 30.20 เนื่องจากในปีก่อนได้มีการหยุดผลิตเพื่อย้ายโรงงาน ประกอบกับได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากตลาดในประเทศและต่างประเทศ

เครื่องใช้ในครัวเรือน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 34.07 จากผลิตภัณฑ์ตู้เย็นและเครื่องซักผ้า โดยตู้เย็น มีความต้องการเพิ่มขึ้นทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ประกอบกับได้มีผู้ประกอบการย้ายฐานการผลิตมาจากประเทศจีนตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563 ในขณะที่เครื่องซักผ้าได้มีการเปิดช่องทางการตลาดใหม่ ทำให้มีคำสั่งซื้อจากตลาดในประเทศเพิ่มขึ้น รวมถึงการส่งออกเพิ่มขึ้น ไปยังประเทศมาเลเซียและญี่ปุ่น

แปรรูปและถนอมผลไม้และผัก ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 27.03 จากผลิตภัณฑ์สับปะรดกระป๋อง ผลไม้กระป๋อง และข้าวโพดหวานเป็นหลัก เนื่องจากปีนี้มีการปลูกสับปะรดในหลายพื้นที่ทำให้ยังมีผลผลิตในการเก็บเกี่ยวนอกฤดูกาล รวมถึงการขยายพื้นที่เพาะปลูกของข้าวโพดของเกษตรกร

เฟอร์นิเจอร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.13 จากผลิตภัณฑ์เครื่องเรือนทำด้วยไม้และที่นอน เนื่องจากผู้ผลิตได้เร่งผลิตให้ทันส่งมอบตามคำสั่งซื้อจากสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นจากการกักตัวอยู่บ้านในช่วงการระบาดขแงไวรัสโควิด-19 ในขณะที่สินค้าที่นอนได้มีการเพิ่มช่องทางจำหน่ายออนไลน์

อาหารสัตว์สำเร็จรูป ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.18 จากผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูปและอาหารปลา เนื่องจากความต้องการมีการเติบโตขึ้นต่อเนื่องในตลาดต่างประเทศ ประกอบกับในปีก่อนเกิดภาวะภัยแล้งทำให้มีการเลี้ยงปลาน้อยกว่าในปีนี้

 

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและการใช้กำลังการผลิต (รายเดือน)

Index

2562

2563

ก.ย.

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.

ม.ค.

ก.พ.

มี.ค.

เม.ย.

พ.ค.

มิ.ย.

ก.ค.

ส.ค.

ก.ย.

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

97.39

96.24

97.20

98.94

103.95

100.90

103.68

78.08

79.68

82.88

87.24

91.73

94.71

อัตราการเปลี่ยนแปลง (MOM) %

-3.44

-1.18

0.99

1.80

5.06

-2.93

2.75

-24.69

2.05

4.01

5.26

5.15

3.25

อัตราการเปลี่ยนแปลง (YOY) %

-4.97

-7.98

-8.02

-4.37

-4.02

-4.24

-10.48

-18.22

-23.80

-17.80

-12.93

-9.05

-2.75

อัตราการใช้กำลังการผลิต

63.63

62.79

63.19

64.02

66.75

66.06

67.78

51.27

52.34

55.07

57.58

60.86

63.07

ที่มา : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ข้อมูล ณ วันที่ 28 ตุลาคม 2563

 

 

 

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและการใช้กำลังการผลิต (รายไตรมาส)

Index

2562

2563

Q1

Q2

Q3

Q4

Q1

Q2

Q3*

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

109.83

100.29

99.48

97.46

102.85

80.21

91.22

อัตราการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน  %

5.02

-8.69

-0.81

-2.00

5.53

-22.00

13.73

อัตราการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน  %

-1.22

-2.44

-4.18

 

 

-6.80

-6.36

-20.02

-8.30

อัตราการใช้กำลังการผลิต

71.26

65.57

64.78

63.33

66.86

52.89

60.50

ที่มา : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ข้อมูล ณ วันที่ 28 ตุลาคม 2563

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad