กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดงาน RSP Innovation Day 2020 เพื่อยกระดับงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์ - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดงาน RSP Innovation Day 2020 เพื่อยกระดับงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์



 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดงาน RSP Innovation Day 2020

เพื่อยกระดับงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์


​กรุงเทพฯ, 17 พฤศจิกายน 2563 – สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) จัดงาน Regional Science Park Innovation Day 2020 (RSP Innovation Day 2020) ระหว่างวันที่ 17 - 18 พฤศจิกายนนี้ ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว เพื่อเผยแพร่ผลงานความสำเร็จด้านนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์จากการวิจัยและการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในภูมิภาค รวมถึงแสดงความพร้อมในการให้บริการของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เพื่อส่งเสริมและรองรับกิจกรรมวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม ให้เป็นที่ประจักษ์ทั้งในภาครัฐและเอกชน พร้อมมอบรางวัล RSP Innovation Awards 2020 ให้กับผู้ประกอบการที่มีผลงานโดดเด่นทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยการจัดงานในปีนี้มุ่งเน้นผลักดันให้ผู้ประกอบการเกิดการตื่นตัวและสามารถพัฒนาต่อยอดสินค้าให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน



​ศ.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม              กล่าวว่า “กระทรวง อว. ได้จัดงาน RSP Innovation Day ต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 6 โดย สป.อว. ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลาง เปรียบเสมือนเป็นประตูผ่านเพื่อให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ให้ได้รับโอกาสในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม ผ่านเครือข่ายอุทานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคที่เป็นตัวกลาง และเชื่อมโยง ระหว่างมหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมด้านองค์ความรู้ โครงสร้างพื้นฐาน ห้องปฏิบัติการ และบุคลากร กับผู้ประกอบการในพื้นที่ โดยผ่านกิจกรรมดังนี้ 1. การพัฒนาศักยภาพของห้องปฏิบัติการเพื่อให้บริการแก่ภาคอุตสาหกรรม, การให้เอกชนเช่าพื้นที่เพื่อทำวิจัย, การให้บริการด้านการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาแก่ภาคอุตสาหกรรม, การให้บริการออกแบบนวัตกรรม, การให้บริการและช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมอย่างครบวงจร และฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

2. การบ่มเพาะธุรกิจวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม 3.การพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยี และวิจัยของภาคเอกชนในพื้นที่ 4. การวิจัยร่วมกับภาคเอกชน และ 5. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค


ซึ่งในปีนี้เราได้จัดงานภายใต้นโยบายการจัดงานในรูปแบบ Innovation for NEXT NORMAL Lifestyle ที่มีความจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาคม และสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยพัฒนาร่วมกันระหว่างภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาอันจะนำไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์นวัตกรรมซึ่งมีศักยภาพสูง โดยความพิเศษของสินค้าและนวัตกรรมในปีนี้ เราได้มีการผลักดันให้ผู้ประกอบการมีการพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์การตลาดยุคใหม่ ที่เน้นเรื่องของสินค้าแปรรูป สินค้าที่ใช้สารสกัดจากธรรมชาติ สินค้าที่มีส่วนประกอบของสารลดความเครียด หรือจำพวกสมุนไพรเป็นหลัก เพื่อตอบสนองกับความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคในยุคนิวนอร์มัล และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดงาน RSP Innovation Day 2020 จะเกิดการยกระดับมาตรฐานนวัตกรรมไทยให้ดียิ่งขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ภาคเอกชน และเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนหรือผู้ที่มีความสนใจเข้ารับบริการของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคเพื่อการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมในระยะยาว รวมทั้งประชาชนที่สนใจทั่วไปได้รับรู้และตระหนักถึงนวัตกรรมที่เป็นความสามารถของคนไทย อันจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการอย่างยั่งยืนต่อไป”




​สำหรับการจัดงาน RSP Innovation Day 2020 ในครั้งนี้ ถือเป็นกิจกรรมสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการทำงานร่วมกันของ สอว. อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค และผู้ประกอบการในภูมิภาค ตลอดจนการมอบรางวัลสุดยอดนวัตกรรมแห่งปี RSP Innovation Awards 2020 ที่เป็นรางวัลระดับประเทศ ให้แก่นักวิจัยและผู้ประกอบการที่ใช้บริการของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ที่มีผลงานเด่นทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ประกอบด้วย สาขานักธุรกิจนวัตกรรม และสาขานวัตกรรม/กระบวนการเชิงพาณิชย์


ด้าน นายอนุสรณ์ ขวัญคงบุญ บริษัท โคโค่ อะกรีคัลเจอร์ จำกัด ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทนักธุรกิจนวัตกรรม กล่าวว่า “ขอขอบคุณ สอว. และอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ที่ให้โอกาสเราได้เข้าประกวด รู้สึกเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นส่วนช่วยพัฒนาประเทศ ซึ่งการได้รับรางวัลในครั้งนี้ เป็นเหมือนแรงผลักดันและกำลังใจที่จะรักษามาตรฐานของผลิตภัณฑ์ให้ดีมีคุณภาพ ในอนาคตทางบริษัทจะนำงานวิจัยและผลิตภัณฑ์ส่งออกขายสู่ต่างประเทศทั่วโลก เพื่อขยายไปยังกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านที่มีแหล่งทรัพยากร อย่างมะพร้าว อาทิ เวียดนาม อินโดนีเซีย และศรีลังกา เป็นต้น และจะมุ่งมั่นพัฒนาต่อไปเพื่อให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับในตลาดของไทยและต่อยอดก้าวไกลไปในตลาดสากล”


รศ.ดร.วาริน อินทนา จากสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ เจ้าของผลิตภัณฑ์ ไตรโคเดอร์มาไฟฝ์พลัส (ชีวภัณฑ์มาตรฐานสากล) Trichoderma5+ (Biocide OEDC standard) กล่าวเสริมว่า “ผมเองในฐานะบุคคลที่อยู่ในวงการเกี่ยวกับเกษตรกรรม นวัตกรรม และเทคโลโนยี เล็งเห็นว่าการจัดงานในครั้งนี้ เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้กับผู้ประกอบการสามารถแสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่ และมีส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาเพื่อให้เหล่าเกษตรกร หรือกลุ่มอุตสาหกรรม เกษตรกรรม                   สามารถนำไปใช้ได้ในเชิงพาณิชย์ และสร้างโอกาสให้เหล่าเกษตรกรมีผลิตภัณฑ์ทางเลือกมากยิ่งขึ้น”


​สำหรับผู้ที่สนใจติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊กเพจ www.facebook.com/MHESIThailand

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad