“ซีแพค” ผนึกกำลัง “สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.)” เปิดจุดรับซื้อใบอ้อย เสริมรายได้เกษตรกร ลดปัญหา PM 2.5 - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

“ซีแพค” ผนึกกำลัง “สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.)” เปิดจุดรับซื้อใบอ้อย เสริมรายได้เกษตรกร ลดปัญหา PM 2.5

  


                                                      

“ซีแพค” ผนึกกำลัง “สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.)” 
เปิดจุดรับซื้อใบอ้อย เสริมรายได้เกษตรกร ลดปัญหา 
PM 2.5


         บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด (CPAC) ในธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี และสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม (สอน.) ลงนามความร่วมมือโครงการการใช้ประโยชน์ใบและยอดอ้อยเป็นเชื้อเพลิงทดแทนเพื่อลดปัญหาอ้อยไฟไหม้และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่ก่อให้เกิด PM 2.5 ด้วยการรับซื้อยอดและใบอ้อย เสริมรายได้ให้เกษตรกรไทย และนำไปเป็นพลังงานทดแทนในโรงงานปูนซีเมนต์และอุตสาหกรรมอื่นๆ สอดคล้องกับแนวคิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งคาดว่าจะสามารถรวบรวมเศษวัสดุเหลือใช้จากไร่อ้อยได้ประมาณ 210,000 ตันต่อปี พร้อมขยายจุดรับซื้อหน้าโรงงานคอนกรีตผสมเสร็จซีแพคทั่วประเทศ

      นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า “ปัจจุบัน ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 และภาวะโลกร้อนจากการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางเกษตร เช่น ยอดและใบอ้อย ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย จึงเป็นที่มาของความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และชุมชน ในการสนับสนุนและผลักดันเชิงนโยบายเพื่อลดการเผายอดและใบอ้อยในพื้นที่เพาะปลูก จังหวัดสระบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี และลพบุรี อีกทั้งยังเป็นการเสริมรายได้ให้เกษตรกรโดยการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศษวัสดุที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวในไร่อ้อย เพื่อนำไปเป็นพลังงานทดแทนในอุตสาหกรรมมากขึ้นในอนาคต และสร้างความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายอย่างยั่งยืน

      นายเอกภัทร วังสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กล่าวว่า คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล กระทรวงอุตสาหกรรม มีนโยบายส่งเสริมศักยภาพการผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายของประเทศไทย และมีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากมลพิษการเผาอ้อย ซึ่งโครงการนี้เป็นหนึ่งในโครงการที่ภาครัฐให้ความสำคัญและเป็นความหวังในการลดปริมาณอ้อยไฟไหม้ในฤดูการผลิตปี 2564 ให้เหลือร้อยละ 20 และมีปริมาณอ้อยสดร้อยละ 80 ของปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมด พร้อมส่งเสริมให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดมากขึ้นโดยจัดหาเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการตัดอ้อยสด เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรจากการนำวัสดุเหลือใช้จากไร่อ้อยมาเป็นพลังงานทดแทน ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม

      ด้านนายปัญญา โสภาศรีพันธ์ ผู้อำนวยการ-ธุรกิจสัมพันธ์และพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัทผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด (CPAC) ในธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี กล่าวว่า  CPACดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างคุณค่าร่วมทางธุรกิจและสังคม “Creating Share Value” (CSV) ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการช่วยบรรเทาปัญหาของเกษตรกรและสิ่งแวดล้อมจากการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรแบบไม่ถูกวิธี ผ่านการใช้ประโยชน์จากหม้อเผาปูนซีเมนต์ที่สามารถนำเศษวัสดุเหลือใช้เหล่านี้มาแปรรูปเป็นพลังงานทดแทนในการผลิตปูนซิเมนต์โดยไม่สร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะดำเนินการภายใต้แบรนด์  Smart Green Solution by CPAC ในการเปิดจุดรับซื้อเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ทั้งนี้มีการรับซื้อเศษยอดและใบอ้อยผ่านโครงการนี้ 4 จุด ที่หน้าโรงงานปูนซีเมนต์ในจังหวัดอยุธยา สระบุรี และหน้าโรงงานคอนกรีตผสมเสร็จซีแพคในพื้นที่ปลูกอ้อยเป้าหมาย ในราคาที่เหมาะสม ณ จุดรับซื้อ เสริมรายได้ให้แก่เกษตรกร พร้อมใช้เทคโนโลยีการบีบอัดเศษวัสดุที่ทันสมัยให้เป็นเม็ดพลังงานชีวมวล (Energy Pellet) อีกทั้งยังมีการบริหารจัดการขนส่งเที่ยวกลับ (Backhauling Management) ของการขนส่งปูนซีเมนต์ เพื่อนำเม็ดพลังงานชีวมวล (Energy Pellet) ไปเป็นเชื้อเพลิงทดแทนในการผลิตปูนซีเมนต์และอุตสาหกรรมอื่น ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตามหลัก เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และมีแผนขยายจุดรับซื้อหน้าโรงงานคอนกรีตผสมเสร็จซีแพค ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศเพื่ออำนวยความสะดวกแก่เกษตรกรรายเล็กและชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียงโรงงาน”

       ซีแพค และสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล (สอน.) เชื่อมั่นว่าความร่วมมือครั้งนี้ภายใต้แบรนด์ Smart Green Solution by CPAC จะช่วยเชื่อมต่อทั้งระบบห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ในการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจากอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด เสริมรายได้ให้เกษตรกรไทย อีกทั้งยังช่วยลด PM 2.5 จากการเผาอ้อย ซึ่งการดำเนินงานภายใต้กรอบความร่วมมือครั้งนี้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม2566 สำหรับพี่น้องเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ คุณศุมิตรา ศรีพิเศษ หมายเลขโทรศัพท์ 093-542-4594

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad