สศอ.ตั้งเป้าพัฒนาอุตสาหกรรมไทยตามแผนBCG โมเดลวาระแห่งชาติ ภายใต้แนวคิด เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2564

สศอ.ตั้งเป้าพัฒนาอุตสาหกรรมไทยตามแผนBCG โมเดลวาระแห่งชาติ ภายใต้แนวคิด เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)


 สศอ.ตั้งเป้าพัฒนาอุตสาหกรรมไทยตามแผนBCG โมเดลวาระแห่งชาติ

ภายใต้แนวคิด เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เร่งขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG Economy Model หลังรัฐบาลได้ประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติ ชูแนวคิดดึงคนรุ่นใหม่ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปพร้อมกัน มุ่งเน้นการสร้างเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เพื่อเพิ่มมูลค่าเน้นพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดอยู่ภายใต้เศรษฐกิจ  สีเขียว (Green Economy) เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล พร้อมทั้งพัฒนายกระดับอุตสาหกรรมไทยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาประเทศให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า หลังรัฐบาลได้ประกาศให้ BCG Model เป็นวาระแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรมได้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียวเพื่อกำหนดแนวทางและบูรณาการจัดทำแผนงานโครงการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทันต่อสถานการณ์และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล โดยกระทรวงฯ มุ่งเน้นไปที่ 4 เป้าหมายหลัก    คือ 1. สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ เน้นเพิ่มผลผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มสร้างโมเดลธุรกิจและผู้ประกอบการใหม่             2. สร้างความยั่งยืนทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยการลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน ลดของเสียและมลพิษสิ่งแวดล้อม 3. สร้างความยั่งยืนให้ภาคอุตสาหกรรมตามนโยบายตลาดและนวัตกรรมนำอุตสาหกรรมไทย               และ 4. ตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้แนวคิดเพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมนำไปใช้ประโยชน์ในองค์กรและเกิดประโยชน์สูงสุด เนื่องจากปัญหาสิ่งแวดล้อมถือเป็นปัญหาระดับโลกที่ทุกคนให้ความสำคัญ พร้อมสั่งการให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมเร่งดำเนินการให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป 


นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กล่าวว่า สศอ. ได้เล็งเห็นความสำคัญของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาทั้งในระดับสากลและวาระแห่งชาติเรื่องBCG Economy Model จึงได้จัดทำแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยการบูรณาการทำงานของทุกภาคส่วน ภายใต้วิสัยทัศน์ มุ่งสร้างมูลค่าสูงสุดจากทรัพยากรธรรมชาติ ควบคู่กับการลดของเสียให้เหลือน้อยที่สุดหรือเป็นศูนย์ (Zero Waste) เน้นการปรับโครงสร้างการผลิตสู่รูปแบบใหม่ที่คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและครบวงจร ตั้งแต่การผลิต การบริโภค การจัดการของเสีย จนถึงการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดของเสีย และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจแก่ประเทศ

ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดการใช้ทรัพยากร ปรับกระบวนการผลิตและการออกแบบให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยนำเทคโนโลยี นวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ การเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมหรือสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่โดยนำของเสีย/วัสดุเหลือใช้มาใช้ประโยชน์ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการปรับรูปแบบธุรกิจสู่โมเดลธุรกิจหมุนเวียน         และการสร้างCircular Startup

นายทองชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมข้างต้นแล้ว สศอ. ยังได้นำเสนอมาตรการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา (Cross-cutting Measures) ครอบคลุมทั้งในเรื่องกฎหมาย กฎระเบียบ  สิทธิประโยชน์ และการพัฒนาระบบนิเวศ (Eco-system) ต่างๆ เช่น การพัฒนาระบบการมาตรฐานสำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียน การปรับปรุงกฎระเบียบ เพื่อสนับสนุนการนำขยะ/ของเสียไปใช้เป็นทรัพยากรในการผลิต มาตรการการเงินการคลังเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมชีวภาพและอุตสาหกรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นต้น โดย สศอ. ได้ผลักดันข้อเสนอมาตรการเหล่านี้ผ่านกลไกขับเคลื่อน BCG Model ในระดับประเทศ ควบคู่กับการผลักดันการดำเนินงานผ่านกลไกความร่วมมือเชิงบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งที่ผ่านมา สศอ. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานที่สำคัญ อาทิ มาตรการทางภาษีเพื่อกระตุ้นการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ โดยให้การรับรองผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพแก่ผู้ประกอบการ นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างดำเนินโครงการจัดทำแผนขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) สู่การพัฒนาในระดับพื้นที่กลุ่มจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อจัดทำแผนขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนนำร่องในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน รวมทั้งกำหนดรูปแบบความเชื่อมโยงตลอดห่วงโซ่อุปทานและโมเดลต้นแบบการพัฒนาอุตสาหกรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในสาขาผลิตภัณฑ์เป้าหมายที่มีศักยภาพ ที่พร้อมนำไปขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติและขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad