คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผนึกกำลัง ซีพี-เมจิ ร่วมพัฒนาสุขภาพและผลผลิตโคนม เชื่อมโยงสุขภาพผู้บริโภค
ศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช คณบดี คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ นางสาวสลิลรัตน์ พงษ์พานิช กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่ วมมือ (MOU) การพัฒนาผู้เลี้ยงโคนมไทย “โครงการส่งเสริมพัฒนาสุ ขภาพและผลผลิตโคนม เชื่อมโยงสุขภาพผู้บริโภค” พัฒนากระบวนการผลิตน้ำนมคุ ณภาพดี ปลอดยาปฏิชีวนะตลอดห่วงโซ่ การผลิต พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ เกษตรกร มุ่งเป้าผลิตอาหารนมที่มีคุ ณภาพส่งต่อผู้บริโภค
รศ.น.สพ.ดร.กิตติศักดิ์ อัจฉริยะขจร หัวหน้าโครงการจัดตั้งศูนย์วิจั ยและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อพั ฒนาการเลี้ยงโคนมในเขตร้อนชื้น คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำหนดพันธกิจสร้างแพลตฟอร์มสนั บสนุนงานวิจัย การเรียนการสอน และบริการวิชาการด้านโคนมและผลิ ตภัณฑ์ ซึ่งมีความพร้อมด้านห้องปฏิบัติ การวิเคราะห์คุณภาพน้ำ นมและอาหารสัตว์ เชื่อมโยงเครือข่ายวิชาการร่ วมกับเกษตรกร สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนม ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ และบริษัทเอกชน ในพื้นที่จังหวัดสระบุรีและพื้ นที่ใกล้เคียง สอดคล้องกับเป้าหมายของ ซีพี-เมจิ ที่มุ่งพัฒนาคุณภาพการเลี้ ยงโคนมของเกษตรกรไทยให้มีคุ ณภาพที่ดี ทั้งสององค์กรจึงทำการลงนามบั นทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิ ชาการด้านโคนม
“ความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นก้ าวสำคัญของการพัฒนา นำองค์ความรู้ด้านวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรมลงสู่ฟาร์ มเกษตรกรในรูปแบบ Dairy Veterinary Community Approach เพื่อสร้างต้นแบบจัดการฟาร์ มโคนมแบบแม่นยำสูง เพื่อลดต้นทุนและความสูญเสีย ตลอดจนเน้นความปลอดภัยของอาหาร ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกต่ อวงการโคนมอย่างเป็นรูปธรรมบนพื้ นฐานข้อมูลวิชาการที่ถูกต้ องตามหลักวิชาการและมาตรฐานสากล เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอุ ตสาหกรรมการเลี้ยงโคนมที่ยั่งยื นของประเทศไทยและในภูมิภาค” รศ.น.สพ.ดร.กิตติศักดิ์ กล่าว
ด้าน นางสาวสลิลรัตน์ พงษ์พานิช กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด กล่าวว่า ในฐานะผู้นำ นมพาสเจอไรซ์และโยเกิร์ตเพื่อสุ ขภาพ บริษัทฯ มีปณิธานในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ มีคุณภาพ และเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพสำหรั บผู้บริโภค ตลอดการดำเนินธุรกิจมากว่า 30 ปี นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังเป็นผู้รับซื้อน้ำนมดิ บรายใหญ่ที่สุดของประเทศ จึงตระหนักดีถึงความสำคั ญในการสร้างความยั่งยืนแก่อุ ตสาหกรรมนมและเกษตรกรทุกคน ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลั กในการสรรสร้างผลิตภัณฑ์ทั้ งหมดของซีพี-เมจิ โดยบริษัทฯ ได้ร่วมกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อยกระดับมาตรฐานการเลี้ ยงโคนม แบ่งเบาภาระเกษตรกร ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ด้วยการพัฒนาการจัดการด้ านการเลี้ยง ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยวางเป้าหมายในการพัฒนาศูนย์ รวบรวมน้ำนมดิ บและเกษตรกรโคนมในเครือข่ ายจำนวน 50 ฟาร์ม ภายในปี 2564
“ซีพี-เมจิ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีเป้าหมายเดียวกันในการยกระดั บมาตรฐานอุ ตสาหกรรมนมไทยและความปลอดภั ยของผู้บริโภคทั้งห่วงโซ่ จึงเกิดความร่วมมือในครั้งนี้ขึ้ น และยังร่วมกันตั้งเป้ าหมายในการขยายโครงการฯ ไปอีก 150 ฟาร์ม ภายในปี 2566 คาดว่าจะมีประชากรแม่โครี ดนมมากกว่า 3,000 ตัว มุ่งเป้าสู่ “การเป็นฟาร์มวัวสุขภาพดี น้ำนมโคยอดเยี่ยม” ด้วยการจัดการข้อมูลการเลี้ ยงอย่างเป็นระบบ นำมาวิเคราะห์เพื่อสร้างสมดุ ลย์ของอาหาร การดูแลสุขภาพอย่างตรงจุ ดสามารถวัดผลได้ และปลอดยาปฏิชีวนะ พร้อมส่งต่อองค์ความรู้ และมาตรฐานของโครงการฯ สู่เครือข่ายเกษตรกรโคนม เป็นการยกระดับคู่ค้าผู้เลี้ ยงโคนมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้ น ตลอดจนร่วมกันสร้างผลผลิตน้ำ นมที่มีคุณภาพ ส่งต่อนมโค ที่ปลอดภัยสู่ผู้บริโภค สอดคล้องกับนโยบายของเครือเจริ ญโภคภัณฑ์ในการดำเนินธุรกิจ ตามปรัชญา 3 ประโยชน์สู่ความยั่งยืน คือ สร้างประโยชน์แก่ประเทศ ประชาชน และองค์กร” นางสาวสลิลรัตน์ กล่าว./
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น