เกษตรกรหมูเผยภัยแล้งกระทบหนัก ต้องซื้อน้ำใช้ในฟาร์ม-โรคหน้ าร้อนซ้ำเติม ส่งผลต้นทุนการเลี้ยงสูง
นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวั นออกเฉียงเหนือ เปิดเผยว่า สภาพอากาศร้อนจัด และภัยแล้งที่ลากยาวมาตั้งแต่ปี 2563 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ประกอบกับรายงานของสถาบั นสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) ว่าปี 2564 ประเทศไทยจะเผชิญวิกฤตภัยแล้ งหนัก เนื่องจากปริมาณฝนสะสมในปีที่ผ่ านมา มีค่าน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 4 ถือเป็นเหตุการณ์ฝนน้อยกว่าปกติ 2 ปีติดต่อกัน (2562-2563) ทำให้ฤดูแล้งนี้จะมีน้ำไม่เพี ยงพอ ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตร โดยเฉพาะในการเลี้ยงสุกรที่ต้ องใช้น้ำสำหรับกินและใช้ ในกระบวนการเลี้ยงในปริมาณมาก โดยเฉลี่ยพ่อแม่พันธุ์สุกรใช้น้ำ วันละ 130 ลิตรต่อตัว สุกรขุนใช้น้ำวันละ 40 ลิตรต่อตัว ทำให้ปริมาณน้ำที่เกษตรกรกักเก็ บสำรองไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งเริ่ มไม่เพียงพอ เกษตรกรหลายพื้นที่ต้องซื้อน้ำ จากแหล่งอื่นมาให้หมูกิน ใช้ทำความสะอาด และหล่อเลี้ยงระบบทำความเย็ นในโรงเรือน เพื่อบรรเทาความเสียหายที่ อาจเกิดขึ้นจากการขาดน้ำ สะอาดและอากาศร้อนจัด
“ขณะนี้หลายพื้นที่ประสบปัญหาภั ยแล้งอย่างหนัก จนต้องซื้อน้ำจากภายนอกมาใช้ ในฟาร์มทุกวัน ทำให้มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้เพิ่ มขึ้นอีก จากเดิมต้นทุนการใช้น้ำอยู่ที่ 30 บาทต่อตัว เพิ่มเป็น 300-600 บาทต่อหมูขุน 1 ตัว หรือ 3-6 บาทต่อหมู 1 กิโลกรัม จากเฉลี่ยแล้วหนึ่งเที่ ยวราคาอยู่ที่ประมาณ 3,000 บาทต่อน้ำ 1 หมื่นลิตร สำหรับฟาร์มขนาดเล็กต้องใช้น้ำ ราว 2 เที่ยวต่อวัน ต้นทุนในส่วนนี้จึงเพิ่มขึ้นถึง 6,000 บาทต่อวัน หากเป็นฟาร์มใหญ่ขาดแคลนนํ้ามาก ต้นทุนก็จะสูงขึ้นมากขึ้นไปอีก กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่ งผลกระทบกับต้นทุนการเลี้ยงอย่ างหลีกเลี่ยงไม่ได้” นายสิทธิพันธ์ กล่าว
นอกจากนี้ฤดูร้อนยิ่งเพิ่ มความเสี่ยงการเกิด โรคกลุ่มอาการของระบบทางเดิ นหายใจและระบบสืบพันธุ์ หรือ โรค PRRS ที่ทำให้สุกรแท้งลูกในระยะท้ ายของการอุ้มท้อง ส่งผลต่อเนื่องถึงสุกรอนุ บาลและสุกรขุนทำให้อัตราเสี ยหายเพิ่ม และต้นทุนการเลี้ยงสูงขึ้น ขณะเดียวกัน เกษตรกรทั่วประเทศยังคงเฝ้าระวั งควบคุมและป้องกันโรคสำคัญในสุ กรทั้ง ASF และ PRRS อย่างเข้มงวด โดยเพิ่มความเข้มข้นของระบบ Biosecurity ในฟาร์ม และเน้นการจัดการฟาร์มที่ได้ มาตรฐาน ซึ่งจำเป็นต้องใช้ต้นทุนการป้ องกันโรคเพิ่มกว่า 200-300 บาทต่อตัว และคาดว่าต้นทุนการเลี้ ยงในขณะนี้สูงกว่า ประมาณการต้นทุนการลี้ยงสุกรขุ นเฉลี่ยไตรมาส 1/2564 ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ที่คาดว่าอยู่ที่ 77.49 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ราคาเฉลี่ยสุกรมีชีวิ ตตามประกาศของสมาคมผู้เลี้ยงสุ กรแห่งชาติอยู่ที่ 79-80 บาทต่อกิโลกรัม เท่ากับเกษตรกรแทบไม่มี กำไรจากการเลี้ยง แต่ยังจำเป็นต้องประคั บประคองอาชีพเดียวเอาไว้ เพื่อให้ผู้บริโภคมีปริมาณสุ กรบริโภคอย่างเพียงพอ./
นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวั
“ขณะนี้หลายพื้นที่ประสบปัญหาภั
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น