ซีพีเอฟ ยืนยันผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงแหล่งที่มา เดินหน้าผนึกพลังพันธมิตรขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารทะเลยั่งยืน - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2564

ซีพีเอฟ ยืนยันผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงแหล่งที่มา เดินหน้าผนึกพลังพันธมิตรขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารทะเลยั่งยืน



 ซีพีเอฟ ยืนยันผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงแหล่งที่มา  

เดินหน้าผนึกพลังพันธมิตรขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารทะเลยั่งยืน 

 

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ มุ่งมั่นจัดหาวัตถุดิบหลักสำหรับธุรกิจอาหารสัตว์น้ำด้วยความรับผิดชอบ ยึดมาตรฐานสากล ยืนยัน กิจการประเทศไทยใช้ปลาป่นจากผลพลอยได้ของโรงงานแปรรูป (By-Product) 100% ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับโลก MarinTrust (หรือชื่อเดิม คือ IFFO RS) พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนสร้างความยั่งยืนของอุตสาหกรรมประมงไทย ป้องกันการทำประมงไม่ถูกต้องและผิดกฎหมาย และดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเล 

 

นายไพโรจน์ อภิรักษ์นุสิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ธุรกิจสัตว์น้ำ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯให้ความสำคัญกับผลิตกุ้งด้วยความรับผิดชอบและยั่งยืนตลอดห่วงโซ่ ควบคู่การรักษาสมดุลสิ่งแวดล้อม โดยเดินหน้าขับเคลื่อนการจัดหาวัตถุดิบปลาป่นสำหรับการผลิตอาหารสัตว์น้ำทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศต้องมาจากแหล่งที่ถูกกฎหมาย ยึดหลักสากล สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบได้ 

 

นายไพโรจน์ เล่าว่า ซีพีเอฟ ดำเนินธุรกิจเพาะเลี้ยงและผลิตกุ้ง มิได้ดำเนินธุรกิจเดินเรือหรือเป็นเจ้าของเรือประมง และไม่ได้เป็นผู้ผลิตปลาป่น เป็นผู้ใช้ปลาป่นเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตอาหารสัตว์น้ำ โดยปลาป่นทั้งหมดที่บริษัทใช้ในกิจการประเทศไทย มาจากผลพลอยได้จากโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ (By-Product) เช่น โรงงานผลิตทูน่ากระป๋อง และโรงงานผลิตลูกชิ้นปลา โดยทั้งหมดต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน MarinTrust ซึ่งเป็นมาตรฐานการผลิตปลาป่นอย่างยั่งยืนในระดับสากลที่ดีที่สุดในปัจจุบัน ช่วยให้บริษัทสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของวัตถุดิบได้ถึงเรือประมงที่จับปลา 




 

ซีพีเอฟ ได้จับมือกับพันธมิตรที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเล ทั้งภาคเอกชน ภาครัฐบาล ภาคประชาสังคม ริเริ่มโครงการปรังปรุงและพัฒนาการประมง (Fishery Improvement Programme, FIP)จัดทำแนวทางการพัฒนาปรับปรุงการประมงทั้งฝั่งอันดามัน และอ่าวไทย ซึ่งปัจจุบัน ประเทศไทยได้รับการอนุมัติแผนการปรับปรุงและพัฒนาการประมง (Fishery Action Plan, FAP) จาก MarinTrust เรียบร้อยแล้ว และเริ่มดำเนินงานตามแผนงาน 

 

ในด้านการแก้ไขปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing : IUU Fishing) ซีพีเอฟเป็นหนึ่งในสมาชิกร่วมก่อตั้ง Seafood Task Force ซึ่งเป็นเครือข่ายภาคธุรกิจในอุตสาหกรรมอาหารทะเล ทำหน้าที่ส่งเสริมโครงการด้านความยั่งยืนทางทะเลต่างๆ เช่น การใช้เครื่องติดตามเรือ (Vessel Monitoring System – VMS)ตลอดจน ร่วมมือกับ องค์การสะพานปลา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย ศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา(บ้านสุขสันต์)  จัดตั้งศูนย์ Fishermen’s Life Enhancement Centerหรือ FLEC Center ที่ท่าเทียบเรือประมงจังหวัดสงขลา เพื่อบูรณาการความร่วมมือจัดการปัญหาเรื่องการทำประมงผิดกฏหมาย รวมทั้งร่วมยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของแรงงานข้ามชาติ และครอบครัวในอุตสาหกรรมประมงตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน 

 

จากความสำเร็จในการดำเนินงานร่วมกับกลุ่มเครือข่าย และผู้มีส่วนได้ส่วนได้เสียเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาประมง การคุ้มครองและเคารพสิทธิมนุษยชนที่ยั่งยืนและอย่างจริงจัง  มีส่วนช่วยประเทศไทยได้รับการยกเลิกใบเหลืองในกรณี IUU Fishing จากสหภาพยุโรป และในปัจจุบัน รูปแบบการดำเนินงานของ Seafood Task Force ถูกนำไปใช้เป็นต้นแบบในประเทศอื่น ๆ เช่น เวียดนาม เป็นต้น 

 

ในปีนี้ บริษัทยังมีส่วนร่วมในการกำจัดขยะทางทะเล โดยได้ร่วมกับมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาการประมงเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Fisheries Research And DevelopmentInstitute: SFRD) สนับสนุนโครงการ ทะเลสะอาด ที่ส่งเสริมและรณรงค์ให้ชาวประมงลดการทิ้งขยะลงสู่ทะเลและช่วยกันเก็บขยะจากกิจกรรมประมง ทั้งขยะจากการอุปโภคบริโภคบนเรือและขยะที่ติดมากับเครื่องมือประมงกลับขึ้นฝั่ง เพื่อนำมาคัดแยกและส่งขายให้กับโรงรับซื้อขยะต่อไป 

 

ในระดับโลก ซีพีเอฟได้ร่วมกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารทะเลชั้นนำ จากทั่วโลก ในกลุ่มSeafood Business for Ocean Stewardship (SeaBOS)  กลุ่มความร่วมมือสากลในการพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเล ประกาศเจตนารมณ์พัฒนาอุตสาหกรรมอาหารทะเลอย่างยั่งยืน บนบรรทัดฐานเดียวกัน รวมถึงนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับการตรวจสอบย้อนกลับสินค้าอาหารทะเลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และป้องกันปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายอีกด้วย./ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad