วิศวะมหิดล - โตโยด้า โกเซ ร่วมมือการวิจัย ไทย-ญี่ปุ่น และมอบคาราคุริ (Karakuri) เพื่อการศึกษา - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2564

วิศวะมหิดล - โตโยด้า โกเซ ร่วมมือการวิจัย ไทย-ญี่ปุ่น และมอบคาราคุริ (Karakuri) เพื่อการศึกษา


 วิศวะมหิดล - โตโยด้า โกเซ ร่วมมือการวิจัย ไทย-ญี่ปุ่น และมอบคาราคุริ (Karakuri) เพื่อการศึกษา

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี พร้อมด้วยทีมผู้บริหาร ให้การต้อนรับ มร.ซาดากาสึ ทานิ (Sadakazu Tani) ประธาน บริษัท โตโยด้า โกเซ (ประเทศไทย) จำกัด ในการมาเยี่ยมชมการดำเนินงานและห้องปฏิบัติการ พร้อมทั้งประชุมหารือความร่วมมือด้านการวิจัย และรับมอบเครื่องคาราคุริ (Karakuri) ให้แก่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้คณาจารย์และเยาวชนนักศึกษาไทยได้สร้างเสริมความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เกี่ยวกับกลไกคาราคุริ นำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมคาราคุริสำหรับใช้ในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการพึ่งพาตนเองและลดการนำเข้า ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า คาราคุริ ไคเซ็น เป็นเทคโนโลยีอุปกรณ์เครื่องกลอัตโนมัติต้นทุนต่ำโดยเปลี่ยนแรงธรรมชาติเป็นแรงขับเคลื่อนที่ทำให้สิ่งของเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ โดยไม่ต้องใช้แหล่งพลังงานจากมอเตอร์หรือเครื่องยนต์  ตลอดจนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับกระแสแนวโน้มของโลก คาราคุริ มีจุดกำเนิดพัฒนามาจากตุ๊กตากลของประเทศญี่ปุ่นที่ใช้กฎทางฟิสิกส์เป็นหลัก เช่น แรงโน้มถ่วง แรงยืดหยุ่น แรงดัน แรงแม่เหล็ก หรือแรงขับ เป็นต้น เทคโนโลยีนี้สามารถใช้ในสถานการณ์ปกติเพื่อประหยัดการใช้พลังงาน ผ่อนแรงมนุษย์ในการทำงาน หรือแม้แต่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ไม่มีไฟฟ้าใช้ ภาวะการล็อคดาวน์ ภาวะสงคราม หรือเกิดอุบัติภัย โดยโรงงานหรือสายการผลิตยังคงเดินหน้าทำงานต่อไปได้ 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad