นศ. วิศวะมหิดล คว้ารางวัลการแข่งขันประชันทักษะระบบสมองกลฝังตัว ชิงแชมป์ประเทศไทย - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพุธที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2564

นศ. วิศวะมหิดล คว้ารางวัลการแข่งขันประชันทักษะระบบสมองกลฝังตัว ชิงแชมป์ประเทศไทย



นศ. วิศวะมหิดล คว้ารางวัลการแข่งขันประชันทักษะระบบสมองกลฝังตัว ชิงแชมป์ประเทศไทย

พลังคนรุ่นใหม่ไร้ขีดจำกัด ทีม BME Ranger 11 นักศึกษาจากภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนานวัตกรรมระบบคัดแยกลูกมะนาว คว้ารางวัล Top Score on Project Management ในหัวข้อ ระบบควบคุมการผลิตอัจฉริยะ (Smart Manufacturing System) จากการแข่งขัน การประชันทักษะทางด้านระบบสมองกลฝังตัว ชิงแชมป์ประเทศไทยครั้งที่ 15” (TESA Top Gun Rally 2021#15) ซึ่งจัดโดย สมาคมสมองกลฝังตัวไทย (TESA) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสยาม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)

มาคุยกับหนุ่มสาว ทีม BME Ranger 11 ประกอบด้วยสมาชิกในทีม 1 หนุ่ม 4 สาว จากวิศวะมหิดล มี ชัชรินทร์ แสงบุษราคัม, ฉัตรวิภา สุรพัฒน์, ธนัชภรณ์ ลีลายนะ, วริศนันท์ จิรชยานนท์ และอภิสรา มูลจ้อย ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ชัชรินทร์ แสงบุษราคัม หนุ่มหัวหน้าทีม BME Ranger 11 นักศึกษาชั้นปีที่ 3ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในแต่ละปี ประเทศไทยมีผลผลิตมะนาวปีละกว่า 130,000 ตัน นับเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทย เพราะเป็นวัตถุดิบสำคัญในการปรุงอาหารและใช้ในชีวิตประจำวันทุกครัวเรือน หากมีเทคโนโลยีมาช่วยผู้ประกอบการเกษตรกรในการคัดแยกมะนาว จะเป็นประโยชน์มาก จึงทำให้ทีมของเราพัฒนานวัตกรรมระบบคัดแยกขนาดลูกมะนาว โดยใช้หลักการเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning) เป็นตัวคัดแยกมะนาวตามขนาดที่กำหนด ประโยชน์ของนวัตกรรมนี้ ช่วยให้การคัดแยกมะนาวรวดเร็ว แม่นยำขึ้น โดยไม่ต้องใช้แรงงานคนมาคอยนับ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย รวมถึงสามารถจัดเก็บข้อมูลได้เป็นระบบ อีกทั้งยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับผลไม้ขนาดเล็กชนิดอื่นหรือสิ่งของแทนได้ด้วย

ฉัตรวิภา สุรพัฒน์ สาวน้อยในทีม BME Ranger 11 คุยถึง วิธีการทำงานและประโยชน์ของนวัตกรรมระบบคัดแยกขนาดลูกมะนาวนี้ว่า วิธีการทำงาน ของระบบคัดแยกลูกมะนาว ที่บอร์ดคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก (Raspberry Pi) จะมีกล้องติดอยู่ เพื่อส่งภาพให้บอร์ดคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก (Raspberry Pi) ประมวลผล โดยการประมวลผลจะใช้การเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning) ในการตรวจจับลูกมะนาวและขนาด หลังจากนั้นจะส่งข้อมูลของลูกมะนาว เช่น รูป ขนาด เวลาที่พบ ขึ้นบนเซิร์ฟเวอร์แบบเรียลไทม์ หากตรวจจับหากพบมะนาวขนาดเล็กกว่าที่กำหนด บอร์ดคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก (Raspberry Pi) จะส่งคำไปที่บอร์ดไมโครคอนโทรเลอร์ เพื่อบอกให้อุปกรณ์ดีดลูกมะนาวที่ไม่ได้มาตรฐานออกจากสายพาน



วริศนันท์ จิรชยานนท์ อีกหนึ่งสมาชิกในทีมแข่งขันกล่าวว่า แต่ละคนในทีมจะมีหน้าที่ความรับผิดชอบหลักๆ ของตัวเองที่ชัดเจน และสามารถมีการสลับสับเปลี่ยนช่วยเหลือกันได้ด้วย เนื้อหาของโจทย์ยากง่ายไม่เท่ากัน ทีมเราจะแยกกันไปศึกษาในส่วนของตัวเองก่อน แล้วกลับมาช่วยกันระดมความคิด ลองระบบกันก่อนแข่งประมาณ 1อาทิตย์ ซึ่งช่วงโควิดระบาดหนักๆที่ผ่านมาต้องเลื่อนแข่ง ทำให้มีเวลาในการค้นคว้าความรู้เพิ่มผ่านทางอินเตอร์เน็ตและหนังสือ ประสบการณ์จากการแข่งขันครั้งนี้ เราได้ฝึกการทำงานเป็นทีม ความสามัคคีและการแก้ปัญหาในเวลาที่จำกัด ได้ฝึกบริหารจัดการ ฝึกคิด ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจะไม่ใช่ความล้มเหลวแต่เป็นการเรียนรู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad