ซีพีเอฟ ชู “อาหารมั่นคง” ผลิตอาหารปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เลี้ยงประชากรโลกอย่างยั่งยืน - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2564

ซีพีเอฟ ชู “อาหารมั่นคง” ผลิตอาหารปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เลี้ยงประชากรโลกอย่างยั่งยืน

CPF ชูอาหารมั่นคงผลิตอาหารปลอดภัยใส่ใจสิ่งแวดล้อมเลี้ยงประชากรโลกอย่างยั่งยืน

  ซีพีเอฟ ชู “อาหารมั่นคง” ผลิตอาหารปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เลี้ยงประชากรโลกอย่างยั่งยืน      


2 เมษายน 2564 – บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ มุ่งมั่นขับเคลื่อนธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทานด้วยความรับผิดชอบ ชูกลยุทธ์ “อาหารมั่นคง” ผลิตอาหารคุณภาพและปลอดภัย รองรับความต้องการของประชากรโลกอย่างเพียงพอและยั่งยืนในทุกสถานการณ์      
 
  
ซีพีเอฟ เปิดตัวรายงานความยั่งยืนประจำปี 2563 ตอกย้ำกลยุทธ์สู่ความยั่งยืน  3  เสาหลัก อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่ สนับสนุนการบริหารจัดการธุรกิจให้ดำเนินไปได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและต่อเนื่อง เพื่อผลิตอาหารคุณภาพดี ปลอดภัย  เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ควบคู่กับการมีส่วนร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ตามวิสัยทัศน์ “ครัวของโลกที่ยั่งยืน”                
   
นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส หน่วยงานความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ กล่าวว่า วิกฤตที่เกิดขึ้นทั่วโลกในปี 2563 จากภัยธรรมชาติและโรคระบาดโควิด-19 กระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และความเป็นอยู่ของประชาชน  เป็นบททดสอบกลยุทธ์ความยั่งยืนขององค์กร ในการบริหารจัดการธุรกิจให้เดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งซีพีเอฟในฐานะผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร ตระหนักดีถึงภาระกิจสร้างความมั่นคงทางอาหาร  และยืนหยัดเคียงข้างสังคมไทยมาโดยตลอด  โดยซีพีเอฟเป็นบริษัทแรกๆที่ส่งความช่วยเหลือสู่สังคม ริเริ่ม“โครงการส่งอาหารจากใจร่วมต้านภัยโควิด-19” ส่งมอบอาหารปลอดภัย เพื่อเป็นกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ให้ทีมแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์และครอบครัว เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้กักตัวเอง ผู้มีรายได้น้อย แรงงานข้ามชาติ กลุ่มเปราะบาง ฯลฯ ได้มีอาหารบริโภคอย่างเพียงพอ และยืนยันจะส่งความช่วยเหลือเพื่อก้าวพ้นวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน     

    
    
“ในช่วงวิกฤติโควิด-19 นอกจากการส่งมอบอาหารปลอดภัยอย่างเพียงพอแล้ว ซีพีเอฟเป็นบริษัทไทยรายแรกที่ประกาศยกระดับความปลอดภัยของพนักงานขึ้นระดับสูงสุด พร้อมทั้งปรับแผนการดำเนินธุรกิจร่วมกับคู่ค้า โดยจัดทำโครงการ Faster payment ลดระยะเครดิตเทอมเหลือ 30 วัน ให้แก่คู่ค้ากว่า 6,000 ราย เพิ่มสภาพคล่องและรักษางานของลูกจ้างในกลุ่มคู่ค้า” นายวุฒิชัย กล่าว      
   
ภายใต้การดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ ซีพีเอฟผนวกเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) เข้ากับกลยุทธ์ความยั่งยืน 3 เสาหลัก โดยสนับสนุนเป้าหมาย SDGs ทั้งหมด 13 เป้าหมาย จาก 17 เป้าหมาย และมีการทบทวนกลยุทธ์ความยั่งยืนให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ สนับสนุนให้ธุรกิจเดินหน้าและเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง       
      
ปี 2563   บริษัทฯบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน 100% จำนวน 7 เป้าหมาย อาทิ ลดปริมาณการใช้พลังงานต่อหน่วยการผลิต ลดปริมาณการดึงน้ำมาใช้ ลดปริมาณของเสียที่กำจัดโดยการฝังกลบ และเดินหน้าขับเคลื่อนเป้าหมายที่ต้องดำเนินการต่อ คือ ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก  ซึ่งบริษัทวางแผนที่จะซื้อคาร์บอนชดเชยและมีเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง มุ่งสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ (Climate-friendly products) วางแผนระบบโลจิสติกส์ ลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร แก้ปัญหาโดยอาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน(Nature-based Solution)  เพื่อมีส่วนร่วมในการบรรเทาปัญหาโลกร้อน    


  
นายวุฒิชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ในรายงานความยั่งยืนฉบับนี้ ได้แสดงความสำเร็จของการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของซีพีเอฟในด้านต่างๆ อาทิ การส่งเสริมคุณภาพชีวิต  สนับสนุนให้ประชาชนมีอาชีพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจำนวน 51,234 ราย เด็กและเยาวชน 1.433 ล้านราย เข้าถึงอาหารและการเรียนรู้หรือทักษะเกี่ยวกับอาหาร  ขณะที่ 35% ของผลิตภัณฑ์ใหม่ในประเทศไทย มุ่งเน้นสุขโภชนาการและสุขภาพ  ที่สำคัญผู้นำและพนักงานผ่านการอบรมพัฒนาความรู้และความเข้าใจเพื่อความยั่งยืนแล้ว 100%  
         
นอกจากนี้ จากการที่บริษัทฯมีการบริหารจัดการทรัพยากรตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน  ทำให้ปีที่ผ่านมา มีส่วนร่วมลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น   เช่น ดึงน้ำมาใช้ต่อหน่วยการผลิตลดลง 36% เทียบกับปีฐาน 2558  นำน้ำกลับใช้ใหม่หรือใช้ซ้ำได้ถึง 42%  ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้รวม 586,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า จากกิจกรรมต่างๆ เช่น โครงการซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน ฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าชายเลน พื้นที่ยุทธศาสตร์  5 จังหวัดรวม  2,388 ไร่  โครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง จ.ลพบุรี อนุรักษ์และฟื้นฟูป่า 5,971  ไร่  พร้อมทั้งเดินหน้าร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและชุมชนอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าเข้าสู่ระยะที่สอง ตลอดจนการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สามารถใช้ซ้ำ หรือใช้ใหม่ หรือเป็นสินค้าใหม่ หรือย่อยสลายได้สูงถึง 99.9%  การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน  ทำให้สามารถเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนตลอดกระบวนการผลิตอยู่ที่ 26% ของการใช้พลังงานทั้งหมด เป็นต้น    

ภายใต้กลยุทธ์ความยั่งยืน 3 เสาหลัก ในด้านอาหารมั่นคง บริษัทมีการดูแลสวัสดิภาพสัตว์สอดคล้องตามหลักอิสระ 5 ประการ ซีพีเอฟเป็นรายแรกของประเทศไทยที่นำอุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีทันสมัยติดตามพฤติกรรมและความเป็นอยู่ของสัตว์แบบ Real-Time เพื่อนำมาใช้ปรับการดูแลจัดการได้อย่างเหมาะสมตลอดเวลา  ทำให้ได้รับการจัดอันดับมาตรฐานการจัดการฟาร์มตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ดีขึ้นไปอยู่ใน Tier 3 จาก Tier 4 ตอกย้ำความมุ่งมั่นของบริษัทในการยกระดับการให้ความคุ้มครองสัตว์ตามหลักมนุษยธรรม   ด้านสังคมพึ่งตน  ร่วมมือกับกรมปศุุสัตว์และสมาคมผู้เลี้ยงสุุกรแห่งชาติให้ความรู้เรื่่องการป้องกันโรค ASF กับเกษตรกร รวมไปถึงการส่งเสริมการการสร้างกิจกรรมร่วมกับชุมชนในการผลิตอาหารปลอดภัย  ด้านดินน้ำป่าคงอยู่  บริษัทเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนตลอดกระบวนการผลิต เช่น ในฟาร์มสุกร 94 แห่งทั่วประเทศมีการผลิตไบโอแก๊ส    และติดตั้งโซลาร์ฟาร์ม 16 แห่ง ใ นส่วนโรงงานแปรรูปอาหารและอาคารสำนักงานมีการติดตั้งโซลาร์รูฟ 22 แห่ง ขณะที่ธุรกิจสัตว์น้ำได้พัฒนาระบบฟาร์มเลี้ยงกุ้งต้นแบบที่สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคระบาด เพิ่่มผลผลิต และลดการใช้น้ำ           
    
นายวุฒิชัย กล่าวด้วยว่า กลยุทธ์สู่เป้าหมายความยั่งยืน ปี 2573 (ปี 2030) จะเน้นสร้างนวัตกรรมอาหาร การพัฒนาบุคลากรให้สามารถพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต การผลิตที่มุ่งสู่เป้าหมาย Net-zero ลดก๊าซเรือนกระจกและขยะอาหารโดยใช้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน  เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับกลุ่มอุตสาหกรรม ประเทศและโลก พร้อมทั้งแบ่งปันคุณค่าร่วมให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย มุ่งสู่การเป็นองค์กรที่สร้างความมั่นคงทางอาหารของโลกอย่างยั่งยืน     


ทั้งนี้ CPF จัดทำรายงานความยั่งยืนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2554 เพื่อสื่อสารผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของซีพีเอฟ และรายงานฉบับนี้เป็นการพิมพ์ด้วยหมึกและกระดาษที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  สามารถติดตามรายละเอียดของรายงานความยั่งยืนhttps://www.cpfworldwide.com/en/sustainability/report 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad