ปอร์เช่กับการพัฒนารถยนต์ต้นแบบด้วยวิธีดิจิทัลและทดสอบจริงบนถนนระยะยาว รถยนต์ต้นแบบพลังไฟฟ้า all-electric Macan: ขีดสุดทั้งในโลกจริงและโลก เสมือนจริง - ข่าวเด่นวันนี้ | Today Highlight News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ปอร์เช่กับการพัฒนารถยนต์ต้นแบบด้วยวิธีดิจิทัลและทดสอบจริงบนถนนระยะยาว รถยนต์ต้นแบบพลังไฟฟ้า all-electric Macan: ขีดสุดทั้งในโลกจริงและโลก เสมือนจริง



ปอร์เช่กับการพัฒนารถยนต์ต้นแบบด้วยวิธีดิจิทัลและทดสอบจริงบนถนนระยะยาว


รถยนต์ต้นแบบพลังไฟฟ้า all-electric Macan: ขีดสุดทั้งในโลกจริงและโลก


เสมือนจริง

 สตุ๊ทการ์ท/Weissach. ยนตรกรรมสปอร์ต SUV พลังงานไฟฟ้า all-electric Macan พร้อมวิ่งทดสอบบนท้องถนน หลังจากผ่านบททดสอบเบื้องต้นในสนาม proving grounds ของศูนย์วิจัยและพัฒนา Porsche Development Centre สำนักงานใหญ่ Weissach รถต้นแบบ compact SUV เจเนอเรชันล่าสุดที่ได้รับการพรางตัวเป็นอย่างดี กำลังจะได้รับโอกาสออกนอกอาณาเขตของปอร์เช่เป็นครั้งแรก “เรากำลังอยู่ระหว่างการจัดเตรียมทดสอบท่ามกลางสภาพแวดล้อมจริง อันเป็นหนึ่งในหลักชัยที่สำคัญที่สุดในกระบวนการพัฒนา” ข้างต้นคือคำกล่าวจาก Michael Steiner สมาชิกคณะกรรมการบริหาร ผู้กำกับดูแลส่วนงานวิจัยและพัฒนาของ Porsche AG รถยนต์ไฟฟ้า all-electric Macan มีกำหนดเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 2023 รถคันดังกล่าวได้ผ่านการทดสอบเป็นระยะทางกว่า 3 ล้านกิโลเมตรทั่วโลก ในสภาวการณ์ที่แตกต่างกันโดยก่อนหน้านี้รถยนต์ต้นแบบสามารถข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากการทดสอบด้วยระยะทางมากมายนับไม่ถ้วนด้วยทางระยะยาวในการทดสอบแบบเสมือนจริง

การพัฒนาและทดสอบด้วยวิธีการดิจิทัล  ไม่เพียงแต่ช่วยให้ประหยัดเวลาและงบประมาณเท่านั้น ยังรวมถึงการประหยัดทรัพยากรต่างๆ อีกด้วย ส่งผลดีต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทดแทนการใช้รถยนต์จริงทีมงานวิศวกรใช้รถต้นแบบดิจิทัลเสมือนจริง ออกแบบขึ้นโดยระบบคอมพิวเตอร์จำลองคุณสมบัติเหมือนจริง ระบบการทำงาน และขุมพลังขับเคลื่อนของรถด้วยความแม่นยำสูง รถยนต์ต้นแบบดิจิทัลเสมือนจริงกว่า 20 คัน ถูกสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการทดสอบและพัฒนาในหลายด้าน อาทิ ระบบอากาศพลศาสตร์ ระบบการจัดการพลังงานและระบบเสียงอะคูสติก “เรารวบรวมข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ จากหลายส่วนงานที่เกี่ยวข้อง และใช้ประโยชน์ในการสร้างรถยนต์เสมือนจริงที่สมบูรณ์แบบด้วยรายละเอียดสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้”  Dr. Andreas Huber ผู้จัดการส่วนงาน digital prototypes ของ Porsche อธิบาย ทั้งนี้กระบวนการดังกล่าวสามารถแก้ไขปัญหาการออกแบบที่เคยมีมาก่อนหน้านี้ได้อย่างรวดเร็วและเฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้น 

ผู้เชี่ยวชาญด้านอากาศพลศาสตร์ เป็นวิศวกรกลุ่มแรก ที่ได้รับโอกาสในการทำงานกับรถยนต์ต้นแบบดิจิทัล “เราเริ่มต้นด้วยการทดสอบกระแสอากาศที่ไหลผ่านตัวรถ ในช่วงแรกของโครงการเมื่อประมาณ 4 ปีที่แล้ว” Dr. Thomas Wiegand ผู้อำนวยการส่วนงานพัฒนาระบบอากาศพลศาสตร์ กล่าว แรงต้านทางอากาศพลศาสตร์ที่ต่ำ คือหัวใจสำคัญของการเพิ่มพิสัยระยะเดินทางสูงสุดให้แก่รถไฟฟ้า all-electric Macan ได้รับการปรับแต่งกระแสอากาศเพียงเล็กน้อยก็สามารถสร้างความแตกต่างได้อย่างมหาศาล วิศวกรใช้แบบจำลองตัวรถในการปรับปรุงรายละเอียดต่างๆ อย่างประณีต ในทุกแง่มุม อาทิ ชิ้นส่วนรับอากาศระบายความร้อน cooling air ducts การคำนวณไม่เพียงคำนึงถึงตัวแปรที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของอุปกรณ์ แต่ยังสะท้อนให้เห็นถึงผลของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่เกิดขึ้นในความเป็นจริงอีกด้วย 

การทดสอบเสมือนจริง ด้วยหน้าจอแสดงผล และระบบปฏิบัติการใหม่ล่าสุด

วิธีการทดสอบแบบใหม่ให้การจำลองสถานการณ์ที่เที่ยงตรงสูง ทั้งในเชิงของระบบอากาศพลศาตร์ และระบบเทอร์โมไดนามิกส์ “ความล้ำหน้าของโลกดิจิทัล คือสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนารถไฟฟ้า all-electric Macan” Wiegand ผู้เชี่ยวชาญด้านอากาศพลศาสตร์กล่าวย้ำ ระบบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ที่ถูกส่งต่อไปยังมอเตอร์ล้วนต้องการระบบระบายความร้อนและการควบคุมอุณหภูมิที่แยกจากกันอย่างอิสระ ซึ่งเป็นแนวทางที่สร้างความแตกต่างอย่างมากจากระบบขับเคลื่อนในรถยนต์แบบดั้งเดิม ขณะที่อุณหภูมิทำงานปกติของเครื่องยนต์สันดาปภายในจะมีค่าระหว่าง 90 ถึง 120 องศาเซลเซียส แต่สำหรับมอเตอร์ไฟฟ้าระบบส่งกำลังแบบอิเล็กทรอนิกส์และแบตเตอรี่แรงเคลื่อนสูง ต้องการอุณหภูมิทำงานระหว่าง 20 และ 70 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวอุปกรณ์ สถานการณ์ที่วิกฤตที่สุดไม่ได้เกิดขึ้นขณะกำลังวิ่งบนท้องถนน แต่จะเกิดขึ้นในระหว่างการชาร์จพลังงานแบบ fast high power ท่ามกลางอากาศภายนอกที่มีอุณหภูมิสูง อย่างไรก็ตามนักพัฒนาจากปอร์เช่ สามารถคำนวณค่าต่างๆ เพื่อออกแบบตำแหน่ง ทิศทางการไหลของอากาศและอุณหภูมิที่เกิดขึ้นในรูปแบบดิจิทัลด้วยความแม่นยำ

รถต้นแบบดิจิทัลเสมือนจริง มีศักยภาพในการผสมผสานสภาวการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในโลกแห่งความจริงได้ล่วงหน้า ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือขั้นตอนการพัฒนาหน้าจอแสดงผลและแนวคิดด้านระบบปฏิบัติการแบบใหม่ เพื่อใช้สำหรับติดตั้งในปอร์เช่         มาคันน์ (Macan) รุ่นต่อไป  การใช้เครื่องมือที่รู้จักดีในชื่อว่า seat box ในการจำลองสภาพแวดล้อมของผู้ขับขี่ โดยสามารถนำเอาหน้าจอแสดงผล และระบบปฏิบัติการที่ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนาที่ไม่สมบูรณ์มาติดตั้งลงในรถต้นแบบดิจิทัล “แบบจำลอง ช่วยให้เราเข้าถึงหน้าจอแสดงผล การทำงานของระบบปฏิบัติการ และผลกระทบต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงในขณะเดินทางผ่านมุมมองของผู้ขับขี่” ข้างต้นคือคำอธิบายจาก Fabian Klausmann ผู้ชำนาญการแผนก Driver Experience development ที่ซึ่ง 'นักขับทดสอบ' ไม่จำกัดแค่ผู้เชี่ยวชาญแต่อาจจะมาจากคนธรรมดาทั่วไป สิ่งต่างๆ เหล่านี้ช่วยให้เกิดการศึกษาถึงขั้นลงลึกในรายละเอียดของปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ขับขี่และรถยนต์ ส่งผลให้เกิดการตัดสินใจเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมที่สุดก่อนที่จะมีการสร้างห้องโดยสารจริงเสียด้วยซ้ำ 

เป้าหมายในการพัฒนา ที่สุดแห่งยนตรกรรมสปอร์ตในรถระดับเดียวกัน

รถยนต์ต้นแบบพลังงานไฟฟ้า all-electric Macan คันจริง ได้รับการสร้างขึ้นโดยอาศัยฐานข้อมูลจากแบบจำลอง ในบางกรณีอาจถูกสร้างขึ้นด้วยมือ หรือเครื่องมือพิเศษอย่างประณีตบรรจง ซึ่งเป็นการประยุกต์จากกระบวนการทั่วไปที่เกิดขึ้นในขั้นตอนปรับแต่งเสมือนจริง ด้วยลักษณะเดียวกันนี้ การค้นคว้าจากการวิ่งทดสอบบนถนน จะถูกแทนที่โดยการพัฒนาบนโลกดิจิทัล “การทดสอบระยะยาวในสถานที่ปิด และบนถนนสาธารณะท่ามกลางสภาพการใช้งานจริงยังคงมีความจำเป็น เพื่อให้มั่นใจว่าโครงสร้างของรถยนต์มีความมั่นคงและมีอุปกรณ์ ซอฟท์แวร์ รวมทั้งทุกระบบการทำงานให้เป็นตามมาตรฐานคุณภาพสูงสุดของเรา” Michael Steiner สมาชิกคณะกรรมการบริการ กล่าวเสริม โปรแกรมการทดสอบสำหรับรถไฟฟ้า all-electric Macan จะมีขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมที่สุดโต่ง ทั้งจากอุณหภูมิ และภูมิประเทศ รวมไปถึงการใช้งานจริง อาทิ ระบบการชาร์จพลังงาน และสถานภาพของแบตเตอรี่แรงเคลื่อนสูง จะต้องผ่านมาตรฐานการทดสอบอย่างเข้มงวดเช่นกัน “ไม่ต่างจากปอร์เช่ ไทคาน (Taycan) รถไฟฟ้า all-electric Macan ติดตั้งเทคโนโลยีไฟฟ้าแรงเคลื่อนสูง 800-โวลต์ ซึ่งถ่ายทอดมาจากปอร์เช่ E-Performance” Steiner กล่าวย้ำ เมื่ออ้างอิงจากเป้าหมายในการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็น พิสัยการเดินทางระยะยาว ประสิทธิภาพการชาร์จพลังงานอย่างรวดเร็ว และสมรรถนะการขับขี่ที่ยอดเยี่ยมที่สุดในรถระดับเดียวกัน “รถไฟฟ้า all-electric Macan คือยนตรกรรมที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสปอร์ตอย่างแท้จริง”

ทางเลือกอันหลากหลายสำหรับอนาคต ปอร์เช่ มาคันน์ (Macan) รุ่นใหม่ ติดตั้งเครื่องยนต์สันดาปภายใน

การเปิดตัวของรถไฟฟ้า all-electric Macan – ยนตรกรรมปอร์เช่คันแรกที่ได้รับการสร้างจาก Premium Platform Electric (PPE) – กำหนดให้มีขึ้นในปี 2023 ปอร์เช่วางตำแหน่งทางการตลาดให้มีความยืดหยุ่น เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านยุคสมัยของยานพาหนะพลังงานไฟฟ้า “ในทวีปยุโรป ความต้องการรถไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในภูมิภาคอื่นของโลกทิศทางการเปลี่ยนแปลงนั้นแตกต่างไป จึงเป็นเหตุผลที่เรายังคงวางจำหน่ายปอร์เช่ มาคันน์ (Macan) ที่ได้รับการติดตั้งเครื่องยนต์แบบดั้งเดิมในรุ่นต่อไปเช่นกัน ” Michael Steiner อธิบาย เครื่องยนต์สันดาปภายในบล็อกใหม่ของมาคันน์ (Macan) จะได้รับการนำเสนอเคียงข้างรถไฟฟ้า all-electric Macan ในอนาคต และจนกว่าจะถึงวันนั้น รถคันนี้จะยังคงถูกทดสอบอีกนับล้านกิโลเมตรทั้งในความเป็นจริงและโลกเสมือน

ติดตามภาพประกอบเนื้อข่าวได้จาก Porsche Newsroom (http://newsroom.porsche.com) และ Porsche media database (presse.porsche.de)

เกี่ยวกับ AAS Auto Service

ปอร์เช่ ประเทศไทย โดย บริษัท เอเอเอส ออโต้ เซอร์วิส จำกัด ผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ปอร์เช่อย่างเป็นทางการ ได้สร้างความเชื่อมั่นในด้านการดูแลหลังการขายให้กับลูกค้าปอร์เช่ทุกท่าน ด้วยทีมวิศวกรที่ผ่านการ ทดสอบระดับเหรียญ ทอง (ZPT3 Gold Theory Test & Recertification) ถึง 12 คน ซึ่งถือว่ามี จำนวนมากที่สุดของศูนย์รถยนต์ปอร์เช่ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคทั้งหมด 13 ประเทศ สะท้อนให้เห็นถึง ความสำคัญ ในเรื่องการให้บริการหลังการขาย โดย เอเอเอส ทุ่มงบการอบรมวิศวกร ของเราให้มีคุณภาพสูงสุด ตามนโยบาย หลักของบริษัทที่ว่า “เอเอเอส ดูแลทั้งรถและคุณ AAS Looking after YOU and your CAR” เพื่อให้ท่านมั่นใจได้ว่า “AAS The Name you can Trust” ซึ่งพิสูจน์ให้ท่านได้เห็นแล้วตลอดระยะเวลาดำเนินงานมากกว่า 30 ปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad